เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-01

โดนเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นหนี้

บางครั้งลูกหนี้คนอื่นไปก่อหนี้ แล้วทำให้เราโดนยึดทรัพย์ไปด้วย เราสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้ดังกล่าว บทความนี้ Legardy จะพาทุกท่านไปรู้จักกับการร้องขัดทรัพย์กันครับ

 

1.png


ร้องขัดทรัพย์ คืออะไร

ร้องขัดทรัพย์ คือ การที่บุคคลที่สามซึ่งไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา แต่อ้างว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ตามหมายบังคับคดีเป็นของตน หรือ มีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีเพื่อขอให้ศาลไต่สวน ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของใคร หรือใครมี
สิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วศาลจะไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หากศาลท่านเห็นว่า บุคคลที่สามมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ศาลก็จะสั่งยกเลิกการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ในกรณีที่บุคคลที่สามไม่ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายใน 30 วัน ถือว่าบุคคลที่สามยอมสละสิทธิ์ในการร้องขัดทรัพย์


ร้องขัดทรัพย์ มาตรา 323 

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323

บุคคลใดกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือตนเป็นเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด หรือตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์แบ่งได้ หรือตนเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์สินนั้นได้อยู่ก่อน บุคคลนั้นอาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเฉพาะส่วนของตน แล้วแต่กรณี 

 

 


หลักเกณฑ์ในการยื่นร้องขัดทรัพย์

1. ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ 

ยกตัวอย่างเช่น เจ้าหนี้ของ A ได้ทำการยึดรถยนต์ของAไว้เพื่อบังคับคดียึดทรัพย์ แต่ชื่อเจ้าของรถจริงๆนั้นเป็นชื่อของ B ดังนั้น Bสามารถร้องขัดทรัพย์ได้เพราะ Bถูกกระทบสิทธิ์

2. ตนเป็นเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด

ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องดูโฉนดอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เพียงแค่ดูตามหลักความเป็นจริงว่า อสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้นั้นมีเท่าไร และสามารถบังคับคดียึดทรัพย์ได้เพียงเท่านั้น เป็นกรรมสิทธิ์รวมเพียงเท่าไร สามารถยึดได้เท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น Aปลูกบ้านในที่ดินของB ต่อมาเจ้าหนี้ได้ทำการยึดที่ดินทั้งหมดด้วยความเข้าใจผิดว่าที่ดินที่Aอยู่อาศัยนั้นเป็นของAทั้งหมด
ดังนั้นB ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้และการบังคับคดียึดทรัพย์ Bสามารถร้องขัดทรัพย์ได้

3. ตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์แบ่งได้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 141 ที่ว่า “ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่าทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว” ตัวอย่างเช่น ที่ดิน ผ้าตัดเสื้อ น้ำมัน ข้าวสาร เชือก ทราย กรวด เป็นต้น 

หากลูกหนี้มีส่วนเกี่ยวของกับทรัพย์ที่แบ่งได้เท่าไร ให้เจ้าหนี้ยึดได้เท่านั้น การที่ยึดในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องนั้นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถร้องขัดทรัพย์ได้

ยกตัวอย่างเช่น รถสิบล้อรับจ้างบรรทุกข้าวสารในรถนั้นประกอบไปด้วยข้าวสารของAปริมาณ10 กิโลกรัม และเป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย หากเจ้าหนี้ต้องการยึดทรัพย์แบ่งได้ที่เป็นข้าวสารนั้น จะยึดได้เฉพาะ10กิโลกรัมที่เป็นของAเท่านั้น หากทำการยึดทั้งรถสิบล้อ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้นี้สามารถยื่นร้องขัดทรัพย์ได้

4. ตนเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์สินนั้นได้อยู่ก่อน

เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300

ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้ 

โดยทั้งนี้มี 3 กรณีครับ

1.) การครอบครองปรปักษ์ หากผู้ครอบครองปรปักษ์ นั้นได้ครอบครองครบ 10ปีเรียบร้อยแล้ว ต่อให้ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ หากมีการบังคับคดียึดทรัพย์สินที่ครอบครองปรปักษ์เกิดขึ้น ผู้ครอบครองปรปักษ์สามารถร้องขัดทรัพย์ได้

2.) เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น หากมีการชำระค่าอสังหาริมทรัพย์นั้นแล้ว ถึงแม้ว่ายังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่ออสังหาริมทรัพย์ก็ตาม ถือว่าผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นแล้ว หากมีการบังคับคดียึดทรัพย์ที่ได้ซื้อไว้ ผู้ซื้อสามารถร้องขัดทรัพย์ได้

"สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์สำคัญหรือไม่? หาคำตอบได้ที่ลิงค์นี้ คลิกเลย !"

3.) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หากศาลมีการพิพากษาของศาลแล้วว่าให้ลูกหนี้นั้นทำการชำระหนี้โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ ถึงแม้ว่าลูกหนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้ แต่ให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นจดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์สินนั้นได้อยู่ก่อนแล้ว หากมีการบังคับคดียึดทรัพย์ที่ได้รับจากลูกหนี้ไว้ เจ้าหนี้สามารถร้องขัดทรัพย์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่8477/2563 (ร้องขัดทรัพย์)
    

โจทก์ (บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ)  เป็นเจ้าหนี้สามัญ  จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในหนี้เช่าซื้อของจำเลยที่ 1      
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 
จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอบังคับคดีขอให้ยึดที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ต่อมา ผู้ร้องมายื่นคำร้องขัดทรัพย์ โดยบรรยายเหตุว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาขายที่ดินและสัญญาจำนองดังกล่าวไว้กับธนาคาร  โดยผู้ร้องใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน 
    **จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ  แต่การที่ผู้ร้องบรรยายว่า หนังสือสัญญาซื้อขายและจำนองดังกล่าวได้ทำไปเพื่ออำพราง เพื่อที่จะให้เข้าหลักเกณฑ์ที่ธนาคารสามารถปล่อยเงินกู้ในการซื้อที่ดินให้แก่ผู้ร้องได้ ดังนี้  โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่2 แต่อย่างใด  จึงไม่ได้อยู่ในฐานะบุคคลภายนอกอันอยู่ในความหมายหรือที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 806
      แต่อย่างไรก็ดี แม้ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้ร้อง  ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ก็ได้ทำบันทึกตกลงให้ที่ดินเป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียว แต่ก็ไม่มีพนักงานธนาคารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเบิกความรับรองบันทึกดังกล่าว  จึงล้วนแต่เป็นการง่ายในการจัดทำเอกสาร   พฤติการณ์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว น่าจะเป็นการสมคบกันมาขอให้ปล่อยทรัพย์เพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5  ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 ได้
 


ระยะเวลาในการร้องขัดทรัพย์ ต้องร้องขัดทรัพย์ภายในกี่วัน

บุคคลที่ถูกยึดทรัพย์สินมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อไถ่ถอนทรัพย์สินคืนแต่ต้องยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สิน
กรณียื่นคำร้องขอเกิน 60 วัน ต้องมีพฤติการณ์พิเศษและยื่นคำร้องขอไม่เกิน 7 วันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สิน หากไม่ยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาที่กำหนด จะสูญเสียสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินคืน


2.png

การร้องขอกันส่วน

การร้องขอกันส่วน คือ การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ขอให้ศาลแยกทรัพย์สินของลูกหนี้(จำเลย)
บางส่วนที่เป็นของบุคคลที่สาม(ผู้ขอกันส่วน) ออกจากทรัพย์สินของลูกหนี้ ก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือที่ดินแปลงดังกล่าว
เมื่อศาลได้รับคำร้อง ศาลจะไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องหากศาลท่านเห็นว่าผู้ขอกันส่วนมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ศาลจะสั่งแยก ทรัพย์สินนั้นออกจากทรัพย์สินของลูกหนี้และอนุญาตให้ผู้ขอกันส่วนนำทรัพย์สินนั้นไป ก่อนจะเริ่มขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีให้ชำระหนี้


ขอเฉลี่ยทรัพย์

ขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การที่ลูกหนี้นั้นมีเจ้าหนี้หลายราย และเจ้าหนี้หลายรายนั้นได้ต่อสู้คดีกับลูกหนี้คนเดียวกัน แต่เจ้าหนี้ยังไม่ได้รับการชำระหนี้ เจ้าหนี้หลายรายนั้นสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่ง แบ่งทรัพย์ของลูกหนี้ ให้กับเจ้าหนี้แต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้แต่ละรายนั้นจะได้รับ 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการขอเฉลี่ยทรัพย์ดังนี้

  • ต้องมีเจ้าหนี้ 2คนขึ้นไป ที่ได้พิพากษาคดีต่อลูกหนี้คนเดียวกัน
  • เจ้าหนี้แต่ละราย ยังไม่ได้รับชำระหนี้
  • ลูกหนี้ต้องมีทรัพย์สินให้แบ่ง
  • เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 10ปี นับแต่วันที่รู้ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สิน

หากกำลังทุกข์ใจเกี่ยวกับปัญหาเรื่องทรัพย์สิน อย่าลังเลที่จะปรึกษาทนายความผ่าน Legardy สามารถปรึกษาได้ตลอด 24ชั่วโมง !

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE