อากรแสตมป์คืออะไร และจำเป็นต้องติดไหม?
ในการทำตราสารหรือเอกสารใดๆก็ตามทางราชการนั้นต้องมีการติดอากรแสตมป์เพื่อเป็นภาษีทางอ้อม การติดอากรแสตมป์นั้นเปรียบเสมือนค่าดำเนินการจากภาครัฐ ซึ่งรายได้เหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆได้ครับ บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับอากรแสตมป์และการทำสัญญาหรือเอกสารต่างๆนั้น ต้องติดอากรแสตมป์กี่บาท รวมไปถึงโทษทางกฎหมายหากไม่ติดอากรแสตมป์กันครับ
ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจคำว่า “ตราสาร” กันก่อนครับ ตราสาร คืออะไร?
ตราสาร หมายถึง เอกสารที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และมีผลทางกฎหมาย ก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ หรือความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับหน่วยงานของรัฐ ตราสารมีหลายประเภท เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาจ้างแรงงาน เป็นต้น โดยแต่ละประเภทมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
ตราสารนั้นมีความสำคัญอย่างมากในทางกฎหมาย เพราะเป็นหลักฐานที่สำคัญในการพิสูจน์สิทธิ หน้าที่ และนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหากเกิดข้อพิพาทขึ้น
อากรแสตมป์ คือ
อากรแสตมป์ในเชิงกฎหมาย คือ ภาษีชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากการทำตราสารหรือเอกสาร เช่น สัญญา กรรมสิทธิ์ หรือเอกสารทางธุรกรรมอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรแสตมป์คือผู้ที่ทำตราสารขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ตัวอย่างตราสารที่ต้องเสียภาษีอากรแสตมป์
- สัญญาเช่าที่ดินหรืออาคาร
- สัญญาเช่าซื้อ
- สัญญาจ้างทำของ
- สัญญากู้ยืมเงิน
- ตั๋วแลกเงิน
- หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น
อากรแสตมป์และแสตมป์ไปรษณีย์เป็นคนละอย่างกันนะครับ ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
อากรแสตมป์ ใช้ทําอะไร
ใช้สำหรับติดบนเอกสารต่างๆ การติดอากรแสตมป์บนตราสารหรือเอกสารนั้นช่วยให้เอกสารนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องคดีได้อีกทั้งอากรแสตมป์มีลักษณะเฉพาะที่ยากต่อการปลอมแปลง จึงช่วยป้องกันการปลอมแปลงตราสารได้ในระดับหนึ่ง
Q: สามารถใช้แชทยืมเงินให้เป็นหลักฐานต้องติดอากรแสตมป์ได้ไหมครับ
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามกฎหมายไทย มีดังนี้
1.บุคคลตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ได้แก่ ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย เป็นต้น โดยบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามประเภทของตราสารที่ทำขึ้น เช่น ผู้ให้เช่ามีหน้าที่เสียอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่า ซึ่งมูลค่าของอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของตราสารหรือเอกสารที่ทำ
2.ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย (กรณีตราสารทำขึ้นนอกประเทศ)
หากตราสารทำขึ้นนอกประเทศไทย ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์คือผู้ที่ได้รับตราสารนั้นเป็นคนแรกในประเทศไทย โดยต้องเสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสาร
3.ผู้รับตั๋วเงินที่ไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์
ในกรณีที่ตั๋วเงินไม่ได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ผู้รับตั๋วเงินจะมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ส่วนที่เหลือ และสามารถไล่เบี้ยเอากับผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามกฎหมายได้
4.คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (แล้วแต่จะตกลงกัน)
ในบางกรณี ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ตามกฎหมายสามารถตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแสตมป์แทนได้ แต่ต้องระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจน
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์ต้องติดภายใน 15วัน หลังจากทำสัญญา แต่ถ้ามีการทำสัญญาเกิดขึ้นที่ต่างประเทศ ผู้ที่นำสัญญาเข้ามาต้องติดภายใน 30วัน หลังจากทำสัญญา
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
อากรแสตมป์ มีกี่บาทบ้าง และซื้อได้ที่ไหน
มี 3 รูปแบบ
- สีน้ำเงิน 1 บาท
- สีเขียว 5 บาท
- สีแดง 20 บาท
อากรแสตมป์ ซื้อที่ไหน
- สำนักงานกรมสรรพากรในอำเภอและจังหวัดเท่านั้น
- ที่ว่าการอำเภอแต่ละจังหวัดได้เลยครับ
ไม่ติดอากรแสตมป์มีโทษทางกฎหมายอย่างไร
ประมวลรัษฎากรมาตรา 124
ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ แต่ไม่เสีย หรือขีดฆ่าแสตมป์เพิกเฉย หรือปฏิเสธไม่เสียอากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ประมวลรัษฎากรมาตรา 125
"ใบรับไม่ถึง 10 บาท" หมายถึง ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้แทนใบเสร็จรับเงิน ซึ่งออกให้สำหรับการรับเงินหรือรับชำระหนี้ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป แต่ระบุจำนวนเงินในใบเสร็จไม่ถึง 10 บาท เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ประมวลรัษฎากรมาตรา 126
ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 127 ทวิ
ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับ หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา 105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 128
ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา หรือมาตรา 123 ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ประมวลรัษฎากรมาตรา 129
ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอม หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ทำสัญญาต้องเสียอากรแสตมป์กี่บาท
ลักษณะแห่งตราสาร | ค่าอากรแสตมป์ | ผู้ที่ต้องเสียอากร | ข้อยกเว้น/การปัดเศษ |
1.อากรแสตมป์ สัญญาเช่าที่ดิน | 0.1% ของค่าเช่า | ผู้เช่า | ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มถัดไป |
2.อากรแสตมป์ สัญญาจ้าง | 1 บาทต่อ ค่าสัญญา1,000 บาท | ผู้จ้าง | ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มถัดไป |
3.อากรแสตมป์ หนังสือมอบอํานาจ | 10 บาท | ผู้มอบอำนาจ | กระทำหลายครั้งหรือมอบให้หลายคน ต้องติดอากรแสตมป์ 30บาท |
4.เช่าซื้อทรัพย์สิน | 1 บาทต่อ ค่าเช่าซื้อ1,000 บาท | ผู้ให้เช่า | ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มถัดไป |
5.หนังสือบอกกล่าวทวงหนี้ | 1 บาทต่อ 2,000 บาท | ผู้บอกกล่าว | ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มถัดไป |
6.หนังสือรับรองหนี้ | 1 บาทต่อ 2,000 บาท | ผู้รับรอง | ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มถัดไป |
ตารางดังกล่าวเป็นเพียงแค่ตารางเบื้องต้นเท่านั้น ผู้อ่านสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลยครับ https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/SD/document1_100861.pdf
อากรแสตมป์ ติดยังไง
ติดที่ว่างด้านบนมุมซ้ายของกระดาษ และที่สำคัญอย่าลืมขีดฆ่าอากรแสตมป์ โดยผู้ที่ทำการขีดฆ่าอากรแสตมป์หรือผู้ซื้ออากรแสตมป์สามารถดูจากตารางด้านบนได้เลยครับ
อากรแสตมป์ออนไลน์ (e stamp) คืออะไร?
เป็นอากรแสตมป์เหมือนกันแต่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถซื้อผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เลยครับ
ขั้นตอนการซื้ออากรแสตมป์ออนไลน์ (E stamp) ดังนี้
1.https://www.rd.go.th/272.html เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากรและเลือกเมนู "ชำกระอากรแสตมป์"
2.เลือกเมนู “ขอเสียอากรแสตมป์”
3.ทำการเข้าสู่ระบบ
4.เลือกประเภทของตราสารว่าเป็น แบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เป็นแบบะกระดาษ และเลือกลักษณะของตราสารที่ต้องการเสียอากรณ์แสตมป์
5.กรอกข้อมูลของรายละเอียดตราสารนั้นให้ครบถ้วน
6.กดปุ่มยืนยันแบบและทำการชำระเงินได้เลยครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



