ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ต้องรับโทษอะไรบ้าง
เพราะว่าคนเราเกิดมาทุกคนนั้นย่อมมีสิทธิไม่ว่าจะเป็นสิทธิในชีวิต สิทธิความเป็นส่วนตัวต่างๆ และบุคคลอื่นนั้นไม่สามารถทำการละเมิดสิทธิที่เรามีได้ บุคคลที่ทำการละเมิดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย แต่รู้หรือไม่ว่าสิทธิที่เรามีนั้นมีอะไรบ้าง และคนที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลต้องรับโทษอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบครับ
ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คืออะไร?
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลคือ การกระทำใดๆก็ตามที่อีกฝ่ายไม่อนุญาต หรือการทำโดยพลการที่อีกฝ่ายไม่รับรู้และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลผู้โดนละเมิด ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายทางด้านร่างกายหรือทรัพย์สิน
สิทธิความเป็นส่วนตัวมีอะไรบ้าง
1.สิทธิในชีวิตและร่างกาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28
บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายการจับและการคุมขัง การค้นตัวบุคคลจะกระทํามิได้ รวมถึงสิทธิที่จะมีอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น การแต่งกาย การเลือกคู่ครอง การมีบุตร การรักษาพยาบาล เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่น
2.สิทธิความเป็นส่วนตัว
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 32
สิทธิที่จะมีชีวิตส่วนตัวที่เป็นอิสระจากการสอดส่อง แทรกแซง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงสิทธิที่จะมีอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น การแต่งกาย การเลือกคู่ครอง การมีบุตร การรักษาพยาบาล อีกทั้งบุคคลย่อมมีสิทธิที่จะมีความเป็นส่วนตัว มีเกียรติ มีชื่อเสียงที่ดี และมีครอบครัวที่อบอุ่น ห้ามใครมาละเมิดหรือทำให้สิทธิเหล่านี้เสียหาย รวมถึงการเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ และต้องทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น
3.สิทธิในทรัพย์สินและการสืบทอดมรดก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 37
รัฐจะยึดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของเราไม่ได้ ยกเว้นมีกฎหมายให้อำนาจรัฐทำได้ และต้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น เช่น สร้างถนน สร้างโรงพยาบาล หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ และรัฐต้องจ่ายค่าชดเชยที่เป็นธรรมให้เราด้วย โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบที่เราได้รับ รวมถึงประโยชน์ที่เราอาจได้จากการถูกยึดทรัพย์นั้น
4.สิทธิของบุคคลและชุมชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 41
สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐ เราสามารถขอข้อมูลหรือข่าวสารที่รัฐมีอยู่ได้ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลการใช้งบประมาณ ข้อมูลโครงการต่างๆ ของรัฐ เพื่อให้เราตรวจสอบการทำงานของรัฐได้
สิทธิในการร้องเรียน ถ้าเราเดือดร้อนหรือไม่พอใจการทำงานของรัฐ เราสามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานนั้นๆ ได้ และรัฐมีหน้าที่ต้องแจ้งผลให้เราทราบโดยเร็ว ไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบหาย
สิทธิในการฟ้องรัฐ ถ้าข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐ ทำให้เราเดือดร้อนเสียหายจากการทำงานหรือไม่ทำงาน เราสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานรัฐนั้นได้ เพื่อให้รัฐรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
5.สิทธิของผู้บริโภคที่ต้องได้รับการคุ้มครอง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 46
ประชาชนมีสิทธิรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภค เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคด้วยกัน
องค์กรผู้บริโภคสามารถรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรใหญ่ที่เป็นอิสระ เพื่อเพิ่มพลังในการปกป้องสิทธิผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งในเรื่องการจัดตั้ง การเป็นตัวแทนผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงิน
กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในประเทศไทยมีหลากหลายฉบับ ครอบคลุมทั้งในรัฐธรรมนูญ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายเฉพาะด้านอื่นๆ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โทษสำหรับผู้ที่ละเมิดสิทธิเหล่านั้น ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอย่างกว้างขวาง เช่น
- สิทธิในชีวิตและร่างกาย (มาตรา 27) คุ้มครองสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการถูกฆ่าหรือทำร้ายร่างกายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงคุ้มครองจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
- เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (มาตรา 34) คุ้มครองสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ โดยชอบด้วยกฎหมาย
- เสรีภาพในการนับถือศาสนา (มาตรา 36) คุ้มครองสิทธิในการเลือกนับถือศาสนา ปฏิบัติตามศาสนา และเปลี่ยนศาสนา
- สิทธิในทรัพย์สิน (มาตรา 37) คุ้มครองสิทธิในการมีทรัพย์สินและการสืบทอดมรดก
- สิทธิในความเป็นส่วนตัว (มาตรา 38) คุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว รวมถึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม (มาตรา 39) คุ้มครองสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง จากลิงค์นี้ได้เลยครับ !
2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์:
หมวด 5 ละเมิด (มาตรา 420-448)
กำหนดความรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นๆ
ลักษณะ 2 บุคคล (มาตรา 27-41)
กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น สิทธิในชื่อเสียงและเกียรติยศ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล
3. ประมวลกฎหมายอาญา กำหนดบทลงโทษสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดอาญา ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย เช่น
- ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ฆ่าผู้อื่น ทำร้ายร่างกาย ทำให้เสียทรัพย์
- ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ กักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขืนใจผู้อื่น หมิ่นประมาท ดูหมิ่นผู้อื่น
- ความผิดเกี่ยวกับเพศ ข่มขืนกระทำชำเราอนาจาร กระทำอนาจารแก่บุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปี
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน โดยกำหนดให้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเหมาะสม
5. กฎหมายอื่นๆ
- พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 คุ้มครองสิทธิของบุคคลไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลในโลกออนไลน์
- พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 คุ้มครองบุคคลจากการค้ามนุษย์
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 คุ้มครองบุคคลจากการทรมานและการบังคับให้สูญหาย
ซึ่งการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โทษนั้นจะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับว่าทำความผิดตามมตราไหนครับ
สรุป
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้นไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม บุคคลที่ทำการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลต้องรับโทษตามกฎหมาย จะหนักจะเบาขึ้นอยู่กับข้อหาในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลครับ หากมีข้อสงสัยทางด้านกฎหมาย สามารถปรึกษาทนายความผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว