คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3480/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368, 456
ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่าจำเลยจะขายโรงสีให้โจทก์และต่อมามีข้อความว่าและที่ที่ตั้งโรงสีด้วยยาวประมาณ13วาเศษกว้าง11วาเศษทิศเหนือมีทางออกถนน4วาด้วยเห็นได้ว่าเป็นการตกลงจะซื้อตัวโรงสีทั้งที่ดินที่ตั้งโรงสีและมีทางเข้าออกโรงสีด้วย สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วยผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่งส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขายที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้วผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 5, 119, 420, 421
ก่อนทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผุ้นำมาขอแลกว่าหมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนมีพิรุธว่าเป็นของปลอมหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถแม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียนกรมตำรวจก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนจำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตจำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3483/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 368, 369, 537, 546, 552, 587, 608 ประมวลรัษฎากร ม. 77, 78,
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันกรณีที่จะเป้นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537,546และ552ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยมซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนแต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพังและคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปมีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วยคู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถหรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วแม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่าและเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่าหรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3479/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1025, 1068, 1070 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 7, 8, 9, 14, 89
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3475/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 349, 491, 653
ทำสัญญากู้เงินกันแล้วตกลงเปลี่ยนสัญญานั้นเป็นสัญญาขายฝากเรือนเป็นการทำสัญญษเปลี่ยนสิ่งของซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ทำให้หนี้เงินกู้เป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 1304, 1382
การที่โจทก์ยอมให้ที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นถนนซอยในที่ดินโฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะสำหรับประชาชนสัญจรไปมาจนจำเลยร่วมได้เข้าไปทำถนนและสร้างท่อระบายน้ำให้ประชาชนได้ใช้สัญจรไปมาติดต่อกันนานกว่า10ปีแสดงว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินของโจทก์ส่วนที่เป็นถนนซอยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาที่ดินส่วนนั้นกลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ เมื่อที่ดินส่วนที่เป็นถนนซอยของโจทก์ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยขุดเอาที่ดินใต้ท่อระบายน้ำเดิมในที่ดินส่วนนั้นออกเพื่อวางท่อระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้นจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3135/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1360, 1361, 1368, 1375, 1381 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145, 288
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยร่วมกันจำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปขายโดยโจทก์ไม่ยินยอมจำเลยคงมีสิทธิขายได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้นการที่จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจึงมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของจำเลยส่วนของโจทก์ยังคงมีอยู่ตามเดิม ผู้ร้องเข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทก่อนจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องนั้นเป็นการเข้าครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ยถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์จำเลยส่วนหลังจากจำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ร้องได้สิทธิเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้นที่ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงย่อมถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมมิใช่เป็นการแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375มาใช้บังคับไม่ได้ ผู้ร้องขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ดีเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทก็ดีไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมได้รู้เห็นในการกระทำดังกล่าวด้วยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ผู้ร้องจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องขอแบ่งจากจำเลยคำพิพากษาที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินที่พิพาทให้โจทก์จึงไม่มีผลบังคับเอากับผู้ร้องโจทก์จึงจะยึดที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าของรวมคือโจทก์กับผู้ร้องมาขายทอดตลาดไม่ได้เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งจากผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3471/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 8, 420, 425, 443, 487, 867, 1461, 1564 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177, 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3470/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 352, 353 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 39 (2), 158 (5), 218
คดียักยอกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดเป็นกรรมเดียวโดยระบุไว้ว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนตามฟ้องตั้งแต่วันใดถึงวันใดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไปอันเป็นการชัดเจนพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไปในระหว่างวันที่โจทก์ได้ระบุไว้ในคำฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเป็นหลายกระทงความผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับแต่ละครั้งจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใดคำฟ้องของโจทก์เป็นการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว จำเลยฎีกาว่าคดีนี้เหตุเกิดที่สำนักงานของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งจำเลยที่2ก็มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและโจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนการที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงชลบุรีจึงเป็นการฟ้องผิดเขตอำนาจศาลเช่นนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218 เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าจำเลยที่1ตกลงจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ขาดไปเท่านั้นไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ตกลงเลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญากับจำเลยที่1แต่ประการใดข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงตกลงที่ชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่งเท่านั้นมิใช่เป็นการยอมความอันมีผลให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ADMIN 3468/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 352 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 193 ทวิ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิได้เข้าเกี่ยวข้องกับการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรแต่องค์การตลาดเพื่อการเกษตรเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกและชำระราคาเองโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกที่รับซื้อโจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยอ้างเป็นข้อกฎหมายว่าตามคำฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับองค์การรตลาดเพื่อการเกษตรและพยานโจทก์ก็เบิกความว่าจำเลยเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปขายแล้วยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไปศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้เข้าร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรรับซื้อข้าวเปลือกหรือไม่ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเป็นการมุ่งประสงค์ที่จะไม่ให้ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนเพื่อที่จะให้ศาลฟังว่าโจทก์ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกพิพาทอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมาย.