เผยแพร่เมื่อ: 2024-01-13

สิทธิของลูกจ้าง การลาออก การไล่ออก การฝึกงาน 

คุณเคยมีความคิดอยากลาออกจากงานบ้างไหมครับ? ถ้าถามว่าเคยคิดไหม ทุกคนก็คงจะเคยคิดเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อพบเจออุปสรรคจากการทำงาน แต่ด้วยภาระหน้าที่และอะไรหลาย ๆ อย่าง ทำให้เราต้องอดทน อดกลั้น กัดฟันเดินหน้าทำงานกันต่อไป แล้วถ้าวันนึงเกิดถูกหวยขึ้นมาล่ะ จะลาออกไหม จะลาออกต้องทำอย่างไร ตามกฎหมายกำหนดเรื่องการลาออกไว้อย่างไรบ้าง เดี๋ยววันนี้เรามาดูกันครับ

 

smiling-asian-woman-business-suit-standing-office-with-belongings-cardboard-box.jpg


การลาออก

ตามกฎหมายแล้ว การลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของลูกจ้างครับ ซึ่งคำว่าเจตนาฝ่ายเดียวก็หมายถึง แค่ลูกจ้างแสดงเจตนาต่อนายจ้างว่าขอลาออก การลาออกก็มีผลทันทีครับ โดยที่นายจ้างไม่ต้องยินยอม ไม่ต้องอนุมัติใด ๆ เลย และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดด้วยว่า การลาออกจะต้องแสดงเจตนาโดยวิธีใด ดังนั้น เพียงแสดงออกด้วยวาจาก็มีผลแล้วครับ บางท่านอาจสงสัยว่า แล้วถ้าบริษัทมีข้อบังคับกำหนดให้ต้องเขียนใบลาออกล่วงหน้า 30 วันล่ะ แบบนี้จะไม่เขียนใบลาออกได้ไหมครับ หรือ

บอกลาออกวันนี้แล้วพรุ่งนี้ไม่มาทำงานเลยได้ไหม?

 คำตอบ คือ ได้สิ ทำไมจะไม่ได้ล่ะครับ แต่ถ้าเราไม่ทำตามที่บริษัทหรือนายจ้างกำหนด แล้วมีความเสียหายเกิดขึ้น บริษัทหรือนายจ้างก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเราได้นะครับ หรือในบางกรณีต้องดูด้วยว่า นายจ้างได้กำหนดเบี้ยปรับไว้ในสัญญาจ้างหรือระเบียบการทำงานไว้ด้วยหรือไม่ หากมีการกำหนดไว้ แล้วเราลาออกผิดระเบียบ นายจ้างก็สามารถฟ้องร้องตามสัญญาดังกล่าวได้ ดังเช่น

กรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10614/2558 

จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่การงานไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจึงฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเสียหาย ศาลได้พิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 8,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง

สรุป"ลาออก" หรือ "ไล่ออกกันแน่" มาดูความหายทางกฎหมายกัน คลิกเลย !

 


การไล่ออก

ประเด็นต่อมา หากไม่ใช่การลาออกล่ะ สมมติเราทำงานอยู่ดี ๆ นายจ้างก็เดินมาบอกเราว่าขอเลิกจ้าง โดยที่เราไม่มีความผิดอะไรเลย แบบนี้เรามีสิทธิจะได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างบ้างหรือไม่ อย่างไร 

 

businesswoman-showing-thumb-down-gesture-man-suit-with-crossed-arms.jpg

 

การขอเลิกจ้างโดยให้ค่าชดเชย

ถ้าเป็นกรณีนี้ มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง 

อัตราค่าชดเชยของการขอเลิกจ้าง

โดยจ่ายเป็นขั้นบันไดตามอายุงานของลูกจ้างรายนั้น ๆ เช่น

 

ระยะเวลาในการทำงานของลูกจ้าง

ข้อกำหนดที่ผู้จ้างต้องชดเชย

ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
ทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 90 วัน
ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่า 180 วัน
ทำงานครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่า 240 วัน
ทำงานครบ 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 300 วัน
ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

 

6 กรณีการเลิกจ้างโดยไม่ให้ค่าชดเชย

อนึ่ง ค่าชดเชยข้างต้น 6 กรณีที่คิดคำนวณตามอายุงานนั้น ก็มีข้อยกเว้นนะครับ ถ้าเราทำความผิดร้ายแรง นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ ซึ่งเหตุเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น เขียนไว้ในมาตรา 119 ได้แก่ 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ผิดซ้ำคำเตือน) 

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร และ 

(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !


การฝึกงาน

พอพูดถึงประเด็นกฎหมายแรงงานแล้ว ทำให้นึกย้อนกลับไปสมัยผมเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และได้ไปฝึกงานในช่วงปีสี่ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการเรียน ตอนนั้นผมได้ฝึกงานกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ระหว่างฝึกงานก็ได้เบี้ยเลี้ยงวันละสองร้อยบาท แต่เพื่อน ๆ ได้แยกกันไปฝึกงานอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งเพื่อนไม่ได้เบี้ยเลี้ยง เลยทำให้สงสัยว่า นักศึกษาฝึกงานเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานหรือเปล่า ถ้าเป็น ก็แปลว่าเราควรได้รับค่าตอบแทนด้วยน่ะสิ แต่นึกอีกที เราแทบจะมะได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้บริษัทเลยนะ เหมือนไปเรียนภาคปฏิบัติมากกว่า เลยพยายามหาข้อมูล และอยากเอามาเล่าให้ทุกคนได้รู้

 

people-working-office.jpg

 

ผู้ที่ฝึกงานเป็นลูกจ้างตามกฎหมายหรือไม่ ?

จริง ๆ แล้ว นักศึกษาฝึกงานไม่ใช่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานครับ และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องจ่ายค่าจ้างหรือเบี้ยเลี้ยงให้กับนักศึกษาฝึกงานเลย แต่หากบริษัทไหนอยากจ่ายค่าตอบแทนให้กับนักศึกษา อัตราค่าตอบแทนดังกล่าวก็จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันโดยระบุไว้ในสัญญาฝึกงาน 

ผู้ที่ฝึกงานจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไหม ?

แม้ว่านักศึกษาฝึกงานจะไม่ใช่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานก็ตาม แต่ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานอยู่บ้างนะครับ โดยกฎหมายห้ามนักศึกษาฝึกงาน ทำโอที ทำงานในวันหยุด และทำงานอันตรายสำหรับเด็ก ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น งานขับรถยก หรือปั้นจั่น งานที่ใช้เครื่องเจาะกระแทก งานทำความสะอาดเครื่องจักรขณะทำงาน เป็นต้น (ตามประกาศคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย เรื่อง ประเภทงานอันตรายสำหรับเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทย ลงวันที่ 26 มกราคม 2565)

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

Image by jcomp on Freepik

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE