อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม คืออะไร แล้วต่างกันอย่างไร?
หลายๆคนที่เคยดูข่าวคงจะได้ยินคำนี้บ่อยๆรวมหัวกันเป็น “อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม” แต่จริงๆแล้วรู้หรือไม่ว่า อั้งยี่กับซ่องโจรนั้นมีควายหมายคนละแบบกัน และมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ต่างกัน บทความนี้ Legardy จะพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับ อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม กันครับ
อั้งยี่ คือ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา209
อั้งยี่ คือ การรวมกลุ่มตั้งแต่สองคนขึ้นไปรวมตัวกันเป็นสมาคมหรือองค์กร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกระทำความผิดทางอาญา หรือมีเจตนาที่ตั้งใจจะกระทำความผิดและการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่น การก่อการร้าย การค้าสิ่งผิดกฎหมาย หรือการทำร้ายทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น
สำหรับควาผิดฐานอั้งยี่นั้นถึงแม้จะไม่ได้กระทำความผิด แต่ถ้ามีการตกลงกันแล้วว่าจะทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็จะมีความผิดฐานเป็นอั้งยี่ครับ อีกทั้งถ้าได้กระทำความผิดใดๆไปแล้ว ก็จะผิดตามความผิดฐานที่ทำ + ฐานอั้งยี่
โทษสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกอั้งยี่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7ปี และปรับไม่เกิน 140,000บาท
โทษสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือหัวโจกของอั้งยี่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท
Q: ผู้เกี่ยวข้องกับอั้งยี่หรือซ่องโจรประเภทใด ที่ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้หระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร
Q: ปรึกษาคดีร่วมกันฟอกเงินเป็นอั้งยี่บัญชีม้า
ซ่องโจร คือ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา210
ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่ออ่านตัวมาตราเสร็จแล้ว ให้พิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้ครับ หากครบองค์ประกอบถือว่าผิดฐานซ่องโจร
1.มีการร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 5คน ขึ้นไป
2.มีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน้ ภาค2 ของประมวลกฎหมายอาญา และความผิดนั้นต้องมีอัตราโทษจำคุกสูงสุดตั้งแต่ 1ปีขึ้นไป
ตัวอย่างความผิดในภาค 2 ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
- ฆ่าคนตายโดยเจตนา (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288)
- ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัส (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297)
- ข่มขืนกระทำชำเรา (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276)
- ลักทรัพย์ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334)
- ปล้นทรัพย์ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339)
ถึงแม้ว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวยังไม่ได้เริ่มที่จะกระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้ ก็ถือว่ามีความผิดฐานเป็นซ่องโจรแล้ว อีกทั้งหากมีการกระทำความผิดแล้วต้องรับโทษในฐานที่กระทำผิด + ความผิดฐานซ่องโจรอีกด้วยครับ
ผู้กระทำความผิดฐานซ่องโจรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มั่วสุม
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 ความผิดฐานมั่วสุมเพื่อก่อความวุ่นวาย
ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดของการมั่วสุม
1.จำนวนคน : รวมกลุ่มตั้งแต่10 คนขึ้นไป
2.การนัดหมาย : ไม่จำเป็นต้องมีการนัดหมายหรือตกลงกันล่วงหน้า
3.จุดประสงค์ : เพื่อทำร้ายผู้อื่น ข่มขู่ว่าจะทำร้าย ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น หรือการกระทำใดๆก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ความไม่ปลอดภัย หรือความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือเสรีภาพของประชาชน หรือต่อความมั่นคงของรัฐ
ตัวอย่างการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานมั่วสุม
- การรวมกลุ่มกันปิดถนน ประท้วง ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ
- การรวมกลุ่มกันก่อจลาจล ปล้นสะดม ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
- การรวมกลุ่มกันข่มขู่ คุกคามผู้อื่น หรือหน่วยงานของรัฐ
- การรวมกลุ่มกันเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม ต่างกันอย่างไร?
อั้งยี่ | ซ่องโจร | มั่วสุม | |
จำนวนคน | อย่างน้อย 2คนขึ้นไปและมีหัวหน้า | อย่างน้อย 5คน และมีหัวหน้า | 10คนขึ้นไปและไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้า |
เจตนา | ทำผิดกฎหมายอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายอาญา เป็นต้น | ทำผิดประมวลกฎหมายอาญา ภาค2 เท่านั้น | กระทำเพื่อให้บ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือทรัพย์สิน |
ความผิดสำเร็จ | เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกอั้งยี่ | มีการสมคบคิดกัน | เมื่อมีการกระทำตามเจตนา |
ฎีกาอั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม
ฎีกาที่ 3279/2554 (อั้งยี่)
จำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะประกอบกิจการบริษัท อ. ในอาคารที่เกิดเหตุอย่างแท้จริง การนำชื่อของบริษัทที่เป็นสำนักงานทนายความไปติดตั้งไว้ที่อาคารด้านหน้าโดยต่อมามีการเช่าอาคารส่วนกลางและด้านหลังเพื่อการเล่นไพ่บาการาจึงมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเป็นเพียงการบังหน้าเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเกรงกลัวและไม่กล้าเข้าไปค้น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่บาการาในอาคารที่เกิดเหตุโดยนำชื่อบริษัทซึ่งเป็นสำนักงานทนายความและชมรมมาบังหน้าเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันมาแต่ต้น ย่อมเรียกได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานอั้งยี่
คำพิพากษาฎีกาที่ 3880/2556 (ซ่องโจร)
ความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของแผน ฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจร เป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่มีการสมคบวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตามจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อต่อมาจำเลยกับพวกวางแผนการอย่างใดๆ เพื่อก่อความไม่สงบร่วมกันดักซุ่มยิงทหารชุดคุ้มครองครูจึงเป็นเจตนาอีกอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังแยกออกจากกัน การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้และฐานใช้อาวุธปืนพยายามฆ่าเจ้าพนักงานจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2535 (มั่วสุม)
การมั่วสุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ผู้มั่วสุมไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นความผิดแล้ว และผู้ที่มามั่วสุมก็ไม่จำต้องรู้จักหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดการวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งให้จำเลยกับพวกเลิกการมั่วสุมภายหลังที่มีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 แล้ว แม้จำเลยทุกคนไม่เลิกการกระทำของจำเลยทุกคนก็คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เท่านั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา 216 ด้วย
สรุป
การรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจุดประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม กฎหมายไทยจึงกำหนดความผิดเกี่ยวกับการรวมกลุ่มที่มุ่งหมายในการกระทำความผิด หรือสร้างความวุ่นวายไว้ ได้แก่ อั้งยี่ ซ่องโจร และมั่วสุม แม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสามความผิดนี้ก็มีองค์ประกอบและบทลงโทษที่แตกต่างกันไป
หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว