สัญญาจ้างทำของ เรื่องสำคัญที่คนทำงานต้องรู้
รู้หรือไม่? การจ้างทำของโดยปากเปล่า หากไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ซึ่งจะต่างกับสัญญาจ้างทั่วไปที่มักต้องทำสัญญาเป็นเอกสารให้ชัดเจน แต่เพื่อความไม่ประมาท หากจ้างหรือรับงานทำของเป็นจำนวนมาก แนะนำให้ทำสัญญาจ้างทำของไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
สัญญาจ้างทำของคืออะไร
สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาที่มีการตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยที่ผู้รับจ้างตกลงจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ทั้งนี้สามารถอยู่ในรูปแบบทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น จ้างวาดรูป ,จ้างต่อเติมบ้าน ,จ้างแสดงหนัง หรือจ้างว่าความโดยทนายความของLegardy เป็นต้น เมื่อแล้วเสร็จผู้รับจ้างจะได้รับเป็นค่าตอบแทน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสินจ้าง ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ
ลักษณะของสัญญาจ้างทำของ ประกอบไปด้วย 3 สาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
เป็นการทำสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยถ้าผลงานสำเร็จลุล่วง จะได้รับสินจ้างเป็นเงิน ,สิ่งของแลกเปลี่ยน ,ทรัพย์สิน หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย
2. เป็นสัญญาเน้นผลความสำเร็จของการทำงาน
เป็นสัญญาที่เน้นผลความสำเร็จของการทำงาน กล่าวคือ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ต้องการแรงงานของผู้รับจ้าง เพียงแค่ผลงานสำเร็จเท่านั้น ไม่ต้องรับภาระเรื่องอื่น ๆ เช่น ค่าเดินทาง ,ความปลอดภัย ,สัมภาระ หรืออุปกรณ์ในการทำงาน รวมทั้งผู้รับจ้างก็มีอิสระในการทำงานเช่นกัน ไม่มีการกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน หรือต้องรับคำสั่งใด ๆ
3. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
สัญญาจ้างทำของ เป็นสัญญาที่ไม่มีรูปแบบตายตัว กล่าวคือ สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือตกลงด้วยวาจาก็ทำได้ หากผิดสัญญามีผลต่อการฟ้องร้องบังคับคดีเช่นกัน
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
สัญญาจ้างทำของ แตกต่างจากสัญญาจ้างทั่วไปอย่างไร
สัญญาทั้งสองมีความแตกต่าง 6 ข้อหลัก ๆ ได้แก่
- วิธีการทำสัญญาจ้างทำของ จะคำนึงถึงผลสำเร็จของผลงานเป็นหลัก ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป จะคำนึงถึงการทำงานให้ครบตามเวลา
- สินจ้างที่ได้รับสัญญาจ้างทำของ จะได้รับสินจ้างเมื่อผลงานแล้วเสร็จ ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป จะได้รับเป็นรายชั่วโมง รายวัน หรือรายเดือน
- คุณสมบัติของผู้รับจ้างสัญญาจ้างทำของ จะเป็นใครก็ได้เพียงให้งานสำเร็จ ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป จะเน้นผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เหมาะกับเนื้องานนั้น ๆ
- อำนาจผู้ว่าจ้างสัญญาจ้างทำของ ไม่มีอำนาจบังคับหรือสั่งการใด ๆ ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป มีอำนาจบังคับและสั่งการได้ตลอดเวลา
- เครื่องใช้สัมภาระสัญญาจ้างทำของ ผู้รับจ้างจัดหามาเอง ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป ผู้ว่าจ้างจัดหาให้
- ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกสัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง ส่วนสัญญาจ้างทั่วไป ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องรับผิดร่วมกัน
สรุปบทความ
ก่อนเลือกจ้างงานหรือรับงาน อย่าลืมระบุรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจน เพราะความคุ้มครองทางกฎหมายของสัญญาจ้างทำของและสัญญาจ้างทั่วไป มีความแตกต่างกัน หรือถ้าพบว่าถูกเอาเปรียบไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือฝ่ายผู้รับจ้าง สามารถเลือกปรึกษาทนาย ออนไลน์ แต่ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อยากขอคำแนะนำเบื้องต้น ก็สามารถใช้บริการทดลองปรึกษาทนายฟรีตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ Legardy
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



