คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2543
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195, 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก,91 รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 20 วัน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลควรจะยกฟ้องโจทก์ทั้ง 159 กรรม มิใช่เพียง59 กรรม ด้วยเหตุผล 6 ประการ ตามฎีกาของจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันหรือไม่ โดยจำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานที่ไม่มีเอกสารเป็นการไม่ชอบ ก็เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์ข้อ 3 ถึงข้อ 7,ข้อ 9 ถึงข้อ 17, ข้อ 19, ข้อ 21 ถึงข้อ 30, ข้อ 32, ข้อ 34, ข้อ 35, ข้อ 38 ถึงข้อ 40, ข้อ 42, ข้อ 44 ถึงข้อ 48, ข้อ 50, ข้อ 51, ข้อ 53 ถึงข้อ 57, ข้อ 59,ข้อ 64, ข้อ 66 ข้อ 67, ข้อ 69, ข้อ 71 ถึงข้อ 76, ข้อ 81 ถึงข้อ 85, ข้อ 87,ข้อ 90, ข้อ 92, ข้อ 94 ข้อ 95, ข้อ 98, ข้อ 100 ถึงข้อ 105, ข้อ 108 ถึงข้อ 111,ข้อ 113, ข้อ 114, ข้อ 117, ข้อ 118, ข้อ 120, ข้อ 122 ถึงข้อ 124, ข้อ 127,ข้อ 129, ข้อ 132 ถึงข้อ 134, ข้อ 137 ถึงข้อ 139, ข้อ 141, ข้อ 143 ถึงข้อ 146,ข้อ 149, ข้อ 151, ข้อ 153 ถึงข้อ 159 ฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก เป็นความผิดหลายกรรม รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องโจทก์ข้อ 4ครั้งที่ 3 ถึงครั้งที่ 7, ครั้งที่ 9 ถึงครั้งที่ 17, ครั้งที่ 19, ครั้งที่ 21, ถึงครั้งที่ 30,ครั้งที่ 32, ครั้งที่ 34, ครั้งที่ 35, ครั้งที่ 38 ถึงครั้งที่ 40, ครั้งที่ 42, ครั้งที่ 44ถึงครั้งที่ 48, ครั้งที่ 50, ครั้งที่ 51, ครั้งที่ 53 ถึงครั้งที่ 57, ครั้งที่ 59, ครั้งที่ 64,ครั้งที่ 66, ครั้งที่ 67, ครั้งที่ 69, ครั้งที่ 71 ถึงครั้งที่ 76, ครั้งที่ 81 ถึงครั้งที่ 85,ครั้งที่ 87, ครั้งที่ 90, ครั้งที่ 92 ครั้งที่ 94, ครั้งที่ 95, ครั้งที่ 98, ครั้งที่ 100 ถึงครั้งที่ 105, ครั้งที่ 108 ถึงครั้งที่ 111, ครั้งที่ 113, ครั้งที่ 114, ครั้งที่ 117,ครั้งที่ 118, ครั้งที่ 120, ครั้งที่ 122 ถึงครั้งที่ 124, ครั้งที่ 127, ครั้งที่ 129,ครั้งที่ 132 ถึงครั้งที่ 134, ครั้งที่ 137 ถึงครั้งที่ 139, ครั้งที่ 141, ครั้งที่ 143ถึงครั้งที่ 146, ครั้งที่ 149, ครั้งที่ 151 ครั้งที่ 153 ถึงครั้งที่ 159 ฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน ลดโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ20 วัน รวมเป็นโทษจำคุกจำเลย 2,120 วัน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก, 91 รวม106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 20 วัน จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลควรจะยกฟ้องโจทก์ทั้ง 159 กรรม มิใช่เพียง 59 กรรม ด้วยเหตุผล 6 ประการ ตามฎีกาของจำเลยข้อ 2.4 ก. ถึง จ. นั้น ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันหรือไม่ โดยจำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานที่ไม่มีเอกสารเป็นการไม่ชอบ เห็นว่า ฎีกาของจำเลยในปัญหานี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฉะนั้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาจำเลย
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ชื่อคู่ความ โจทก์ - บริษัท พีแอนด์เจ(ประเทศไทย) จำกัด จำเลย - นาง เบญจวรรณ ศักดิ์เกียรติบุตร
ชื่อองค์คณะ สุมิตร สุภาดุลย์ ชวลิต ธรรมฤาชุ สมชัย เกษชุมพล
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan