เผยแพร่เมื่อ: 2023-10-28

ผู้กู้นำโฉนดที่ดินของพ่อตนเองไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ยืมของตนเองที่ทำสัญญากู้ยืมกับผู้ให้กู้ได้ไหม ?

กรณีนี้ทำได้ค่ะ

 เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 กำหนดไว้ว่า "ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด" กล่าวคือ แม้หนี้เงินกู้ยืมไม่เกี่ยวกับโฉนดที่ดินดังกล่าว แต่ในกรณีที่สัญญากู้ยืม

'ทำไมการกู้ยืม ต้องทำเป็นสัญญา? คลิกเลยเพื่อหาคำตอบ !'

 ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบิดาตนเองมามอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน อันถือเป็นข้อตกลงในสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำกันไว้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวจะไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้กู้ กรณีนี้จึงเป็นบุคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญา ในกรณีที่ผู้กู้ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ผู้กู้ไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวคืนจากผู้ให้กู้

การที่ผู้กู้มาหลอกลวงว่าจะเอาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปกู้ยืมเงินบุคคลอื่นคือ นาย ค. เพื่อนำเงินนั้นมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้ในวันเดียวกันนั้น จนผู้ให้กู้หลงเชื่อส่งมอบโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้กู้ไป แต่ผู้กู้กลับไม่มาชำระหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืม เป็นเหตุให้ผู้ให้กู้ได้รับความเสียหาย จะมีความผิดอาญาฐานใดบ้าง ?

'ก่อนจะกู้ยืมเงินต้องอ่าน! หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอย่างไร?'

 

เนื่องจากผู้ให้กู้ไม่มีโฉนดที่ดินเป็นหลักประกันยึดถือไว้ตามสัญญากู้ ทำให้ผู้ให้กู้ได้รับความเสียหาย การกระทำของผู้กู้จึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ผู้กู้มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท"

'กำลังกังวลใจเรื่องที่ดินใช่ไหม? ทนายความผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ดินโดยเฉพาะพร้อมช่วยเหลือคุณจนจบปัญหา ! ปรึกษาเลย !'

 สำหรับการที่ผู้กู้หลอกลวงผู้ให้กู้ว่าขอเอาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปกู้ยืมเงินกับบุคคลอื่นเพื่อนำเงินมาคืนผู้ให้กู้ แต่ผู้กู้กลับไม่นำเงินมาคืนผู้ให้กู้ตามสัญญา และไม่คืนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาผู้ให้กู้ได้พบกับบุคคลอื่น คือ ค. มาทวงหนี้ผู้กู้ที่บ้านผู้กู้ โดยนาย ค. ได้เปิดกระเป๋านำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวที่ผู้กู้เคยนำมาเป็นหลักประกันไว้กับผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้จึงรู้เเล้วว่า ผู้กู้ได้หลอกลวงผู้ให้กู้โดยเอาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้กับบุคคลอื่นคือ นาย ค. และไม่นำเงินมาคืนผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้จึงมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 กำหนดไว้ว่า "ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

'ทำความรู้จักการฉ้อโกงให้มากขึ้น! อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่องวิธีการรับมือฉ้อโกง ได้ที่นี่ คลิก!'

 ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้ให้กู้ต้องเเจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิเช่นนั้นจะถือว่าคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงเป็นอันขาดอายุความ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) กำหนดไว้ว่า "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อคดีขาดอายุความ"

*สรุปคือ กรณีนี้ผู้กู้มีความผิดในคดีอาญา 2 ข้อหาคือ มีความผิดคดีอาญา ข้อหา เอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181 และผิดข้อหาฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2836/2564*

 

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.