ภาษี (Tax) คืออะไร? ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับภาษีและการชำระภาษี
ภาษี(Tax) คืออะไร?
ภาษี(Tax) คือ เงินที่เรียกเก็บจากประชาชน และรัฐจะนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น ก่อสร้างถนน , สะพาน หรืออุดหนุนนโยบายต่างๆเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งเงินภาษีนั้นนำไปจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเพื่อให้ข้าราชการนั้นบริการประชาชนในด้านต่างๆ และใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟของสถานที่ราชการต่างๆ
ภาษีมี 2ประเภท
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภาษีทางตรง) คือ
ภาษีที่จัดเก็บบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งเจ้าของกิจการหรือธุรกิจใดก็ตามที่มีตัวเองเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยผู้ที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นต้องทำการยื่นรายการภาษีเพื่อแสดงรายได้ของปีที่ผ่านมาในช่วงระหว่างมกราคมถึงมีนาคม ในปีถัดไป
ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบ้าง ?
- บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ตามที่กำหนด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- ผู้ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
เงินได้แบบไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.เงินได้ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เช่น
- มีรายได้จากหน้าที่การงานที่ทำในประเทศไทย หรือ กิจการที่ทำในประเทศไทย
- มีทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย เช่น มีเงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าเช่าต่างๆ เงินปันผล
2.เงินได้ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศ เช่น
- มีรายได้จากหน้าที่การงานที่ทำนอกประเทศ หรือ ประกอบกิจการที่ทำนอกประเทศ
- มีทรัพย์สินอยู่นอกประเทศ
โดยผู้มีเงินได้ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้ต้องเข้าองค์ประกอบ 2ข้อ ดังต่อไปนี้
- ผู้มีเงินได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมกัน 180วัน ขึ้นไป
- ผู้มีเงินได้นั้น นำเงินได้เข้ามาภายในประเทศไทย
2.ภาษีทางอ้อม
คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคเป็นภาษีที่ผลักภาระให้ผู้ซื้อที่ทำการซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทย ภาษีทางอ้อมมี 3ประเภท ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เจอบ่อยๆ 7% นั่นเอง
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น กิจการธนาคาร , ธุรกิจเงินทุน , ธุรกิจประกันชีวิต , การรับจำนำ , การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อทำกำไร เป็นต้น
- อากรแสตมป์ ที่เราเจอเวลาทำเอกสารราชการใดๆก็ตามที่ต้องใช้อากรแสตมป์ติด เช่น ใบมอบอำนาจ เป็นต้น
ไม่ยื่นภาษีผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง ?
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90(ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ) , ภ.ง.ด.91(ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริม) หรือ 94(ชำระภาษีรอบครึ่งปี)
ผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 35 มีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
ต้องเสียเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ
ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันที่ชำระภาษี
2.ชำระภาษีไม่ทันเวลา
ต้องเสียเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
3.ชำระภาษีไม่ครบ
ต้องเสียเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ และต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
4.จงใจหลีกเลี่ยงภาษี
ผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37
ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท และมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3เดือน-7 ปี
ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
5.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/1
มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท
6.จงใจแสดงรายการเท็จหรือปกปิดความจริงเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
มีโทษจำคุกไม่เกิน 7ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คลิกเพื่อดู : บทความทางกฎหมาย, คำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความ, มาตราที่เกี่ยวข้อง เรื่อง "ภาษี"
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินเดือนเท่าไรเสียภาษี
จะคิดจากรายได้ตลอดทั้งปีที่มาจากเงินเดือน ลบด้วยค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และลบด้วยลดหย่อนส่วนตัว คนละ 60,000 บาท และสามารถลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้อีก เช่น การลงทุนในกองทุนรวม หรือ การซื้อประกันชีวิต
หากรายได้รวมแล้วเกิน 150,000 บาท จะต้องเสียภาษีตามขั้นบันได ตามตารางด้านล่างนี้
รายได้สุทธิ | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 150,000 บาท | ไม่ต้องเสียภาษี |
ตั้งแต่ 150,001 บาท - 300,000 บาท | 5% |
ตั้งแต่ 300,001 บาท - 500,000 บาท | 10% |
ตั้งแต่ 500,001 บาท - 750,000 บาท | 15% |
ตั้งแต่ 750,001 บาท - 1,000,000 บาท | 20% |
ตั้งแต่ 1,000,001 บาท - 2,000,000 บาท | 25% |
ตั้งแต่ 2,000,001 บาท - 5,000,000 บาท | 30% |
ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% |
คลิกเพื่ออ่าน : คำปรึกษาจริงเรื่อง "ภาษี" พร้อมคำตอบจากทนายความผู้เชี่ยวชาญ
Q: สอบถามครับ เคยเปิดร้านอาหารตอนนี้ปิดไปแล้ว ยังต้องเสียภาษีป้ายอยู่หรือป่าวครับ
Q: ภาษีย้อนหลังเยอะมาก ไม่มีเงินจ่าย
Q: ทำงานบัญชีปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยื่นภาษีผิดพลาด
เกร็ดความรู้กับ Legardy : กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง
กรมสรรพสามิตนั้นมีการเก็บภาษีจากสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าทำลายสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ปี พ.ศ.2560 กำหนดว่า สินค้าและบริการที่ต้องดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ได้แก่
- น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
- เครื่องดื่ม
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- แบตเตอรี่
- แก้วและเครื่องแก้ว
- รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
- รถจักรยานยนต์
- เริอยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
- น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
- พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น(เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
- หินอ่อนและหินแกรนิต
- สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศ ได้แก่ สารเคมีประเภทไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีน ฟลูออรีนหรือโบรมีนเป็นองค์ประกอบ หรือฮาโลเจเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน
- สุรา
- ยาสูบ
- ไพ่
- กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ได้แก่ สถานมหรสพ สถานที่ฉายภาพยนตร์ ไนต์คลับ สถานน้ำหรืออบตัวและนวด เป็นต้น
- กิจการเสี่ยงโชค เช่นสนามแข่งม้า การออกสลากกินแบ่ง เป็นต้น
- กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐ ได้แก่ กิจการโทรคมนาคม
สรุป
หากเรามีรายได้เกิดขึ้นและถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ให้เราทำการชำระภาษีให้ครบถ้วนนะครับ สมัยนี้มีการจ่ายภาษีออนไลน์แล้ว ตามเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ สามารถยื่นแบบแสดงรายได้และสแกนจ่ายผ่านMobile Banking ได้เลย อย่าหนีภาษีหรือยื่นแบบรายได้ที่ไม่เป็นความจริง เพราะว่าโทษปรับนั้นหนักกว่าภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆหากมีการตรวจพบ ได้ไม่คุ้มเสียครับ หากมีปัญหาทางกฎหมายด้าน ภาษี อย่าลังเลที่จะปรึกษาทนายความ เพื่อหาทางออกด้านกฎหมาย หรือคลิกที่ลิงค์นี้ !
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



