
ประมวลรัษฎากร คำที่คนจ่ายภาษีต้องรู้
หลายๆคนที่จ่ายภาษีอาจจะเคยเห็นคำว่าประมวลรัษฎากรผ่านตามาบ้าง สำหรับคนที่ยังไม่จ่ายภาษี การจ่ายภาษีนั้นเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน ซึ่งประมวลรัษฎากรจะพูดถึงการเก็บภาษีประเภทต่างๆในประเทศไทย ประมวลรัษฎากรครอบคุลมภาษีหลากปลายประเภท บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับประมวลรัษฎากรอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
ประมวลรัษฎากร คืออะไร?
ประมวลรัษฎากร คือ กฎหมายที่รวบรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรต่างๆ ของประเทศไทย มีผลบังคับใช้โดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ได้กำหนดให้ผู้เก็บภาษีอากรให้อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ประมวลรัษฎากรมีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการคลังและเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งประมวลรัษฎากรมีกำหนดบทลงโทษหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือเลี่ยงภาษี ประวลรัษฎากรนั้นมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจแล้วสังคมในขณะนั้น
ประมวลรัษฎากรครอบคลุมภาษีหลายประเภท เช่น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- อากรแสตมป์
ประมวลรัษฎากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบการกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บจากรายได้หรือมูลค่าของกิจกรรมทางธุรกิจ โดยมีกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ
โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีเฉพาะมีดังนี้
- ธุรกิจธนาคาร ธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น ฝาก ถอน กู้ยืม แลกเปลี่ยนเงินตรา
- ธุรกิจการเงินอื่นๆ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
- ธุรกิจประกันชีวิต
- ธุรกิจโรงรับจำนำ
- ธุรกิจที่คล้ายธนาคาร การให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกัน การแลกเปลี่ยนเงินตรา
- ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ การขายที่ดิน บ้าน อาคาร หรือห้องชุด เพื่อการค้าหรือหากำไร
อัตราภาษีแตกต่างกันไปตามประเภทของกิจการ โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 3% ของมูลค่าธุรกิจ
คลิกเพื่อดู : บทความทางกฎหมายเรื่องภาษี, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบเรื่องภาษี, กฎหมายที่เกี่ยข้องกับภาษี
ประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ คือ ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่ผู้เสียภาษีหรือดำเนินการทางราชการใดๆ บางครั้งอาจมีการให้ติดอากรแสตมป์เพื่อเป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่างๆ โดยแต่ละรายการมีอัตราอากรแสตมป์ที่ต่างกัน เช่น สัญญาเช่าที่ดิน , ใบหุ้น, หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น
โดยสามารถจ่ายอากรแสตมป์ด้วยการซื้อสแตมป์อากรมาติดบนตราสาร ตามมูลค่า
หากอยากให้เห็นภาพมากขึ้น มันก็คือสแตมป์ดวงสีเขียวๆที่ติดบนมุมกระดาษนั่นแหละครับ ก่อนจะทำธุรกรรมหรือติดต่อราชการใดๆ อย่าลืมตรวจสอบให้ดีว่าต้องใช้อากรแสตมป์หรือไม่ และต้องใช้ในอัตราเท่าใด
"ทำความรู้จักกับ อากรแสตมป์ให้มากขึ้น ใช้ทำอะไรและต้องใช้กี่บาท หาคำตอบได้ที่นี่ !" คลิกเลย
ประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและจำหน่าย ปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรฐานอยู่ที่ 7% ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า เพื่อนำส่งให้แก่รัฐบาล
อย่างไรก็ตาม มีสินค้าและบริการบางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สินค้าจำเป็นพื้นฐาน เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ อาหารสัตว์ ยาบางชนิด เป็นต้น โดยที่ผู้ประกอบการสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ในการซื้อสินค้าไปได้
ไม่ยื่นภาษี ยื่นภาษีล่าช้า มีความผิดและโทษอะไรบ้าง ต้องโดนปรับเท่าไร หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !
ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้เยาว์
ตามประมวลรัษฎากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้เยาว์ ได้แก่ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ของผู้เยาว์คนนั้น โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้เยาว์ และรวมรายได้ของผู้เยาว์เข้ากับรายได้ของตนเองในการคำนวณภาษี
"ผู้เยาว์ต้องอายุไม่เกินกี่ปี? และผู้เยาว์มีสิทธิทำอะไรบ้าง" คำตอบอยู่ที่ลิงค์นี้ คลิกเลย !
อายุความภาษีบุคคลธรรมดา
แบ่งได้เป็น 2กรณี
- กรณีทั่วไป 5 ปี นับตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาสำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี
- กรณีมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อายุความจะขยายเป็น 10 ปี
ตัวอย่างเช่น
กรณีทั่วไป
หากคุณมีกำหนดยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2566 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 และคุณไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี กรมสรรพากรจะมีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากคุณได้ภายใน 5 ปี นับจากวันที่ 31 มีนาคม 2567 คือภายในวันที่ 31 มีนาคม 2572
กรณีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
แต่หากกรมสรรพากรพบว่าคุณมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรมสรรพากรจะมีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากคุณได้ภายใน 10 ปี นับจากวันที่ 31 มีนาคม 2567 (คือภายในวันที่ 31 มีนาคม 2577)
อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "ภาษี" คลิกเลย !
Q: ภาษีย้อนหลังเยอะมาก ไม่มีเงินจ่าย
Q: ขายของหนีภาษีถ้าโดนจับจะโดนคดีอะไรบ้างครับ
รายได้ มีอะไรบ้าง บัญชี
โดยปกติแล้วหากมีรายได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้เยาว์หรือผู้ใหญ่ต้องทำการเสียภาษี ซึ่งแต่รายได้แต่ละประเภทนั้นก็มีการคิดคำนวณภาษีที่ไม่เหมือนกัน
ซึ่งรายได้ที่ต้องเสียภาษีสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
- รายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส
- รายได้จากวิชาชีพอิสระ ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการเป็นทนายความ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี
- รายได้จากธุรกิจ การประกอบการ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่านายหน้า
- รายได้จากการขายสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์หรือหลักทรัพย์
- รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าที่ดิน
- รายได้จากดอกเบี้ยต่างๆที่เกิดขึ้น ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล
- รายได้จากรางวัล เช่น ลอตเตอรี่
- เงินได้จากการได้รับมรดก
- เงินได้จากการให้เช่าลิขสิทธิ์ เช่น ค่าลิขสิทธิ์เพลง ค่าลิขสิทธิ์หนังสือ เป็นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2561
สามีภรรยาคู่หนึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้ตกลงเรื่องการแบ่งเงินกันไว้ก่อน สามียื่นภาษีโดยแจ้งว่าตัวเองได้ส่วนแบ่งมากกว่าภรรยา ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดให้แบ่งคนละครึ่ง เมื่อกรมสรรพากรตรวจพบ จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีที่คืนไปแล้วกลับคืนมา และออกหนังสือแจ้งการคืนภาษีที่ถูกต้องให้ใหม่ กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจกฎหมายภาษีและการยื่นภาษีให้ถูกต้อง
สรุป
การจ่ายภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากรนั้นเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องปฎิบัติตาม และเป็นกฎหมายที่สำคัญในการกำหนดโครงสร้างภาษีของประเทศไทย เพื่อนำภาษีรายได้เหล่านั้นไปพัฒนาประเทศในส่วนต่างๆ ควรทำความเข้าใจในประมวลกฎหมายรัษฎากรอย่างถูกต้องเพื่อให้สามารถวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ หากทุกข์ใจเกี่ยวกับภาษี ต้องการทางออกด้านกฎหมาย สามารถติดต่อทนายความผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง หรือคลิกที่ลิงค์นี้ได้เลย
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



