ไขข้อสงสัยเล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม?
เล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม? คำถามคาใจของหลายคนที่คิดอยากเข้าวงการเล่นแชร์ เพราะมักมีข่าวคดีแชร์ให้เห็นมากมาย ซึ่งอาจทำให้เราสงสัยว่าการเล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม? หากอยากเล่นแชร์ ต้องทำอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย? คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา? วันนี้ Legardy ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นแชร์มาฝาก เพื่อให้ไม่เสี่ยงทั้งโดนโกงและผิดกฎหมาย
เล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม?
สำหรับคำถามที่ว่าการเล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม? ต้องตอบเลยว่าจริง ๆ แล้ว การเล่นแชร์ไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ดังนี้
- ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์
- บุคคลธรรมดาตั้งวงแชร์ได้ แต่การตั้งวงแชร์นั้น ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
- ห้ามตั้งวงแชร์รวมกันเกิน 3 วง
- ห้ามมีสมาชิกทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
- ห้ามมีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันเกิน 300,000 บาท
- ห้ามนายวงแชร์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากเงินกองกลางการเล่นแชร์เท่านั้น
- ห้ามโฆษณาหรือประกาศชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่แชร์
เล่นแชร์ออนไลน์ ผิดกฎหมายไหม?
การเล่นแชร์ออนไลน์ ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน เพราะวิธีทั่วไปของการเล่นแชร์ออนไลน์ คือ การโฆษณาผ่านสื่อสาธารณะ เพื่อหาสมาชิก เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
เล่นแชร์ คืออะไร?
เล่นแชร์ คือ การที่บุคคล 3 คนขึ้นไป ตกลงเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยจะมีหัวหน้าวง หรือเรียกว่า “ท้าวแชร์” เป็นผู้ริเริ่มตั้งวงแชร์ เก็บเงิน และทวงเงินจากสมาชิกคนอื่นในวงแชร์ ซึ่งสมาชิกวงแชร์จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไป โดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด ซึ่งการเล่นแชร์จะจบลงเมื่อสมาชิกได้รับเงินกองกลางครบทุกคน
วิธีเล่นแชร์ ไม่ผิดกฎหมาย
วิธีการเล่นแชร์เพื่อไม่ให้กลายเป็นวงแชร์ที่ผิดกฎหมาย ได้แก่
1. เลือกท้าวแชร์ดี ๆ โดยท้าวแชร์ต้องเป็นบุคคลธรรม มิใช่นิติบุคคล สามารถเชื่อถือได้ แม่นกฎและวิธีเล่นแชร์ที่สุด
2. ตรวจสอบข้อมูลของท้าวแชร์ และสมาชิกร่วมวงแชร์
3. วงแชร์รวมกันต้องไม่เกิน 3 วง และมีสมาชิกทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
4. มีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันไม่เกิน 300,000 บาท
5. เก็บหลักฐานการจ่าย การรับ-โอนเงินไว้ให้ดี เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานกรณีถูกโกงแชร์
6. ไม่โฆษณาหรือประการชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่นแชร์
โดนโกงแชร์ ฟ้องได้ไหม?
โดนโกงแชร์ ฟ้องได้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีสมาชิกฟ้องท้าวแชร์
- ท้าวแชร์บริหารผิดพลาด ไม่สามารถนำเงินกองกลางมอบให้แก่สมาชิกที่ประมูลแชร์ได้ สมาชิกวงแชร์สามารถปรึกษาคดีแชร์กับทนายเพื่อดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนได้
- ท้าวแชร์หลอกลวง ตั้งใจเชิดเงินหนี สมาชิกวงแชร์สามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกงได้
กรณีท้าวแชร์ฟ้องสมาชิก
- สมาชิกวงแชร์ผิดสัญญา ไม่ส่งเงินค่าแชร์ให้ครบตามงวด ท้าวแชร์ต้องสำรองจ่ายแทนไปก่อนและฟ้องร้องคดีแพ่งไล่เบี้ยเงินจากลูกแชร์ที่ผิดสัญญาได้
- สมาชิกวงแชร์ตั้งใจไม่ชำระเงินเข้ากองกลางตั้งแต่แรก ท้าวแชร์สามารถฟ้องร้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
ขั้นตอนฟ้องท้าวแชร์-สมาชิกวงแชร์
สำหรับขั้นตอนฟ้องท้าวแชร์-สมาชิกวงแชร์นั้น เมื่อรู้ตัวว่าโดนโกง ให้เริ่มรวบรวมเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเล่นแชร์ เช่น ข้อมูลของผู้โกงไม่ว่าจะเป็นท้าวแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ สลิปการโอนเงินระหว่างกัน จากนั้นนำหลักฐานเข้าปรึกษาคดีแชร์เพื่อให้ทนายสอบข้อเท็จจริง ช่วยสืบหาข้อมูล พยานหลักฐานเพิ่มเติม และทำเรื่องฟ้องคดีต่อศาลต่อไป
ปรึกษาทนายคดีแชร์ฟรี ที่ LEGARDY
มาถึงตรงนี้ คงได้คำตอบกันแล้วว่าเล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม รวมทั้งวิธีเล่นแชร์ให้ปลอดภัย หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเล่นแชร์ให้กับคนที่สนใจได้ โดยต้องระมัดระวังและศึกษาความเสี่ยงให้ดีก่อนเล่นทุกครั้ง ทั้งนี้ใครที่มีข้อกังวลเกี่ยวการเล่นแชร์ ไม่แน่ใจว่าคดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา สามารถปรึกษาคดีแชร์กับทนายความที่ Legardy ศูนย์รวมทนายความมืออาชีพที่พร้อมให้คำปรึกษาคดีแชร์กับคุณตลอด 24 ชม. เปรียบเสมือนมีทนายส่วนตัวคอยให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม
คำถามที่พบบ่อย
1. คดีแชร์คืออะไร?
คดีแชร์ คือ คดีที่เกิดขึ้นเมื่อผิดสัญญาการเล่นแชร์ เกิดขึ้นได้ 4 กรณี คือ
- ท้าวแชร์บริหารผิดพลาด ไม่สามารถนำเงินกองกลางมอบให้แก่สมาชิกที่ประมูลแชร์ได้
- ท้าวแชร์ตั้งใจเชิดเงินหนี
- สมาชิกวงแชร์ไม่ส่งเงินค่าแชร์ให้ครบตามงวด
- สมาชิกวงแชร์ตั้งใจไม่ชำระเงินเข้ากองกลางตั้งแต่แรก
2. แชร์รายวัน ผิดกฎหมายไหม?
ไม่ผิดกฎหมาย
3. แชร์แบบขั้นบันไดผิดกฎหมายไหม?
ไม่ผิดกฎหมาย แต่ห้ามตั้งวงแชร์เกิน 3 วง มีลูกแชร์รวมกันในสามวงนั้นไม่เกิน 30 คน และวงเงินรวมทุกวงต้องไม่เกิน 300,000 บาท
4. เป็นเจ้าแชร์ ผิดกฎหมายไหม?
บุคคลธรรมดาสามารถเป็นเจ้าแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ห้ามนิติบุคคลเป็นเจ้าแชร์ ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534
5. คดีแชร์เป็นคดีอาญาไหม?
คดีแชร์เป็นได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



