ไขข้อสงสัย ผู้จัดการมรดกคือใคร
หากจะพูดกันถึงเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง หรือมรดก ก็ต้องบอกเลยว่าแต่ละบ้านนั้นมีแตกต่างกันออกไป บางบ้านมีมากในขณะที่บางบ้านมีน้อย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมรดกที่มีจะมากหรือน้อยแต่หากว่ามีคนที่เป็นเจ้าของมรดกก็จำเป็นที่จะต้องหาผู้จัดการมรดกมาทำหน้าที่แทนต่อไปในวันข้างหน้าหากเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้กันมากนัก ในบทความนี้จึงจะมาช่วยอธิบายให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น
ทำความรู้จักกับผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก หลายคนอาจคิดว่าต้องเป็นทายาทเท่านั้น แต่ความจริงคือไม่จำเป็นต้องเป็นญาติก็สามารถเป็นได้เช่นกัน หรือกล่าวได้ว่าจะเป็นใครก็ได้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกขึ้นมา ซึ่งผู้ที่ทำได้ก็คือทายาทโดยชอบธรรมของผู้ที่เป็นเจ้าของมรดก เช่น ผู้สืบสันดาน,พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน, บิดา, มารดา หรือคู่สมรส ที่ผ่านการจดทะเบียนสมรสแล้ว
'รู้จักผู้จัดการมรดกให้มากขึ้น! คลิกเลย'
นอกจากนี้หากว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว ก็จะต้องให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมได้ระบุเอาไว้ แต่ทั้งนี้ศาลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาตามที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมก็ได้เช่นกัน โดยอาจจะตั้งทายาทหรือว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เหมาะสมกว่ามาเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้เช่นกัน รวมถึงผู้ที่แต่งตั้งขึ้นมาก็ไม่จำเป็นต้องมีแค่คนเดียวด้วย สามารถตั้งได้เลยหลายคนตามความเหมาะสม เว้นแต่ในพินัยกรรมจะมีการระบุเหตุผลไว้
'ฟังชัดๆ! จากทนายความ พินัยกรรมมีกี่รูปแบบและสามารถทำแบบไหนได้บ้าง? คลิกเลย!'
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
มาถึงในส่วนคุณสมบัติของผู้จัดการมรดกกันบ้าง โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ ได้แก่
- จะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์
- จะต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
- จะต้องไม่เป็นคนล้มละลาย
'อ่านมากกว่า 180 คำปรึกษาจริงเรื่องมรดก คลิก'
Q: อยากทราบเรื่องแบ่งมรดกของผู้ตายค่ะ
Q: เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินที่ได้จากมรดกได้หรือเปล่าครับ
Q: จะฟ้องผู้จัดการมรดกต้องเริ่มต้นยังไงบ้าง
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
สำหรับหน้าที่ของผู้จัดการมรดกก็คือ การรวบรวม แบ่งปันทรัพย์สิน และทำบัญชี ซึ่งก็จะเป็นมรดกของผู้ตายที่ให้ทายาทหรือผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นผู้ทำหน้าที่ แต่ทั้งนี้ที่สำคัญเลยคือ การที่จะสามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นต้องมีคำสั่งจากศาลเป็นผู้แต่งตั้งให้
ผู้จัดการมรดกจะมีสิทธิในการทำหน้าที่ที่จำเป็น เพื่อที่จะช่วยให้สามารถจัดการมรดกทั่วไปได้ อีกทั้งยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกที่จะแบ่งให้กับทายาทโดยชอบธรรม หรือให้กับผู้ที่ได้รับพินัยกรรม รวมถึงจะต้องจัดการในส่วนของการชำระหนี้สินให้กับเจ้าหนี้ของเจ้าของมรดกด้วย
'กำลังทุกข์ใจเรื่องแบ่งมรดกใช่ไหม? คลิกที่นี่เพื่อรับชมทนายความที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมรดก!'
อย่างไรก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, มาตรา 1728 และมาตรา 1729 ระบุไว้ว่า หากทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกมีการละเลยและไม่ทำตามหน้าที่ของตนเอง เช่น การปิดบังมรดกต่อทายาท หรือการเบียดบังมรดกเป็นของตนเอง ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถที่จะร้องขอต่อศาลให้ทำการเพิกถอนผู้จัดการมรดกที่ไม่ทำหน้าที่ได้
บุคคลใดไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก
สำหรับหน้าที่ผู้จัดการมรดกนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ โดยจะมีบุคคลที่ตามกฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนเลยว่าไม่สามารถรับหน้าที่ได้ ซึ่งก็ได้แก่บุคคลต่อไปนี้
1. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ คือ ผู้เยาว์ โดยผู้เยาว์จะเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ยังมีความอ่อนทั้งในด้านร่างกาย, ความคิด และสติปัญญา อีกทั้งผู้เยาว์ยังไม่สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเองตามลำพัง เนื่องจากขาดความชำนาญ และความรู้ หากปล่อยให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมด้วยตนเองก็อาจจะส่งผลกระทบ หรือโดนเอาเปรียบได้
2. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย คือ คนธรรมดาที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว และหนี้ที่มีไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยบุคคลประเภทนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลขอให้ล้มละลาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะต้องนำไปสู่การที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ และจะพิพากษาให้ลูกหนี้กลายเป็นบุคคลล้มละลายนั่นเอง
3. บุคคลวิกลจริต
บุคคลวิกลจริต คือ ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ หรืออาจจะมีอาการร้ายแรงถึงขั้นไม่สามารถตัดสินใจ และแยกถูกผิดโดยใช้เหตุผลเหมือนคนปกติได้เลย นอกจากนั้นก็อาจจะมีอาการหลงลืม พูดเป็นคำที่ไร้ความหมาย หรือไม่สามารถดูแลตัวเองรวมถึงทรัพย์สินของตัวเองได้
'บุคคลวิกลจริต ในทางกฎหมายสามารถทำอะไรได้บ้าง?'
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คงจะช่วยทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้นแล้วว่า ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวม จัดทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินที่เป็นมรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาลเท่านั้น หากบุคคลใดไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลายหรือวิกลจริตก็ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้นั่นเอง สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาปรึกษาทนายความ LEGARDY เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมทนายความไว้ให้บริการปรึกษากฎหมายมืออาชีพกว่า 500 คน ปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ปรึกษาทนายตัวจริง
สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย
"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว
สมัครเป็นทนายออนไลน์
แพล็ทฟอร์มรวบรวม
งานกฎหมายจากทั่วประเทศ



