คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3647/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1304, 1336, 1429 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 172

การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม เมื่อถนนพิพาทที่โจทก์ทั้งสองสร้างในที่ดินของผู้อื่นตกอยู่ในภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในถนนดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทส่วนการที่โจทก์ที่2ได้ซื้อที่ดินที่สร้างถนนพิพาทส่วนที่ติดถนนใหญ่มาในภายหลังนั้นเมื่อปรากฏว่าถนนพิพาทดังกล่าวได้มีประชาชนใช้เดินผ่านสู่ถนนใหญ่ตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงเวลาที่ซื้อเกินกว่าสิบปีโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้ามอันทำให้ฟังได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนพิพาทดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาถนนพิพาทเป็นของตนและไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1304 ประมวลกฎหมายอาญา ม. 362

จำเลยทำหนังสืออุทิศที่ดินของจำเลยให้ทางราชการเพื่อให้ทำถนนและคลองส่งน้ำแม้มิได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ถือได้ว่าเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา1304การอุทิศที่ดินของจำเลยมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3651/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนักครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลงต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควรกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(4)ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3631/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 (3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน3วันและขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วยหาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1916/2527) ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้วส.กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้างส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123(3)หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา123อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3630/2529

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 52, 123

ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่าการกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงจึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไปกรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้งๆที่ไม่ได้ป่วยจำนวน3วันแล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ว.ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงานนอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ว.หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากันหากวันนัดไม่ตรงกันผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ว.และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี2526-2527มีจำนวน68ครั้งเป็นเวลา310ชั่วโมงเศษและในปี2527-2528มีจำนวน82ครั้งเป็นเวลา390ชั่วโมงเศษซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123แล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3629/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 204, 224, 580 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. ,

ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปีเมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้วถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมาและในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน3ปีแล้วโจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2526ไปแล้วส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่2พฤศจิกายน2526โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527จำนวน6วันให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ45 ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน2526และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2พฤศจิกายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้องเมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 247

คู่ความฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่4กุมภาพันธ์2528ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่4มีนาคม2528เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาวันที่6มีนาคม2528จึงขาดอายุฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57 (2), 60 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 801

ตามคำให้การของจำเลยที่3ได้ระบุชื่อจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3โดยธ.ผู้รับมอบอำนาจและธ.ลงชื่อในคำให้การว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ส่วนหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การมีข้อความระบุว่าจำเลยที่3ขอมอบอำนาจให้ธ.กระทำกิจการแทนจนเสร็จสิ้นแม้ในคำให้การข้อ1จะใช้คำว่าเข้าเป็นจำเลยที่3แทนผู้มอบอำนาจในคดีนี้ก็มีความหมายเพียงให้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจเท่านั้นนอกจากนี้ที่หนังสือมอบอำนาจได้ระบุกิจการบางอย่างซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60บัญญัติห้ามไว้ก็เป็นเพียงทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำกิจการบางอย่างเท่านั้นหาเป็นผลทำให้หนังสือมอบอำนาจเสียไปทั้งหมดไม่การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3050/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1727, 1728, 1729 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 188

บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727ให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยทำเป็นคำร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นหมายความว่าผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมนั่นเองส่วนปัญหาที่ว่าการจัดการมรดกรายนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่และผู้ร้องไม่มีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3618/2529

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 90, 91, 94, 95, 101

โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแต่จำเลยที่2อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่2ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตามย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา91ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้นเป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานและกรณีตามมาตรา94ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา91มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกันส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา91และ94มาใช้ไม่ได้กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง6สถานคือไล่ออกปลดออกให้ออกลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือนและภาคทัณฑ์ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัยส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชามิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต่างกับการภาคทัณฑ์จึงไม่ใช่โทษทางวินัยการที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บนแม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา95วรรคสองไม่เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรงมิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวและไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา101(1). (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1677-1678/2526และ2471/2527)

« »
ติดต่อเราทาง LINE