ขั้นตอนและการเรียกร้องของการฟ้องหย่า.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-11-30

ขั้นตอนและการเรียกร้องของการฟ้องหย่า

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากมีชีวิตคู่ที่ดีกันทั้งนั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เหลือการควบคุม และไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าเลยว่าชีวิตคู่ของตัวเองจะเป็นอย่างไรบ้าง ถึงอย่างนั้นหากว่าการมีชีวิตคู่ทำให้มีทุกข์ และไม่สามารถที่จะไปต่อได้ การหย่าร้างก็อาจจะเป็นทางที่ดีที่สุด แต่ทั้งนี้บางคู่ก็อาจจะจบกันไม่ดี ตกลงกันให้ลงตัวไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการในการฟ้องหย่าต่อไปนั่นเอง

 

ทำความเข้าใจเหตุของการฟ้องหย่า

การฟ้องหย่า คือ การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะทำเรื่องหย่า แต่คู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยินยอมและไม่ต้องการที่จะหย่า เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้นก็จะสามารถทำการฟ้องร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้มีการหย่าขาดจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ อย่างไรก็ตามในการฟ้องเหตุที่จะฟ้องร้องจะต้องเป็นไปตามบัญญัติที่ให้ไว้ในมาตรา 1516 เท่านั้น ซึ่งจะใช้เหตุอื่น ๆ มาใช้ในการฟ้องหย่าไม่ได้ รวมถึงหากว่าก่อนการสมรสมีการทำสัญญากำหนดเหตุฟ้องหย่าเอาไว้เองแล้วก็ไม่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องร้องได้เช่นกัน อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ปรึกษาเรื่องฟ้องหย่า

 

การฟ้องหย่า สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง

การฟ้องหย่า สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง.png

ในการฟ้องหย่านั้น ไม่เพียงแค่ช่วยให้สามารถหย่าขาดออกจากกันได้แล้ว แต่ยังสามารถเรียกร้องหลาย ๆ อย่างจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย ซึ่งหากว่าฟ้องหย่าจะสามารถเรียกร้องอะไรจากอีกฝ่ายได้บ้าง มาดูกัน

 

1. ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพ

ตามกฎหมายมาตรา 1526 กล่าวว่า ในคดีหย่าหากว่ามีเหตุที่เกิดขึ้นจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และการหย่านั้นจบลงได้ยาก แล้วนำมาซึ่งการขาดรายได้จากงานที่ทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายจะต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าครองชีพให้ ทั้งนี้ค่าครองชีพที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับศาลเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้หรือไม่ให้ ซึ่งจะคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้ รวมถึงคำนึงถึงฐานะของผู้รับด้วย อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพ

 

 

2. ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (กรณีมีลูก)

สิ่งต่อมาที่สามารถเรียกร้องได้จากการฟ้องหย่า คือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (กรณีมีลูก) โดยหากว่าฝ่ายที่ฟ้องหย่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลบุตร ทำให้สิ่งที่สำคัญก็คือค่าอุปการะเลี้ยงดู ฝ่ายที่ทำการฟ้องหย่าสามารถที่จะฟ้องร้องเพื่อเรียกเก็บค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ซึ่งสามารถทำทั้งการฟ้องหย่าไปพร้อม ๆ กับการฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูได้จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะ แต่หากไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูบุตรสามารถอ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

สำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกเก็บค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น ก็สามารถฟ้องร้องเรียกเก็บได้ในหลายส่วน และสามารถเรียกได้ตามความเหมาะสม โดยมีดังต่อไปนี้

  • ค่าอาหาร
  • ค่าเสื้อผ้า ของใช้ที่จำเป็น
  • ค่าศึกษาเล่าเรียน และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
  • ค่าที่พักอาศัย
  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน
  • ค่ารักษาพยาบาล 
  • ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร 
  • ค่าวัคซีน
  • ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ

อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

Q: ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังจากอดีตสามี

Q: ไม่จดทะเบียนสมรส สามารถฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหมคะ

Q: อยากฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรค่ะ

Q: อยากปรึกษาข้อกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร

 

3. ฟ้องแบ่งสินสมรส

การฟ้องแบ่งสินสมรสเป็นสิ่งที่สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน เนื่องจากว่าในระหว่างที่เป็นสามี-ภรรยานั้นก็จะมีทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายรวมอยู่ด้วยกัน  โดยได้เป็นสินสมรสของทั้งสองคน ทั้งนี้เมื่อต้องการหย่ากันก็จะต้องทำการแบ่งสินสมรสออกมาให้เป็นส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อทำการหย่ากันแล้วแต่ยังไม่ได้แบ่งสินสมรสกันได้ หรือว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นแบบที่อีกฝ่ายไม่ได้ยินยอม ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งได้เลย  อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ฟ้องแบ่งสินสมรส หรือ อ่านบทความเกี่ยวกับสินสมรสได้ที่นี่

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

4. ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีหรือภริยา

ในกรณีที่การฟ้องหย่าเกิดขึ้นเพราะเรื่องของการมีชู้ ทั้งกรณีที่เกิดขึ้นกับสามีหรือกรณีที่เกิดขึ้นกับภรรยา ทั้งสองฝ่ายสามารถทำการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสหรืออีกฝ่ายที่คบชู้ได้เลย นอกจากนั้นหากว่ายังไม่ได้ทำการฟ้องหย่ากับคู่สมรสก็สามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนกับชู้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในการฟ้องเรียกค่าทดแทน มีรายละเอียดดังนี้

  • หากว่าคู่สมรสยังไม่ได้มีการหย่าร้างกันแล้วคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชู้ จะสามารถฟ้องร้องค่าทดแทนได้จากชู้เท่านั้น
  • กรณีที่มีการฟ้องหย่ากันเกิดขึ้นแล้ว แล้วคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชู้ สามารถฟ้องร้องค่าทดแทนได้ทั้งจากชู้และจากคู่สมรส

 อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสามีมีชู้

 

เอกสารที่ต้องเตรียมในการฟ้องหย่า

สำหรับการฟ้องหย่าก็มีเอกสารหลายอย่างที่ต้องจัดเตรียม และต้องใช้ในการดำเนินการ โดยเอกสารที่สำคัญในการใช้ยื่นฟ้องหย่าก็มีดังต่อไปนี้

  • ใบสำคัญการสมรส
  • บัตรประจำตัวประชาชนของสามีและภรรยา
  • ทะเบียนบ้านที่สามีและภรรยา รวมถึงบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกัน
  • สูติบัตรบุตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (หากมีบุตรด้วยกันหลายคนก็ต้องเอาของบุตรทุกคน)
  • หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่จะฟ้องหย่า โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรา 1516
  • หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น 
  • หลักฐานเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์
  • บันทึกข้อตกลงการหย่า (ถ้ามี)

อ่านกรณีตัวอย่างจริงจากผู้ที่ต้องการฟ้องหย่า

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงจะช่วยทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้นแล้ว ถึงเรื่องของการฟ้องหย่าว่าเป็นอย่างไร แล้วสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนไหนได้บ้าง อย่างไรก็ตามการฟ้องร้องกันก็เป็นเรื่องที่ใช้เวลาและมีขั้นตอนเยอะมาก ๆ ทางที่ดีหากชีวิตคู่ไปต่อไม่ได้ก็อยากให้คุยกันและเคลียร์กันเองให้ลงตัวดีกว่า แต่ถึงอย่างนั้นหากอีกฝ่ายไม่ยอมจบด้วยดี การฟ้องร้องเพื่อให้หย่าขาดจากกันก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ซึ่งหากใครต้องการฟ้องหย่า Legardy มีทนายความทนายความที่เชี่ยวชาญด้านคดีกฎหมายการหย่าร้างและครอบครัว ประสบการณ์กว่า 10 ปี ที่พร้อมช่วยเหลือคุณตลอด 24 ชั่วโมง  

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.