กฎหมายเกี่ยวกับการลักทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 วางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์”
'ของหายอยากได้คืน! ทนายจากLegardyพร้อมช่วยเหลือคุณจนจบปัญหา ปรึกษาเลย คลิก!'
กล่าวคือ จะผิดฐานลักทรัพย์ได้ต่อเมื่อ
1.เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ ก็คือทรัพย์ที่ไม่ใช่ของตัวผู้กระทำความผิด เอาไปเสียจากความครอบครองของผู้เป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้เอาไปไม่มีสิทธิในทรัพย์นั้น
2.ทรัพย์ที่เอาไปต้องเป็น “สังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่ อสังหาริมทรัพย์ ต้องเป็นทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่พาไปได้ แม้พาทรัพย์เคลื่อนที่ไปเล็กน้อยก็เป็นความผิดเช่น ขโมยปากกาใน 7-Eleven เอาใส่กระเป๋าเสื้อ กำลังจะเดินออกจากร้านไม่ทันไร มีคนเห็นซะก่อนก็ผิดสำเร็จแล้วเพราะได้พาทรัพย์เคลื่อนที่จากจุดที่ทรัพย์ (ปากกา) อยู่แล้ว แต่ถ้าทรัพย์ยังไม่ได้เคลื่อนที่เช่น จะขโมยกระบือต้องปลดโซ่ออกก่อน หรือจะขโมยมะม่วงบนต้นมะม่วง กำลังเอาขวานฟันกิ่งไม้เพื่อสอยมะม่วงแต่คนเห็นก่อน อย่างนี้ก็ผิดเพียงพยายามลักทรัพย์
3.ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์ แต่ถ้าเอาไปเพราะความคุ้นเคย เข้าใจว่าเค้ายินยอมให้ทรัพย์ไปก็ไม่ผิด
'รับชมทนายความที่เชี่ยวชาญเรื่อง "ลักทรัพย์" ได้ที่ลิงค์นี้ คลิกเลย!'
4.เป็นการเอาไปแล้วเอาไปเลย ในลักษณะแย่งการครอบครองและตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของเดิม กล่าวคือ เอาทรัพย์ของเค้าให้มาเป็นทรัพย์ของเรา นั่นเอง ไม่ใช่เอาทรัพย์เค้ามาเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น เช่น ไปเอาหนังสือของเค้ามาไม่ใช่มาเป็นของเรา แต่เผาไฟหรือฉีกทิ้ง ก็ผิดเพียงฐานทำให้เสียทรัพย์ นอกจากนี้ หากเพียงเอาทรัพย์เค้าไปชั่วคราวจะเอามาคืนก็ไม่ผิดลักทรัพย์ เช่น ก.เห็นจักรยาน ข.ตั้งอยู่ ก.รีบจึงขี่จักรยานของ ข.ไปโดยไม่บอก ข. โดยตั้งใจจะมาคืนวันหลัง ก.ไม่ผิดฐานลักจักรยานของ ข.
5.ต้องมีเจตนาพิเศษ “โดยทุจริต” เพราะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง
'อ่าน กว่า70คำปรึกษาจริง เรื่อง "ลักทรัพย์" พร้อมคำตอบจากทนายความได้ที่นี่ คลิก !'
Q: โดนแจ้งความข้อหาลักทรัพย์ ทางฝั่งจะเอาเรื่องถึงที่สุด
Q: ปรึกษาเรื่องคดีอาญาลักทรัพย์