เผยแพร่เมื่อ: 2023-12-21

 

สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีหลักดังนี้ 

 

1.สัญญาค้ำประกันต้องมีบุคคล 3 ฝ่ายคือ เจ้าหนี้ ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน 

 

2.ผู้ค้ำประกันต้องเป็น “บุคคลภายนอก” เท่านั้นโดยมีความผูกพันต่อเจ้าหนี้ในการชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ (มาตรา 680 วรรค 1) ดังนั้นผู้ค้ำประกันย่อมไม่อาจเป็นลูกหนี้ได้เลย 

 

เช่น ก.ให้ ข.กู้ยืมเงินไป โดยข.นำเงินไปทำกิจการร่วมกับ ค.และจะใช้เงินคืนให้ ก.ต่อมามี ง.ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว ง.ต้องเป็นบุคคลภายนอกจึงเป็นผู้ค้ำได้ ถ้าข.กับค.เป็นลูกหนี้ร่วมกันในมูลหนี้ของก.ไม่อาจเป็นผู้ค้ำได้เลย 

 

3.ผู้ค้ำประกันจะเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็ได้ ถ้ากรณีนิติบุคคลต้องดูขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลด้วย 

 

4.หนี้ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์เท่านั้น จะมีสัญญาค้ำประกันเกิดขึ้นได้ต้องมีสัญญาทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อันเป็นหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อน มูลหนี้ในหนี้ประธานอาจเกิดจากการตกลงกันทำนิติกรรมสัญญาหรือนิติเหตุเช่น ละเมิดก็ได้

 

 

 5.หนี้ประธานในทางแพ่งต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ (มาตรา 681 วรรค1)

 

เช่น ก.ให้ ข.ลูกหนี้กู้ยืมเงิน วันทำสัญญากู้ก.ต้องส่งมอบเงินให้ ข.เรียบร้อยก่อนถ้ายังไม่ส่งมอบ สัญญาประธาน (กู้ยืมเงิน) จะยังไม่เกิดจะทำให้ ค.ผู้ค้ำประกันเข้ามาค้ำประกันไม่ได้ 

 

6.หนี้ประธานที่เกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ

 

 เช่น ผู้ทำนิติกรรมมีความสามารถบกพร่อง หรือ สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน นั้นนิติกรรมยังมีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง ถ้ายังไม่บอกล้างหนี้ประธานสมบูรณ์ก็ค้ำประกันได้ 

 

7.สัญญาค้ำประกันเป็น “หนี้เหนือบุคคล” ไม่ใช่หนี้เหนือทรัพย์สิน โดยที่ผู้ค้ำต้องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้ต้องผิดนัดก่อนจึงจะทำให้เจ้าหนี้เรียกผู้ค้ำให้ชำระแก่ตน ดังนั้น ตราบใดลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด เจ้าหนี้เรียกผู้ค้ำชำระหนี้ก่อนลูกหนี้ไม่ได้เลย 

 

8.ลูกหนี้ไม่จำต้องให้ความยินยอมในสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ค้ำกับเจ้าหนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว และ 

 

9.สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ (มาตรา 680 วรรค 2) (เพียงแค่ลายมือชื่อ “ผู้ค้ำ” ไม่บังคับว่าต้องมีลายมือชื่อ “เจ้าหนี้”) เมื่อเป็นสัญญาไม่มีแบบการไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญาค้ำประกันก็เกิดขึ้นได้ไม่ตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าไม่มีหลักฐานจะฟ้องร้องให้ผู้ค้ำชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไม่ได้ ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือควรมีอย่างน้อยก่อนฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องมีทันทีในวันทำสัญญา

 

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE