เผยแพร่เมื่อ: 2023-10-11

ความหมายของคดีอุทลุม

 

คดีอุทลุม หมายถึง คดีที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้อง "บุพการี" ของตัวเองเป็นจำเลย

 

'อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ เรื่องคดีอุทลุม ได้ที่นี่ คลิกเลย!'

 

หลักกฎหมาย

 

 โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ห้ามไม่ให้ฟ้องบุพการีของตัวเองเป็นจำเลยทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาซึ่งมีหลักการพิจารณาดังนี้

 

1.ต้องเป็นการฟ้องบุพการีของตนเองซึ่งคำว่า "บุพการี" หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด หากเป็น ลุงป้า น้าอา ผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ต้องห้าม

2.ตามปกติแล้วคำว่า "บุพการี" หมายถึง บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด โดยสายโลหิตแต่สำหรับเรื่องคดีอุทลุมแล้วต้องเป็น บิดามารดา ปู่ยา ตายาย ทวดตามกฎหมายด้วย

3.ต้องเป็นการฟ้องในฐานส่วนตัว หากฟ้องในฐานะอื่นไม่ต้องห้ามเช่น ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก(อ่านบทความเรื่องมรดก ได้ที่นี่คลิก) หรือฟ้องในฐานะตัวแทนบริษัท ไม่ต้องห้าม

4.ในคดีอาญาต้องเป็นการฟ้องต่อศาลเองโดยตรงหรือเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ หากเพียงแต่แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแบบนี้

สามารถทำได้ไม่ต้องห้าม

 

 

เมื่อเป็นคดีอุทลุมแล้วต้องแก้ไขอย่างไร?

 

1.ในส่วนของคดีแพ่งคดีที่เข้าลักษณะคดีอุทลุมกฎหมายได้ให้ทางออกไว้ โดยการให้ผู้ที่ต้องการฟ้องคดีอุทลุมร้องขอต่อพนักงานอัยการให้ดำเนินคดีแทน พนักงานอัยการก็จะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 14 (6) การยกคดีขึ้นว่ากล่าวแทนได้

2.ในส่วนของคดีอาญายังคงสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีไปตามขั้นตอนได้ แต่จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานในชั้นศาลไม่ได้

 

นี่ก็เป็นหลักเกณฑ์และวิธีแก้ปัญญาเกี่ยวกับคดีอุทลุมเบื้องต้นหวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยครับ

'หากกำลังประสบปัญหาการว่าความอยู่ ทนายจากLegardyพร้อมช่วยคุณตลอด24ชั่วโมง! ปรึกษาเลยคลิก'

Image by Freepik

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE