เผยแพร่เมื่อ: 2024-02-04

ผู้ประกอบการต้องรู้ ทำงานล่วงเวลา ทำงานวันหยุด ต้องจ่ายค่าจ้างยังไง

แม้ผู้ประกอบการจะอยู่ในฐานะผู้ว่าจ้าง หรือที่เรียกว่า ‘นายจ้าง’ สามารถออกคำสั่งกับผู้ถูกจ้าง หรือที่เรียกว่า ‘ลูกจ้าง’ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งในช่วงเวลาทำงานได้ แต่ถ้าหากต้องการให้ลูกจ้างทำงานนอกเหนือเวลาที่กฎหมายแรงงานกำหนด เช่น ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด เจ้านายจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายละเมิดกฎหมายแรงงาน และไม่ว่าใครที่กำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้ สามารถขอคำปรึกษาทนาย ออนไลน์ เพื่อหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

'อ่านคำถามและคำตอบจากทนายความเรื่องOT ได้ที่นี่'


2   กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา.png

กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา

โดยปกติเวลาทำงานของลูกจ้างต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และภายในสัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ควรรู้ข้อกฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

1.) ในปีที่หนึ่ง ลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

2.) ในปีที่สอง ลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

3.) ในปีที่สามและปีต่อ ๆ ไป ลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ต้องการค้นหาด้านกฎหมายใช่ไหม ? สามารถค้นหาบทความ, คำปรึกษาจริง, มาตราที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ !

 


3  การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าจ้างทำงานในวันหยุด.png

การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าจ้างทำงานในวันหยุด

การจ่ายค่าจ้างทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างทำงานในวันหยุด สำหรับลูกจ้างรายเดือนและรายวัน จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่นายจ้างควรทราบ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีค่าจ้างรายเดือน

สำหรับลูกจ้างรายเดือน ชั่วโมงทำงานที่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน จะได้รับเงินเพิ่มตามอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงที่ควรได้รับ

2. ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน

สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน แต่รับเป็นรายสัปดาห์ หรือรายวัน ชั่วโมงทำงานที่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน จะได้รับเงินเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งจากอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง

3. การทำงานในวันหยุด

กรณีทำงานในวันหยุด จะได้รับเงินเพิ่มไม่น้อยกว่าสามเท่าจากอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง


OT คืออะไร

Overtime หรือ OT คือ การคำนวณค่าตอบแทนที่ลูกจ้างพึงได้รับจากการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ หรือทำงานในช่วงวันหยุด ซึ่งนายจ้างจำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้าง เพื่อทำ OT ในช่วงเวลาดังกล่าว

'อ่านบทความอื่นๆเขียนโดยทนายความเกี่ยวกับเรื่องแรงงานได้ที่นี่'

วิธีคิดโอทีตามกฎหมายแรงงาน

วิธีคิดโอทีตามกฎหมายแรงงานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1.) ลูกจ้างรายเดือน ยกตัวอย่างเช่น ทำโอทีไป 3 ชั่วโมงต่อเดือน วิธีคำนวณค่าโอที คือ (เงินเดือน/30 วัน/ชั่วโมงทำงานต่อวัน) x 1 x จำนวนชั่วโมงทำโอที = (15,000/30/8) x 1 x 3 ค่าโอทีที่ได้รับเพิ่ม คือ 187.5 บาท 2.) ลูกจ้างรายวัน ยกตัวอย่างเช่น ทำโอทีไป 4 ชั่วโมงต่อวัน วิธีคำนวณค่าโอที คือ (ค่าจ้างรายวัน/ชั่วโมงทำงานต่อวัน) x 1.5 x จำนวนชั่วโมงทำโอที) = (500/8) x 1.5 x 4 ค่าโอทีที่ได้รับเพิ่ม คือ 375 บาท 3.) ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ทำโอทีไป 5 ชั่วโมงต่อวัน วิธีคำนวณค่าโอที คือ (ค่าจ้างต่อวัน/ชั่วโมงทำงานต่อวัน) x 3 x จำนวนชั่วโมงทำโอที = (500/8) x 3 x 5 ค่าโอทีที่ได้รับเพิ่ม คือ 937.5 บาท


สรุปบทความ

ในฐานะลูกจ้างที่ลงแรงกาย แรงใจไปกับการทำงานในแต่ละวัน ย่อมต้องการได้รับผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล ในทางกลับกันฐานะนายจ้างที่ได้ใช้แรงงานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็อย่าลืมจ่ายค่าจ้างทำงานล่วงเวลาตามกฎหมายแรงงานให้ถูกต้อง เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จไปด้วยกัน หากกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับแรงงานอยู่ ปรึกษาทนายที่เชี่ยวชาญด้านแรงงานได้ที่นี่

หากมีข้อสงสัยต้องการปรึกษาทนายความเพื่อหาทางออกกฎหมาย สามารถติดต่อผ่าน Legardy ได้ตลอด 24ชั่วโมงครับ

ปรึกษาทนายตัวจริง

สอบถามได้ทุกเรื่องราวทางกฎหมาย

"โดนโกง โดนประจาน" ปรึกษาได้ในคลิกเดียว

ทนายพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.
4.8/5
รีวิวจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 16000 รีวิว
sanook ข่าวสด มติชน spring
cta
ปรึกษาทนาย 24 ชั่วโมง
“ ได้รับคำตอบทันที ! “
ติดต่อเราทาง LINE