1.png
เผยแพร่เมื่อ: 2024-05-22

พรากผู้เยาว์ คืออะไร?

การพรากผู้เยาว์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งกรณีที่ผู้เยาว์เป็นผู้เสียหายหรือผู้เยาว์เป็นคนกระทำผิดเอง บทความนี้ Legardyจะอธิบายเกี่ยวกับการพรากผู้เยาว์ ความหมาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการไกล่เกลี่ยเรื่องพรากผู้เยาว์


ความหมายของการพรากผู้เยาว์

การพรากผู้เยาว์หมายถึงการนำพาเด็กหรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีออกจากการดูแลของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยไม่ได้รับความยินยอม  ทำให้อำนาจการปกครองของผู้ปกครองได้รับผลกระทบโดยบิดามารดาไม่รับรู้หรือรู้เห็นด้วย  การกระทำนี้อาจมีจุดประสงค์เพื่อการล่วงละเมิดทางเพศ,การบังคับใช้แรงงาน หรือการแสวงหาผลประโยชน์อื่น ๆ ก็ได้

3.png

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนคำว่า “พราก” ในทางกฎหมายคืออะไร?

จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2554 ได้พิพากษาว่า "พราก" หมายความว่า การพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลของผู้ปกครอง จะกระทำวิธีการใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด โดยไม่ต้องใช้กำลังหรือขู่เข็ญ แม้จะชักจูงแนะนำก็ได้ให้ไปด้วย โดยมิให้หลอกลวงและเต็มใจเกินไปก็เป็นความผิด

อ่านบทความเรื่อง "พรากผู้เยาว์" แบบเชิงลึกได้ที่นี่ ! คลิกเลย


กฎหมายพรากผู้เยาว์ที่เกี่ยวข้อง

การพรากผู้เยาว์ถือเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งการพรากผู้เยาว์มีความผิดและโทษตามมาตรา317 มาตรา318 และ มาตรา319 

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา317

ผู้ใดพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา318

ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา319 

ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุมากกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา321/1

ในกรณีที่ผู้พรากเด็กที่มีอายุไม่เกิน 13 ปี กฎหมายห้ามไม่ให้ผู้กระทำอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธความรับผิด


Legardy ได้สรุป คดีพรากผู้เยาว์ ในรูปแบบตารางเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย

อ่านคำปรึกษาจริงพร้อมคำตอบจากทนายความเรื่อง "พรากผู้เยาว์" คลิกเลย

Q: เรื่องพรากผู้เยาว์

Q: อายุ 17 กับ 19 พรากผู้เยาว์ไหมคะ

Q: เพื่อนโดนแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์

Q: พรากผู้เยาว์อายุมากกว่า15แต่น้อยกว่า18


พรากผู้เยาว์ อายุความกี่ปี

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ระบุว่า ความผิดที่มีโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป จะมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น การพรากผู้เยาว์จะมีอายุความ 10 ปีนับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ

2.png

คดีพรากผู้เยาว์ยอมความได้ไหม?

คดีพรากผู้เยาว์ถือเป็นคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ แม้ว่าผู้เสียหายหรือครอบครัวของผู้เยาว์ไม่ต้องการดำเนินคดีแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรืออัยการ ก็สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ แล้วทำไมถึงยอมความไม่ได้ ทางกฎหมายได้คิดถึงผู้เยาว์เพราะการพรากผู้เยาว์นั้นเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อผู้เยาว์ อีกทั้งการยอมความหรือไม่ต้องการดำเนินคดีนั้นอาจทำให้ผู้กระทำผิด กระทำผิดซ้ำและไม่ได้สำนึกต่อการกระทำของตนและอาจกระทำผิดซ้ำได้ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว

 

 

คดีพรากผู้เยาว์ประกันตัวได้ไหม?

ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมในข้อหาพรากผู้เยาว์ สามารถขอประกันตัวได้ตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยศาลท่านจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ความรุนแรงของการกระทำนั้นหากมีการทำร้ายร่างกายร่วมด้วยอาจส่งผลต่อการพิจารณาประกันตัว ความเสี่ยงในการหลบหนีคดีหากผู้ต้องหาไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือมีประวัติการหลบหนีก็มีโอกาสได้รับการประกันตัวที่น้อยลง และประวัติการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหากมีคดีอาญาอื่นๆที่อยู่ระหว่างการพิจารณาหรือมีประวัติการกระทำผิดซ้ำซากก็ส่งผลต่อการพิจารณาประกันตัวเหมือนกัน แต่ทั้งนี้การประกันตัวเป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาสามารถขอได้ แต่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าประกันตัวได้หรือประกันตัวไม่ได้


หากกำลังประสบปัญหา พรากผู้เยาว์ มีหน่วยงานพร้อมช่วยเหลือ ได้แก่

1.สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 

พม. ช่วยในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกพรากผู้เยาว์ โดยมีการให้บริการที่ปรึกษาและการฟื้นฟูจิตใจแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

2.กรมสุขภาพจิต

กรมสุขภาพจิตให้บริการด้านจิตวิทยาและการบำบัดแก่ผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกพราก การฟื้นฟูจิตใจจะช่วยให้ผู้เยาว์กลับมามีสุขภาพจิตที่ดีได้อีกครั้ง

3.มูลนิธิที่เกี่ยวข้อง

มีมูลนิธิหลายแห่งที่ทำงานด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เช่น มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเพื่อเด็กและเยาวชน ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการคุ้มครองและการฟื้นฟูสภาพจิตใจ


บทสรุป

การพรากผู้เยาว์เป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมากต่อสังคมและผู้เยาว์ การรู้เท่าทันและการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรร่วมมือกัน กฎหมายที่เข้มงวดและการให้ความรู้แก่ประชาชนจะช่วยลดปัญหานี้ได้ การให้ความช่วยเหลือและการดูแลผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจะช่วยให้พวกเขากลับมามีชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง หากกำลังประสบปัญหาทางด้านกฎหมายอยู่ การปรึกษาทนายเพื่อช่วยหาทางออก สามารถปรึกษาทนายผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมง

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.