Untitled design (49).png
เผยแพร่เมื่อ: 2024-07-31

เงินสมทบชราภาพประกันสังคม

เงินสมทบชราภาพนั้นคือการที่เราจ่ายประกันสังคมและเข้าสมทบเงินชราภาพเพื่อให้ได้เงินใช้ในอนาคตซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งบำเหน็จหรือบำนาญ โดยการรับเงินสมทบชราภาพนั้นก็มีเงื่อนไขที่ต้องทำตามให้ครบ ถึงจะได้เงินก้อนนี้ อีกทั้งหากกรณีส่งเงินสมทบไปแล้วเสียชีวิต บุคคลอื่นก็มีสิทธิได้รับเงินตรงนี้เช่นกัน บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับเงินสมทบชราภาพและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันให้มากขึ้นครับ


Untitled design (48).png

เงินสมทบชราภาพ คืออะไร?

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

เงินสมทบชราภาพ คือ เงินที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ผู้ประกันตนที่ทำงานในสถานประกอบการ) และมาตรา 39 (ผู้ประกันตนที่สมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) ต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่ประกันสังคมเป็นรายเดือน เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพไว้ใช้เมื่อเกษียณ

โดยผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสมทบชราภาพนั้นบุคคลนั้น
ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180เดือน (15ปี) ไม่จำเป็นต้องจ่ายติดต่อกันทุกเดือน แต่รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 180เดือน

โดยเงินสมทบชราภาพสามารถเลือกได้ 2 แบบ
1.)เงินเลี้ยงชีพรายเดือน เรียกว่า “เงินบำนาญชราภาพ”
2.)เงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว เรียกว่า “เงินบำเหน็จชราภาพ”


เงินสมทบชราภาพ คิดยังไง

มักมีคำถามว่า เงินสมทบชราภาพ ได้เท่าไร Legardy จะเสนอวิธีคิดให้ดูแบบเข้าใจง่ายๆกันครับ

วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพประกันสังคม

1.กรณีส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี)

ได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

2.กรณีส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน

ได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ทุกๆ 12 เดือนที่ส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน (สูงสุดไม่เกิน 35%)

ตัวอย่างวิธีการคิดเงินสมทบชราภาพ

A ส่งเงินสมทบ 18 ปี (216 เดือน) และมีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 10,000 บาท โดยสามารถคำนวณเงินบำนาญได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 (ส่งเงินสมทบครบ180เดือน) : 180 เดือนแรก ได้รับ 20% ของ 10,000 บาท = 2,000 บาท/เดือน
ส่วนที่ 2 (ส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน) : 36 เดือนที่เกินมา ได้รับเพิ่ม 1.5% x 3 ปี = 4.5% ของ 10,000 บาท = 450 บาท/เดือน
ดังนั้น นำแต่ละส่วนมาบวกกันเงินบำนาญรายเดือนจะเป็น = 2,000 + 450 = 2,450 บาท/เดือน ตลอดชีวิต

ฟังจากทนาย! ทุกเรื่องที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง สิทธิและการชดเชย


หากผู้ประกันตนเงินสมทบชราภาพเสียชีวิต

ตามมาตรา 77จัตวา แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดไว้ว่า

ในกรณีที่ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตก่อนได้รับเงินบำนาญ หรือเสียชีวิตภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับตั้งแต่เดือนที่เริ่มได้รับเงินบำนาญ ทายาทของผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพแทน

ทายาทที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้แก่

  • บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น) จะได้รับ 2 ส่วน หากมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะได้รับ 3 ส่วน
  • สามีหรือภรรยา จะได้รับ 1 ส่วน
  • บิดามารดา (ทั้งคู่ หรือบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่) จะได้รับ 1 ส่วน

ยกตัวอย่างเช่น

สมมติว่าเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนมีทั้งหมด 1,000,000 บาท และมีทายาท
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน , ภรรยา 1 คน , มารดา 1 คน

1.ให้เริ่มจากการรวมส่วนทั้งหมดก่อนครับ 
เช่น 2 ส่วน (บุตร) + 1 ส่วน (ภรรยา) + 1 ส่วน (มารดา) = 4 ส่วน

2.ให้เงินนั้นมาหารส่วนในข้อ 1
1,000,000 บาท / 4 ส่วน = 250,000 บาท/ส่วน

3.ขั้นตอนการแบ่งเงิน
บุตรแต่ละคนได้รับ 2 ส่วน x 250,000 บาท/ส่วน = 500,000 บาท
ภรรยาได้รับ 1 ส่วน x 250,000 บาท/ส่วน = 250,000 บาท
มารดาได้รับ 1 ส่วน x 250,000 บาท/ส่วน = 250,000 บาท

คลิกเพื่อดู : บทความทั้งหมดเรื่องประกันสังคม, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตราที่เกี่ยวข้อง


เงินสมทบชราภาพต้องจ่ายกี่บาท

1.เงินสมทบชราภาพ มาตรา 33 

จะหักจากค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้างรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

2.เงินสมทบชราภาพ มาตรา 39 

จ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5 ของฐานเงินสมทบที่เลือก (4,800 บาท, 7,200 บาท, 9,600 บาท, 15,000 บาท)

 

 


Untitled design (51).png

เงินสมทบชราภาพ เบิกก่อนได้ไหม?

ตามกฎหมาย การเบิกเงินสมทบชราภาพก่อนอายุ 55ปีบริบูรณ์ (สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)  หรือ 60 ปีบริบูรณ์ (สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40) ไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180เดือนแล้วก็ตาม

ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ ที่สมารถเบิกเงินสมทบชราภาพได้ก่อน

1.หากผู้ประกันตนได้รับการรับรองว่าทุพพลภาพ จะสามารถเบิกเงินสมทบชราภาพให้จ่ายเป็นเงินบำเหน็จชราภาพได้

2.กรณีผู้จ่ายเงินสมทบชราภาพเสียชีวิต ทายาทตามกฎหมายจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพแทน


เงินสมทบชราภาพ ได้ตอนไหน

ขอแบ่งเป็นประเภทของการประกันตนนะครับ

1.ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ผู้ประกันตนทำงานในสถานประกอบการ) จะได้เงินสมทบชราภาพเมื่อ

  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 แล้ว
  • ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพครั้งเดียว
  • ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต

2.ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) จะได้เงินสมทบชราภาพเมื่อ

  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 แล้ว
  • ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพครั้งเดียว
  • ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต

3.ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ผู้ประกันตนทำงานนอกระบบ) จะได้เงินสมทบชราภาพเมื่อ

  • อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และยังคงเป็นผู้ประกันตนอยู่
  • ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพครั้งเดียว
  • ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต

สรุป

เงินสมทบชราภาพนั้นเป็นประกันสังคมที่เหมือนหลักประกันช่วยให้ผู้ประกันตนทุกคนสบายใจได้ว่าจะมีเงินรองรับเมื่อเกษียนหรือเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้น การส่งเงินสมทบนั้นอาจเป็นเสมือนการทำประกัน หากใครจ่ายเงินสมทบไม่ครบ ควรอ่านเงื่อนไขให้ชัดเจนและจ่ายให้ครบครับเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ หากมีปัญหาทางด้านกฎหมาย สามารถปรึกษาทนายออนไลน์ได้ตลอด 24ชั่วโมง ที่Legardy

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE