เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-05

ทำความรู้จัก การบังคับคดีคืออะไร? แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประชาชนคนไทยทุกคน หากเกิดการฟ้องร้อง สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ที่ศาล หลังจากรับผลคำตัดสินจากศาลเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายที่ผิดย่อมต้องได้รับบทลงโทษตามคำสั่งศาล ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตาม จะนำไปสู่การบังคับคดี สำหรับบทความนี้ Legardy จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า ‘การบังคับคดี’ มีไว้เพื่ออะไร ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย


การบังคับคดีคืออะไร?

2 การบังคับคดีคืออะไร.png

การบังคับคดี คือ คำตัดสินหรือคำสั่งของศาลที่สั่งบังคับให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โดยจะกำหนดวิธีปฏิบัติ กำหนดระยะเวลา รวมทั้งเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้นั้นต้องถูกยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และจำขังในที่สุด


การบังคับคดีมีกี่ประเภท

การบังคับคดีประกอบไปด้วย 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

1.) การยึดทรัพย์สิน 

2.) การอายัดทรัพย์สิน

3.) การขายทอดตลาด 

4.) การบังคับขับไล่หรือรื้อถอน 

5.) การกระทำอื่น ๆ เช่น การห้ามหรือการปิดชั่วคราว แต่สำหรับบทความนี้จะมาเจาะลึกเฉพาะการบังคับคดี 2 ประเภทแรกเท่านั้น

- การยึดทรัพย์สิน

การยึดทรัพย์สิน คือ การเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาดูแลภายใต้เจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยศาล จากนั้นนำทรัพย์สินเหล่านั้นมาดำเนินการตามกฎหมาย 

ทรัพย์ที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้สามารถดูได้จากที่นี่

- การอายัดทรัพย์สิน

การอายัดทรัพย์สิน คือ การเอาทรัพย์สินในรูปแบบของเงิน ซึ่งไม่ใช่เป็นเงินในการครอบครองของลูกหนี้ แต่เป็นการสั่งให้บุคคลภายนอกที่ต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ เปลี่ยนมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน, เงินรายวัน, เงินโบนัส หรือเงินโอทีต่าง ๆ เป็นต้น  หากโดนอายัดทรัพย์ควรทำตามวิธีนี้


การบังคับคดีเกิดขึ้นได้อย่างไร?

การบังคับคดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเข้าข่ายหนึ่งในสองกรณี ดังนี้ 

1.) เมื่อศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นที่เรียบร้อบแล้ว โดยฝ่ายแพ้คดีไม่ได้รับการทุเลาบังคับคดีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นสูง 

2.) เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สำหรับกรณีนี้ต้องพิจารณารวมไปถึงการกำหนดระยะเวลาที่คู่ความจะสามารถยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาได้ด้วย แต่ถ้าหากพ้นระยะไปแล้วไม่มีการยื่นเพิ่มใด ๆ ก็จะถือว่าคดีถึงที่สุด เข้าสู่กระบวนการบังคับคดีในลำดับต่อไป เมื่อได้รับหนังสือบังคับคดีแล้ว แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร สามารถดูได้ที่นี่

 


การดำเนินการบังคับคดี

3 การดำเนินการบังคับคดี.png

การดำเนินการบังคับคดี จะเริ่มต้นหลังจากได้รับคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น จากนั้นเจ้าหนี้รอการดำเนินการให้ศาลออกหมายแจ้งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ภายใน 30 วัน หากครบกำหนดลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลดำเนินการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา  แต่หากไม่สามารถชำระหนี้ได้สามารถทำตามวิธีนี้

อ่านมากกว่า 30 คำปรึกษาจริง ในเรื่องการบังคับคดี

Q: ถ้าโดนบังคับคดีอยู่ จะสามารถเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ได้ไหมครับ

Q: คู่สมรสกำลังโดนเจ้าหนีฟ้องบังคับคดี

Q: โจทย์บังคับคดียึดทรัพย์แล้ว ทางโจทย์ยังมีสิทธิ์ตามยึดรถได้ไหมครับ

Q: ถูกบังคับคดี


สรุปบทความ

กฎหมายช่วยให้คนหมู่มากในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข โดยเคารพกฎกติกา ในกรณีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หากศาลมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ฝ่ายแพ้จำเป็นต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้น จะเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี เพื่อชดใช้หนี้ที่ก่อไว้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ ถ้าต้องการยื่นคำร้องสามารถเลือกดูทนาย เรายินดีให้คำแนะนำ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

 

Your Blog Title
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.