1  ทำความรู้จักกฎหมาย PDPA คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง.png
เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-08

ทำความรู้จักกฎหมาย PDPA คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

ปัจจุบันการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ บางครั้งเพียงคลิกเดียว คนอื่นก็อาจเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ทำให้เกิดกฎหมายใหม่อย่าง PDPA ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับอะไร? ครอบคลุมการคุ้มครองอะไรบ้าง? และมีบทลงโทษสำหรับผู้ละเมิดกฎหมายข้อนี้อย่างไร? ปรึกษาทนาย ออนไลน์ พร้อมไขข้อข้องใจไปพร้อมกับคุณ


2   กฎหมาย PDPA คืออะไร.png

กฎหมาย PDPA คืออะไร?

กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ กฎหมายที่ถูกสร้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลโทรศัพท์มือถือ ,อีเมลล์ ,ไอดีไลน์ ,รูปภาพ ,บัญชีธนาคาร ,เว็บไซต์ส่วนตัว หรือการเข้าถึงข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอม ทั้งในรูปแบบกระดาษ ,เอกสาร ,หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบการล่อลวงโฆษณา ซึ่งกฎหมาย PDPA เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !


องค์ประกอบของกฎหมาย PDPA

องค์ประกอบของกฎหมาย PDPA มี 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 1.) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้ให้ข้อมูล 2.) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นผู้ดูแลข้อมูล โดยทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของไปใช้งาน

 


3  กฎหมาย PDPA มีความสำคัญอย่างไร.png

กฎหมาย PDPA มีความสำคัญอย่างไร?

กฎหมาย PDPA ให้ความสำคัญกับสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุด กล่าวคือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะยินยอมหรือปฏิเสธการให้ข้อมูลกับผู้อื่นได้ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งในกรณีที่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้ว แต่ต้องการปฏิเสธในการเก็บข้อมูลก่อนหน้านี้ ก็ย่อมทำได้ นอกจากนั้นยังสามารถขอให้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหน้านั้นได้อีกด้วย


กฎหมาย PDPA คุ้มครองอะไรบ้าง

สำหรับกฎหมาย PDPA คุ้มครองครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจบ่งบอกถึงเจ้าของข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ได้แก่ 

1.) ชื่อ นามสกุล 

2.) น้ำหนัก ส่วนสูง 

3.) เลขประจำตัวประชาชน/เลขบัตรประกันสังคม/เลขหนังสือเดินทาง/เลขใบอนุญาตขับขี่/เบอร์โทรศัพท์ 

4.) อีเมลล์/ไอดีไลน์/เว็บไซต์ 

5.) รหัสผ่าน/ลายนิ้วมือ 

6.) ตำแหน่ง GPS 

7.) ศาสนา/เชื้อชาติ 

8.) พฤติกรรมทางเพศ 

9.) ความพิการ 

10.) ข้อมูลสุขภาพ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เข้าข่ายเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด

'ดูคำตอบจากทนายความเรื่องการละเมิดPDPA ได้ที่นี่'


ทำผิดกฎหมาย PDPA มีโทษอะไรบ้าง?

บทลงโทษของกฎหมาย PDPA จะเป็นโทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

1.) โทษทางแพ่ง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับจำนวนค่าเสียหาย หรือมากกว่า 2 เท่าของจำนวนค่าเสียหาย 

2.) โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือเสียค่าปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

3.) โทษทางปกครอง เสียค่าปรับตั้งแต่ 1 ล้านบาท ไม่เกิน 5 ล้านบาท ในกรณีจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ ได้รับโทษทางแพ่งและโทษทางอาญาเพิ่มเติมด้วย


สรุปบทความ

เนื่องจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสร้างผลกระทบร้ายแรงให้แก่เจ้าของข้อมูลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้รู้สึกหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา การที่กฎหมาย PDPA ถูกสร้างขึ้นมา ก็เพื่อคุ้มครองข้อมูลของทุกคนให้ปลอดภัย และป้องกันผู้ที่นำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ในทางที่ผิด หากพบว่ามีการละเมิดข้อกฎหมาย PDPA จะสามารถดำเนินคดีเอาผิดสูงสุดได้ทันที หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.