เปย์ไปแล้ว ขอคืนได้ไหม ?
การที่บุคคลหนึ่งนำเงินหรือทรัพย์สินของตนเองมาให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง ถือว่าเป็นสัญญาให้ตามกฎหมาย หรือเรียกอีกอย่างว่า “การให้โดยเสน่หา”โดยมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521
เมื่อทรัพย์สินถูกโอนไปจากผู้ให้แล้วก็ย่อมตกเป็นสิทธิของผู้รับที่จะใช้สอย หรือจำหน่ายจ่ายโอนก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการให้โดยเสน่หาไปแล้ว ผู้ให้ก็อาจเรียกคืนทรัพย์สินนั้นกลับมาเป็นของตนได้ หากเข้าเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณตามกฎหมาย
ดังทีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 ซึ่งเหตุประพฤติเนรคุณ
ตามกฎหมายที่จะทำให้ผู้ให้มีสิทธิถอนคืนการให้ หรือเรียกทรัพย์สินคืนได้นั้นมีดังต่อไปนี้
1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ทำร้ายร่างกายผู้ให้ พยายามฆ่าผู้ให้ เป็นต้น
'แล้วเจตนาฆ่ากับทำร้ายร่างกาย มีเกณฑ์อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ อ่านเลย! คลิก'
2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง เช่น ผู้รับได้ใส่ความผู้ให้ ในประการที่จะทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นต้น
'เช็คด่วน! ด่าแบบไหนเรียกหมิ่นประมาท คลิก'
3. ผู้รับไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ เช่น ผู้รับไม่ยอมอุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ ไม่ว่าจะด้วยเงินหรือทรัพย์สินอื่น ในเวลาที่ผู้ให้ลำบาก เป็นต้น
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้รับฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนา หรือกระทำการกีดกันขัดขวางไม่ให้ผู้ให้ถอนคืนการให้หรือเรียกทรัพย์สินคืน ทายาทของผู้ให้อาจเป็นผู้เรียกร้องคืนจากผู้รับเองได้
อยากหาตัวอย่างคำปรึกษาจริงเพิ่มเติม พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิกเลย!
Q: ตอนเป็นแฟนกันเขาให้เงินเราใช้พอเลิกกันจะมาขอคืน
Q: ให้เงินโดยเสน่หาแล้วสามารถเรียกคืนได้ไหม
Q: การให้สิ่งของหรือเงินามารถเรียกคืนได้หรือไม่ตามกฎหมาย
ระยะเวลาในการขอคืน
สำหรับการเรียกถอนคืนการให้ หรือเรียกทรัพย์สินที่ให้คืนนั้น กฎหมายได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกคืน 6 เดือนนับแต่ได้ทราบเหตุที่จะเรียกคืนได้ หรือ 10 ปีนับแต่เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้น ทั้งนี้หากผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับที่ประพฤติเนรคุณแล้ว ผู้ให้หรือทายาทของผู้ให้ก็ไม่สามารถเรียกถอนคืนการให้ หรือเรียกทรัพย์สินที่ให้คืนได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม
การให้บางประเภทแม้ผู้รับจะประพฤติเนรคุณ
ผู้ให้ก็ไม่สามารถเรียกถอนคืนการให้ หรือเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ ได้แก่
1. ให้เป็นบำเหน็จสินจ้าง กล่าวคือ ผู้ให้ได้ให้บำเหน็จตอบแทนที่ผู้รับกระทำการใดให้แก่ผู้ให้
2. ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน เช่น ผู้ให้ให้ที่ดินแก่ผู้รับ ตอบแทนที่ผู้รับไถ่ถอนหนี้จำนองให้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551)
3. ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น บิดามารดาให้ทรัพย์สินเพื่ออุปการะบุตร
4. ให้ในการสมรส ('สินสมรสมีอะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบ! คลิกเลย')