เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-06

ความลับทางการค้า

สงสัยกันไหมครับว่า ทำไมสูตรน้ำโค้ก สูตรไก่ทอดKFC ถึงเป็นความลับระดับโลก ที่น้อยคนมากจะรู้สูตรเหล่านั้น หรือบางร้านอาหารถึงมีเมนูแนะนำที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้ เป็นเพราะว่า "ความลับทางการค้า" นั่นเองครับ แต่ไม่ใช่ว่าข้อมูลอะไรต่างๆก็จะเป็นความลับทางการค้าได้หมด ต้องเป็นข้อมูลที่ไม่รู้จักกันทั่วไป มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อีกทั้งเจ้าของนั้นต้องพยายามอย่างเต็มที่ในการปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักความลับทางการค้ากันให้มากขึ้นกันครับ


Untitled design (30).png

ความลับทางการค้า คือ

ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่มีมูลค่าหรือคุณค่าทางเศรษฐกิจและไม่สามารถเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้ และทางผู้มีความลับทางการค้านั้นก็จะมีมาตรการต่างๆในการรักษาความลับนั้นไว้ เช่น สูตรอาหาร กระบวนการผลิต ข้อมูลลูกค้า รายชื่อซัพพลายเออร์ หรือแผนการทำการตลาด เป็นต้น

ความลับทางการค้าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำความลับนั้นไปเปิดเผย ใช้ประโยชน์ หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ


แบบไหนที่เรียกว่าละเมิดความลับทางการค้าบ้าง

ตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า มาตรา6

การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ประโยชน์ซึ่งความลับทางการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทางการค้า 

ซึ่งวิธีการที่ละเมิดความลับทางการค้ามีดังต่อไปนี้

(1) โดยการลักทรัพย์ ฉ้อโกง ขู่เข็ญ ชักจูงให้เปิดเผย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
(2) โดยการติดสินบนหรือให้ประโยชน์อื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งความลับทางการค้า
(3) โดยการใช้กลอุบายหรือวิธีการอื่นใดที่ไม่เป็นธรรม
(4) โดยการละเมิดสัญญาหรือข้อตกลงที่เกี่ยวกับการรักษาความลับทางการค้า


แบบไหนบ้างที่ไม่เรียกว่าละเมิดความลับทางการค้า

  • เจ้าของความลับทางการค้านั้นยินยอมโดยตรง
  • ได้ความลับทางการข้ามาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ หรือแหล่งข้อมูลใดๆก็ตามที่เจ้าของความลับนั้นไม่ได้มีมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาความลับ
  • สังเกต วิเคราะห์ ทดลองด้วยตนเอง 
  • การเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม
  • เปิดเผยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  • เปิดเผยความลับทางการค้าเพราะคำสั่งศาล
  • การเปิดเผยความลับทางการค้าที่หมดอายุการคุ้มครองตามกฎหมาย
  • การเปิดเผยความลับทางการค้าเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นจากอันตราย

Q: แบบนี้จะถูกฟ้องเรื่องการนำความลับบริษัทไปเผยแพร่ไหมคะ หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย !


ความลับทางการค้า คุ้มครองกี่ปี

พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ไม่ได้กำหนดระยะเวลาคุ้มครองความลับทางการค้าที่ชัดเจนไว้ แต่จะคุ้มครอง ตราบเท่าที่ข้อมูลนั้นยังคงเป็นความลับ 

การที่ข้อมูลนั้นเป็นความลับ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1.ข้อมูลนั้นไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ไม่มีการถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป

2.ข้อมูลนั้น ยังสามารถสร้างรายได้และยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของข้อมูลอยู่

3.เจ้าของข้อมูลยังมีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหล

หากไม่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ดังกล่าว การคุ้มครองก็จะหมดไปครับ

 

 


ความลับทางการค้า ต้องจดทะเบียน

พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ไม่ได้บังคับให้ต้องจดทะเบียนความลับทางการค้า เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดให้มีระบบการแจ้งข้อมูลและขอรับบริการข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งเป็นระบบ สมัครใจ ที่เจ้าของความลับทางการค้าสามารถใช้บริการได้ โดยการแจ้งข้อมูลความลับทางการค้าต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยให้มีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของและวันที่เริ่มต้นของความลับ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิ์ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น

หากไม่มั่นใจในสัญญารักษาความลับว่าถูกต้องตามหลักกฎหมายไหม สามารถให้ทนายความตรวจสอบได้ที่ลิงค์นี้ครับ !


Untitled design (32).png

ฎีกาความลับทางการค้า

ฎีกาที่ 15697/2557

ศาลพิจารณาว่าข้อมูลลูกค้าของโจทก์ไม่เป็นความลับทางการค้า เพราะเป็นข้อมูลที่หาได้ทั่วไปในสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ แม้โจทก์จะมาตรการจำกัดการเข้าถึงข้อมูล แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นความลับเนื่องจากบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ส่วนสัญญาและกลยุทธ์ทางการค้าที่โจทก์อ้างว่าเป็นความลับ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไรจึงเป็นความลับ หากเป็นความชำนาญของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ถือเป็นความลับทางการค้า ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่ละเมิดความลับทางการค้าของโจทก์


ฎีกาที่ 18121/2557

ศาลพิจารณาว่าราคาในหนังสือเสนอราคาเสื้อครุยของโจทก์ไม่เป็นความลับทางการค้า เนื่องจากโจทก์ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาความลับ เช่น ไม่มีการระบุว่าเป็นข้อมูลลับในเอกสาร และเอกสารดังกล่าวต้องผ่านหลายขั้นตอนในหน่วยงานราชการ ทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากนี้ โจทก์เป็นฝ่ายเปิดเผยข้อมูลราคาให้จำเลยทราบเอง เพื่อชักจูงให้ใช้บริการ ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า


สัญญารักษาความลับ สำหรับพนักงาน

สามารถ copy นำไปใช้ได้เลยครับ

 

สัญญารักษาความลับ

ระหว่าง

บริษัท .......................................................................................... (ชื่อบริษัท) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ .......................................................................................... ถนน .......................................................................................... แขวง/ตำบล .......................................................................................... เขต/อำเภอ .......................................................................................... จังหวัด .......................................................................................... (ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า "บริษัท")

กับ

นาย/นาง/นางสาว .......................................................................................... (ชื่อ-นามสกุล) ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เลขที่ .......................................................................................... ถนน .......................................................................................... แขวง/ตำบล .......................................................................................... เขต/อำเภอ .......................................................................................... จังหวัด .......................................................................................... (ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า "พนักงาน")

ด้วย บริษัทและพนักงานได้ตกลงทำสัญญานี้ขึ้น โดยมีข้อความดังต่อไปนี้

ข้อ 1. คำนิยาม

"ข้อมูลลับ" หมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางเทคนิค ข้อมูลทางการตลาด ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลอื่นใดที่บริษัทถือว่าเป็นความลับ และไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ

ข้อ 2. ขอบเขตของข้อมูลลับ

ข้อมูลลับที่พนักงานจะต้องรักษาความลับไว้ ได้แก่ แต่ไม่จำกัดเพียง

(1) ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัท
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับซัพพลายเออร์ของบริษัท
(4) ข้อมูลเกี่ยวกับแผนธุรกิจของบริษัท
(5) ข้อมูลเกี่ยวกับการเงินของบริษัท
(6) ข้อมูลอื่นใดที่บริษัทแจ้งให้พนักงานทราบว่าเป็นข้อมูลลับ

ข้อ 3. การรักษาความลับ

พนักงานตกลงที่จะ

(1) ไม่เปิดเผยข้อมูลลับให้แก่บุคคลใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท
(2) ไม่นำข้อมูลลับไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือประโยชน์ของบุคคลอื่น
(3) ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาข้อมูลลับ เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
(4) ส่งคืนข้อมูลลับทั้งหมดให้แก่บริษัทเมื่อสิ้นสุดการจ้างงาน

ข้อ 4. ข้อยกเว้น

ข้อกำหนดในการรักษาความลับตามสัญญานี้จะไม่ใช้บังคับในกรณีที่

(1) ข้อมูลลับนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้ว
(2) พนักงานได้รับข้อมูลลับนั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมายจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่บริษัท
(3) พนักงานถูกบังคับโดยกฎหมายให้เปิดเผยข้อมูลลับ

ข้อ 5. การบังคับใช้

หากพนักงานฝ่าฝืนข้อกำหนดในการรักษาความลับตามสัญญานี้ บริษัทมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับพนักงานได้

ข้อ 6. อายุของสัญญา

สัญญานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พนักงานเริ่มงานกับบริษัท และยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกเป็นเวลา ..... ปี นับแต่วันที่พนักงานสิ้นสุดการจ้างงานกับบริษัท

ข้อ 7. การแก้ไขเพิ่มเติม

สัญญานี้จะแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

ข้อ 8. กฎหมายที่ใช้บังคับ

สัญญานี้ให้บังคับตามกฎหมายไทย

ลงชื่อ .......................................................................................... (พนักงาน)

ลงชื่อ .......................................................................................... (บริษัท)

วันที่ ..........................................................................................

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE