คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3668/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 132, 150, 174 (2)

จำเลยได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ยังขาดมาวางศาลตามคำสั่งของศาลชั้นต้นก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรแสดงว่ากำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้ทราบโดยชอบแล้วจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195, 218 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 15, 22 (5) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่า 6 หมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา จำเลยฎีกาว่าศาลลงโทษปรับจำเลยหนักเกินควร เป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองที่ให้ปรับอีกวันละ 500 บาทนั้น เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับวันละ250 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับวันละ 500 บาท แม้จำเลย มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3676/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 10, 12, 13

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อพ.ศ.2523โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่30/2529กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายในพ.ศ.2530และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่สอ.912/2529แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบฯเพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามากซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าวดังนี้หนังสือที่สอ.912/2529เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงหากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริงโจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายในพ.ศ.2530ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่30/2529นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตามก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใดเพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึงพ.ศ.2530หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบฯตามหนังสือที่สอ.912/2529ไม่เป็นความจริงโจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่30/2530อยู่ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3666/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 204, 206, 224, 448, 882 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, 183

คู่ความแถลงร่วมกันขอสละประเด็นข้อต่อสู้ทั้งหมดขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ส่วนค่าเสียหายยอมรับกันแต่เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดจำเลยจะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรกหรือไม่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะวินิจฉัยและต้องฟังว่าคดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่แถลงรับกันไว้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดโจทก์จะขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดไม่ได้ทั้งตามฟ้องไม่ปรากฏวันผิดนัดแน่นอนโจทก์จึงควรได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3648/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5, 69, 144, 145, 153, 845

โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่1สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่1จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญาการที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ก็เนื่องจากบริษัทน.และจำเลยที่1ตกลงเลิกสัญญากันไม่ทำให้จำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่าจำเลยที่1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่1ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่นหรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3647/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1304, 1336, 1429 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 172

การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม เมื่อถนนพิพาทที่โจทก์ทั้งสองสร้างในที่ดินของผู้อื่นตกอยู่ในภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในถนนดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทส่วนการที่โจทก์ที่2ได้ซื้อที่ดินที่สร้างถนนพิพาทส่วนที่ติดถนนใหญ่มาในภายหลังนั้นเมื่อปรากฏว่าถนนพิพาทดังกล่าวได้มีประชาชนใช้เดินผ่านสู่ถนนใหญ่ตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงเวลาที่ซื้อเกินกว่าสิบปีโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้ามอันทำให้ฟังได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนพิพาทดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาถนนพิพาทเป็นของตนและไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1304 ประมวลกฎหมายอาญา ม. 362

จำเลยทำหนังสืออุทิศที่ดินของจำเลยให้ทางราชการเพื่อให้ทำถนนและคลองส่งน้ำแม้มิได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ถือได้ว่าเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา1304การอุทิศที่ดินของจำเลยมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3651/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนักครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลงต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควรกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(4)ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3631/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 (3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน3วันและขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วยหาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1916/2527) ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้วส.กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้างส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123(3)หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา123อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3630/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52, 123

ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่าการกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงจึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไปกรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้งๆที่ไม่ได้ป่วยจำนวน3วันแล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ว.ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงานนอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ว.หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากันหากวันนัดไม่ตรงกันผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ว.และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี2526-2527มีจำนวน68ครั้งเป็นเวลา310ชั่วโมงเศษและในปี2527-2528มีจำนวน82ครั้งเป็นเวลา390ชั่วโมงเศษซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123แล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.

« »
ติดต่อเราทาง LINE