สรุปมาให้แล้ว เจ้าหนี้ยึดทรัพย์แบบไหนได้บ้าง
หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่ระบุในสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถเข้ายึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ทันที จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิหรือไม่มีสิทธิยึดทรัพย์ประเภทไหนบ้าง บทความนี้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว

การยึดทรัพย์คืออะไร?
การยึดทรัพย์ คือ การบังคับเอาทรัพย์สินที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของตามคำพิพากษา โดยอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อนำทรัพย์สินเหล่านั้นมาชำระหนี้ ให้บรรลุตามคำพิพากษา แต่ใช่ว่าทรัพย์สินทุกอย่างที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของ เจ้าหนี้จะยึดได้ทั้งหมด ทรัพย์สินไหนที่สามารถยึดได้ และทรัพย์สินไหนที่เป็นข้อยกเว้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย
'อ่านคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องหนี้พร้อมคำตอบจากทนายผู้เชี่ยวชาญเรื่องทรัพย์ คลิก'
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์อะไรได้บ้าง?
ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้ มีดังนี้
1.) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ทั้งที่ติดจำนองและไม่ติดจำนอง เช่น ที่ดิน บ้าน สิ่งปลูกสร้าง
2.) ยานพาหนะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์
3.) สิ่งของที่มีมูลค่ารวมกันเกิน 100,000 บาท เช่น สร้อยคอทองคำ ของสะสม นาฬิกา เครื่องเพชร
4.) ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า เสื้อผ้า
ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !
ข้อยกเว้นในการยึดทรัพย์
ทรัพย์สินที่เป็นข้อยกเว้นในการยึดทรัพย์ มีดังนี้
1.) ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท
2.) ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่ใช้เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ
3.) เครื่องมือประกอบอาชีพ/สิ่งของที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
4.) ตัวช่วยที่ใช้แทนอวัยวะ เช่น ขาเทียม แขนเทียม

การอายัดทรัพย์คืออะไร?
การอายัดทรัพย์ คือ การบังคับคดีกับทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเรียกร้องเป็นเงิน ซึ่งเป็นการสั่งให้บุคคลภายนอกไม่ชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน
เจ้าหนี้อายัดทรัพย์อะไรได้บ้าง?
ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถอายัดทรัพย์ได้ มีดังนี้
1.) รายได้ประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ที่มากกว่า 20,000 บาท อายัดได้ไม่เกิน 30%
2.) เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
3.) เงินค่าตำแหน่ง ในกรณีสังกัดเอกชน
4.) เงินตอบแทนในกรณีออกจากงาน จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของพนักงานบังคับคดี แต่ส่วนใหญ่จะอายัดไม่เกิน 300,000 บาท
5.) เงินค่าตอบแทนงานชั่วคราว อายัดได้ไม่เกิน 30%
6.) เงินฝากในบัญชีและเงินปันผลจากการลงทุนหุ้น
7.) เงินค่าตอบแทนตามสัญญาจ้าง
8.) ค่าเช่าทรัพย์สิน หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
กรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ทายาทต้องรับผิดชอบหนี้ที่เหลือไหม?
ขอบเขตความรับผิดชอบของทายาทในการชำระหนี้แทน จะต้องไม่เกินมูลค่าที่ทายาทได้รับมรดก หากเกินกว่านั้นทายาทไม่ต้องชำระหนี้ในส่วนที่เกิน หรือในกรณีที่ทายาทไม่ได้รับมรดก ก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใช้หนี้แทนใด ๆ
สรุปบทความ
ไม่ว่าจะเป็นการยึดทรัพย์ หรืออายัดทรัพย์ ล้วนต้องดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่าย เจ้าหนี้และลูกหนี้ ทางที่ดี หากเป็นหนี้ก็ควรชำระตามที่ตกลงกันไว้ จะได้ไม่ต้องผิดใจกัน หรือเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาล และสำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ ไม่ว่าจะในฐานะเจ้าหนี้ หรือลูกค้า สามารถปรึกษาทนาย ออนไลน์เพื่อสอบถามข้อกฎหมายเบื้องต้น หรือจ้างทนายทวงหนี้กับเราได้ที่ แพลตฟอร์มกฎหมาย ออนไลน์ ให้กฎหมายช่วยหาทางออกให้กับคุณ หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



