การลาออกและการเลิกจ้าง: การคุ้มครองตามกฎหมาย
สัญญาจ้างแรงงานมี 2 ลักษณะ
1.สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลา
คือ สัญญาจ้างแรงงานที่นายจ้างได้กำหนดวันที่ให้สัญญาจ้างแรงงานมีผลใช้บังคับ โดยกำหนดวันที่ลูกจ้างเริ่มทำงานและวันที่สิ้นสุดการทำงานของลูกจ้างไว้ในสัญญาจ้างแรงงานไว้อย่างชัดเจนเป็นหนังสือ ซึ่งลูกจ้างและนายจ้างจึงทราบถึงกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เช่น สัญญาจ้างแรงงาน ให้ทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง เมื่อจ้างครบ 1 ปี การเป็นลูกจ้างและนายจ้างต่างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลา โดยนายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบก่อน
"ปัญหาที่ทำงานกำลังทำให้คุณเครียดอยู่ใช่ไหม การปรึกษาทนายผ่านLegardy สามารถช่วยหาทางออกให้คุณได้"
2. สัญญาจ้างแรงงานที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลา
คือ สัญญาจ้างแรงงานที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างหรือวันสิ้นสุดการจ้างไว้ในสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน หรือกรณีที่ตั้งแต่แรกนายจ้างกับลูกจ้างทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี แต่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานต่อไป โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างฉบับใหม่ และให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้ลูกจ้างไม่รู้กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 กำหนดไว้ว่า “ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสุดสิ้นลงแล้วลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปอีก และนายจ้างรู้ดังนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม แต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าว” กล่าวคือ กรณีนี้ถือว่านายจ้างต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้าง โดยถือเนื้อหาสาระในการจ้างตามสัญญาจ้างเดิม ซึ่งการจ้างนี้เป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบก่อนเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างรู้ล่วงหน้าถึง 3 เดือน ทั้งนี้ ให้ถือสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
'5สิ่งที่สำคัญในสัญญาจ้างแรงงาน ก่อนเซ็นควรรู้! อ่านบทความได้ที่นี่ คลิกเลย!'
การบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า "ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน" ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ต้องถูกเลิกจ้างอย่างกะทันหันแบบไม่ทันตั้งตัว ด้วยการกำหนดระยะเวลาที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้างอย่างน้อย 1 รอบของกำหนดจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างได้เเจ้งวันลาออกเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเเล้ว แต่นายจ้างกลับให้ลูกจ้างออกทันทีในวันยื่นใบลาออก ถือว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง กรณีนี้เป็นเหตุทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหาย
อ่านบทความเพิ่มเติม เรื่อง "ลูกจ้าง" ได้ที่นี่
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17/1 กำหนดไว้ว่า "ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน" กล่าวคือ ในกรณีที่นายจ้างต้องการให้การเลิกจ้างลูกจ้างให้มีผลทันที จึงเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (การเลิกจ้างทันทีเท่ากับลูกจ้างไม่ได้เตรียมใจ นายจ้างต้องจ่ายค่าตกใจนะจ๊ะ :) ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน โดยให้จ่ายนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเบิกจ้างมีผล คือ วันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
ตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้น
ในกรณีลูกจ้างได้ยื่นใบลาออกในวันครบกำหนดจ่ายค่าจ้าง จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน โดยลูกจ้างยื่นใบลาออกวันที่ 25 ของเดือน โดยในหนังสือลาออกได้เเจ้งว่า "ลูกจ้างประสงค์จะออกจากงานในวันที่ 25 ของเดือนหน้า" (เช่น ลูกจ้างยื่นใบลาออกในวันที่ 25 เมษายน โดยระบุให้การลาออกมีผลในวันที่ 25 พฤษภาคม) แต่ปรากฎว่านายจ้างบอกให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันที่ยื่นใบลาออก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า "ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน" ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ต้องถูกเลิกจ้างอย่างกะทันหันแบบไม่ทันตั้งตัว ด้วยการกำหนดระยะเวลาที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้างอย่างน้อย 1 รอบของกำหนดจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างได้เเจ้งวันลาออกเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเเล้ว แต่นายจ้างกลับให้ลูกจ้างออกทันทีในวันยื่นใบลาออก ถือว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง กรณีนี้เป็นเหตุทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17/1 กำหนดไว้ว่า "ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน"
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
อ่านมากกว่า 360คำปรึกษาจริง เรื่อง "การจ้างงาน" พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิกที่นี่!
สรุป
การที่ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออกล่วงหน้า 1 เดือนตามกฎของบริษัท แต่นายจ้างให้ออกจากงานทันที ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างเรียกค่าเสียหายได้ โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้างในวันที่นายจ้างให้ออกจากงาน เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกจากงาน (จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับจนถึงวันที่ 25 ของเดือนหน้า) อ้างอิงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196-1218/2546 หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



