ปรับเป็นพินัยคืออะไร?
หลายๆ คนที่ติดตามข่าวสารอาจเคยได้ยินคำว่า “การปรับเป็นพินัย” ผ่านหูมาบ้าง แต่ทราบหรือไม่ว่าการปรับเป็นพินัยนั้นหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย? บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักกับแนวคิดของการปรับเป็นพินัย รวมถึงหลักเกณฑ์และกระบวนการในการพิจารณาความผิดทางพินัยให้ละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่า “ความผิดทางพินัย” กันก่อน
ความผิดทางพินัย คือ การกระทำความผิดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแต่ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญาที่ร้ายแรง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมหรือศีลธรรมอย่างรุนแรง หรือไม่มีผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างกว้างขวาง การกระทำเหล่านี้ไม่ถือเป็นความผิดอาญา เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด ไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นต้น อีกทั้งได้ให้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม โดยไม่ถือเป็นโทษอาญา และไม่มีการบันทึกรวมไว้ในบันทึกประวัติอาชญากรรม หรือในฐานะเป็นประวัติอาชญากรรม ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการ "ปรับเป็นพินัย" แทนการจำคุกหรือปรับในอัตราโทษอาญา ตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565
อย่างไรก็ตาม แม้ความผิดทางพินัยจะไม่ร้ายแรงเท่าความผิดอาญา แต่ก็ยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ไม่ควรละเลย ผู้กระทำผิดควรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อสร้างสังคมที่มีระเบียบและปลอดภัยสำหรับทุกคน
คลิกเพื่ออ่าน : 13 กฎจราจรในชีวิตประจำวันที่พบเจอบ่อย !
ปรับเป็นพินัย คือ
ปรับเป็นพินัย เป็นมาตรการใหม่ในระบบกฎหมายไทย ที่นำมาใช้กับผู้กระทำความผิดบางประเภทที่ไม่ร้ายแรง
โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.ไม่ใช่โทษทางอาญา
การปรับเป็นพินัย ไม่ถือเป็นการลงโทษทางอาญา จึงไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม
2.เน้นการชำระค่าปรับ
มุ่งเน้นให้ผู้กระทำผิดชำระค่าปรับเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มากกว่าการจำคุกหรือลงโทษทางอาญาอื่นๆ
3.ใช้กับความผิดเล็กน้อย
นำมาใช้กับความผิดที่ไม่ร้ายแรง และไม่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง หรือไม่มีผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างกว้างขวาง
4.คิดค่าปรับตามความเหมาะสม
ค่าปรับจะพิจารณาจากความรุนแรงของการกระทำผิด และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำผิด
5.มีสิทธิอุทธรณ์
ผู้ที่ถูกปรับเป็นพินัยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับได้
โดยสรุป "ปรับเป็นพินัย" เป็นแนวทางการลงโทษที่ผ่อนปรนกว่าโทษอาญา มุ่งเน้นการแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิด และลดความแออัดในเรือนจำ
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
ทำไมถึงต้องมีการปรับเป็นพินัย
รัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้มีการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและฐานะของผู้กระทำ เพื่อไม่ให้โทษรุนแรงเกินไป การถูกดำเนินคดีอาญาส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้จะไม่ได้มีความผิดจริงก็ตาม ดังนั้นจึงควรมีมาตรการลงโทษทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่โทษอาญา
มาตรการ "ปรับเป็นพินัย" จึงถูกนำมาใช้แทนโทษอาญาบางประเภท โดยเน้นการชำระค่าปรับตามความเหมาะสมกับความผิดและฐานะของผู้กระทำ หากไม่มีเงินชำระ อาจทำงานบริการสังคมแทนได้ มาตรการนี้ช่วยให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และไม่มีประวัติอาชญากรรมติดตัว
หลักเกณฑ์ในการคิดค่าปรับเป็นพินัย
การกำหนดและการชำระค่าปรับทางพินัยผู้กระทำความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือศาลกำหนด โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- ความรุนแรงของผลกระทบต่อสังคม
- ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กระทำผิด เช่น อายุ ประวัติ ความประพฤติ เป็นต้น
- ผลประโยชน์ที่ผู้กระทำผิดหรือบุคคลอื่นได้รับ
- สถานะทางการเงินของผู้กระทำผิด
หากผู้กระทำผิดไม่สามารถชำระค่าปรับได้ในคราวเดียว สามารถร้องขอผ่อนชำระได้ และสามารถชำระผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นกัน
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นคนธรรมดา ศาลอาจพิจารณาเรื่องสัดส่วนค่าปรับเป็น 2 แบบ คือ
1.หากทำผิดกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ เพราะความยากจนหรือจำเป็นจริงๆ ผู้กระทำผิดสามารถขอให้ศาลลดค่าปรับ หรือให้ทำงานบริการสังคมแทนก็ได้
2.หากไม่มีเงินชำระค่าปรับ ผู้นั้นอาจยื่นคำร้องโดยแสดงเหตุผลอันสมควรเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับเป็นพินัยได้
ไม่มีเงินเสียค่าปรับ จะเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
ปรับเป็นพินัย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ
รูปแบบที่1 ความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว (กฎหมายบัญชี 1) เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยทันที
- เปลี่ยนความผิดทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายบัญชี 1 ให้เป็นความผิดทางพินัย
- ผู้กระทำความผิดจะต้องเสียค่าปรับทางพินัยแทนโทษปรับทางอาญา โดยอัตราค่าปรับเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เดิม
กฎหมายบัญชี 1 มีทั้งหมด168 พระราชบัญญัติ ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างเป็นพระราชบัญญัติที่พบเจอได้บ่อยนะครับ
1.พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522
2.พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขุดที่ดินและถมที่ดิน
3.พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
4.พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แต่งรถอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
5.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
ดูกฎหมายบัญชี1 ทั้งหมดได้ที่นี่ คลิกเลย
“จุดสังเกตง่ายๆ หากกฎหมายบัญชี1 มาตราใดที่มีเพียงแค่โทษปรับอย่างเดียวไม่มีโทษจำคุก จะให้ถือเป็นปรับเป็นพินัย”
รูปแบบที่2 ความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว (กฎหมายบัญชี 2)
- เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยต่อเมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนด
- ผู้กระทำความผิดจะต้องเสียค่าปรับทางพินัยแทนโทษปรับทางอาญา โดยอัตราค่าปรับเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เดิม
แต่สำหรับรูปแบบที่2 ไม่เหมือนกับรูปแบบที่1 หากผู้กระทำความผิดได้
เช่น พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
มาตรา 102 ผู้ใดเป็นผู้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีบทบัญญัติว่ากระทำผิดซ้ำ ต้องระวางโทษจำคุกจะไม่ถือเป็นการปรับเป็นพินัยครับ
2.มีเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย
มาตรา 48 ผู้ใดนำหรือปล่อยสัตว์เข้าไปในอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ในกรณีความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการนำหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรงในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติอื่นนั้น ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากมาตราข้างต้น มีเหตุอื่นคือการปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง จะมีโทษจำคุกเพิ่มเติม แบบนี้จะไม่ถือว่าเป็นการปรับเป็นพินัย
รูปแบบที่ 3 ความผิดที่มีโทษปรับทางปกครอง (กฎหมายบัญชี 3)
เป็นความผิดตามกฎหมายที่ระบุไว้ในบัญชี 3 ท้าย พ.ร.บ. ซึ่งมีโทษปรับทางปกครอง ผู้กระทำความผิดจะต้องเสียค่าปรับทางพินัยแทนโทษปรับทางปกครอง โดยอัตราค่าปรับเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เดิม ซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วย
- พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481
- พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ.2565
Q: สอบถามเรื่องการนับอายุความ พรบ.ปรับเป็นพินัย 2565
สรุป
พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ถือเป็นการปฏิรูปกฎหมายครั้งสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายไทยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "การปรับเป็นพินัย" เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมและลดความแออัดของกระบวนการยุติธรรมนั่นเองครับ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



