เรื่องของสัญญาจ้างงาน สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้
การทำงานที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างแรงงานกับสินจ้าง จะเรียกว่าสัญญาจ้างงาน หรือสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องทราบถึงประโยชน์และข้อจำกัดของสัญญา เพื่อจะได้ไม่ทำการละเมิด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ที่ลูกจ้างพึงได้รับ
สัญญาจ้างงานคืออะไร
สัญญาจ้างงานที่อยู่ในรูปแบบสัญญาจ้างแรงงาน เป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างที่ต้องการใช้แรงงานลูกจ้าง โดยให้ผลตอบแทนเป็นสินจ้างตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ระหว่างนั้นนายจ้างสามารถสั่งการต่าง ๆ เพื่อให้งานสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ใช่ว่านายจ้างจะมีอำนาจทำได้ทุกอย่าง เพราะถ้าหากมีการละเมิด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับลูกจ้าง
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

ประเภทของสัญญาจ้างงาน
สัญญาจ้างงานมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน โดยแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ประกอบการอย่าลืมศึกษาข้อมูลก่อนเลือกทำสัญญาจ้างงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดที่พึงได้รับ
'อ่านคำปรึกษาที่เกี่ยวกับการจ้างงาน พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิก'
1. Full time
Full time หรือที่เรียกว่างานประจำ ต้องทำงานไม่ต่ำกว่า 38 ชั่วโมง และไม่เกิน 5 วัน/สัปดาห์ ถ้าทำงาน 6 วัน สัปดาห์ต่อไปต้องทำงานเพียง 4 วัน/สัปดาห์ ข้อดีของงาน Full time คือ จะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ ,วันลาป่วย ,วันหยุดพักร้อน หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับค่าชดเชยในกรณีถูกจ้างออกอีกด้วย
2. Part-time
Part-time ต้องทำงานน้อยกว่า 38 ชั่วโมง/สัปดาห์ ข้อดีคือ ได้รับสิทธิ์ลางานโดยได้รับค่าจ้าง ในกรณีถูกให้ออกจากงานได้รับค่าชดเชยเช่นเดียวกับงาน Full time ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงาน และข้อตกลงในสัญญาจ้างงานด้วย
3. Contract
Contract เป็นการทำสัญญาจ้างงานในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 เดือน ,3 เดือน ,6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น เหมาะกับผู้ประกอบการที่ทำงานเป็นโปรเจค หรือผู้ที่ไม่ชื่นชอบทำงานที่เดิมเป็นเวลานาน จะไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ข้อดีคือ มักได้รับสินจ้างที่มากกว่างานประเภทอื่น
4. Casual
Casual หรืองานชั่วคราว เป็นงานที่มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาสูง โดยเป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในกรณีถูกเลิกจ้าง นายจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า ข้อดีคือ ได้รับสิทธิ์ค่าจ้างในวันหยุด หรือถ้านายจ้างต้องการจ้างงานเพิ่มในวันหยุด ต้องจ้างไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง/กะ ไม่เช่นนั้นลูกจ้างมีสิทธิ์ปฏิเสธได้

สิ่งที่ควรตรวจสอบในสัญญาจ้างงาน
มีทั้งหมด 5 สิ่งสำคัญที่ไม่ควรพลาดในการตรวจเช็กเอกสารสัญญาจ้างงาน ได้แก่
- ตำแหน่งและความรับผิดชอบที่ได้รับ
- ค่าตอบแทน
- สวัสดิการต่าง ๆ
- เงื่อนไขและกฎบริษัท
- วัน/เดือน/ปี รวมถึงเวลาเริ่มและเลิกงาน
- จากนั้นอย่าลืมเก็บสำเนาหรือสัญญาตัวจริงไว้ 1 ฉบับ
สรุปบทความ
เห็นได้ว่าการเลือกทำสัญญาจ้างงานให้ถูกประเภทตามลักษณะของเนื้องาน มีประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย เพราะล้วนมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ที่สำคัญถึงแม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีการทำงานเกิดขึ้น ก็ถือว่าสัญญาจ้างงานได้เริ่มขึ้นแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามที่ตกลงด้วยวาจากันไว้ สามารถดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือปรึกษาทนาย ออนไลน์ ปัญหาจะถูกแก้โดยทนายมืออาชีพทันที
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



