เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-01

คดีพรากผู้เยาว์ แม้เด็กเต็มใจก็ติดคุก

จากประเด็นข่าวร้อนที่ผ่านมา ขอหยิบยกเรื่องข้อกฎหมายในคดีพรากผู้เยาว์มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ คอยเตือนใจไม่ให้หลงกระทำความผิด


พรากผู้เยาว์คืออะไร

พรากผู้เยาว์ คือ การทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต่อผู้เยาว์ถูกกระทบกระเทือน เป็นการพาหรือแยกผู้เยาว์ออกมา โดยที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลไม่ยินยอม ซึ่งมีความผิดทางกฎหมายอาญา ไม่สามารถยอมความได้ ถึงแม้ว่าผู้เยาว์จะยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม

'อ่านบทความอื่นๆเรื่องผู้เยาว์จากทนายความได้ที่นี่'


พรากผู้เยาว์มีความผิดอย่างไร

พรากผู้เยาว์มีความผิดทางกฎหมายอาญา โดยผู้เยาว์ไม่จำเป็นต้องยื่นฟ้องด้วยตัวเอง ทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันที ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 - 319 ซึ่งมีบทลงโทษหนัก-เบาต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรานั้น ๆ

'ต้องการคำปรึกษาจากทนายความที่เชี่ยวชาญด้านคดีเยาวชน? คลิก!'


7.ประเภทของความผิดฐานพรากผู้เยาว์.png

ประเภทของความผิดฐานพรากผู้เยาว์

สำหรับประเภทของความผิดฐานพรากผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน โดยอิงจากอายุและการยินยอมของตัวผู้เยาว์ ดังต่อไปนี้

1. ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี

เข้าข่ายฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี จากการปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 บาท แต่ถ้าพรากผู้เยาว์เพื่อจุดประสงค์ในการทำอนาจาร หรือหาผลกำไร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท

2. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ไม่ยินยอม

เข้าข่ายฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี จากการปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยที่ผู้เยาว์ไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-200,000 บาท

3. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ยินยอม

เข้าข่ายฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี จากการปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยที่ผู้เยาว์ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-100,000 บาท

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 


คดีพรากผู้เยาว์ หากเด็กยินยอมก็ติดคุกเหมือนเดิม

7.คดีพรากผู้เยาว์ หากเด็กยินยอมก็ติดคุกเหมือนเดิม.png

ไม่ว่าจะเป็นคดีพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 317 318 หรือ 319 ทั้งที่ผู้เยาว์ยินยอมหรือไม่ยินยอม ผู้กระทำความผิดล้วนต้องได้รับบทลงโทษจำคุกและเสียค่าปรับตามความร้ายแรงของมาตรานั้น ๆ ที่สำคัญเป็นข้อกฎหมายอาญา ไม่สามารถยอมความได้

'อ่านคำปรึกษาเกี่ยวกับคดีผู้เยาว์พร้อมคำตอบจากทนายความ คลิก'


สรุปบทความ 

ถึงแม้ผู้กระทำความผิดจะอ้างว่าผู้เยาว์ยินยอม แต่ก็ไม่อาจพ้นข้อกฎหมายเหล่านี้ได้ ดังนั้นการยับยั้งชั่งใจไม่กระทำความผิด เป็นหน้าที่ของทุกคนที่พึงกระทำ เหตุผลที่ว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่สามารถใช้ได้กับคดีพรากผู้เยาว์ ถ้าอยากสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถทดลองปรึกษาทนาย ออนไลน์ฟรี ได้ที่ Legardy แพลตฟอร์มกฎหมายออนไลน์ ที่รวมทนายมากด้วยประสบการณ์ เลือกปรึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะทุกปัญหา กฎหมายช่วยหาทางออกได้เสมอ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.