คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115 - 3126/2563
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 34, 52
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกนัดหยุดงานโดยชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 แต่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวในการนัดหยุดงานนั้น ย่อมมีสิทธิใช้สอยพื้นที่ของตน รวมทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปร่วมชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 แม้ว่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการนัดหยุดงานโดยชอบก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 หรือมีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ออกจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 รวมทั้งรื้อถอนเต็นท์ เคลื่อนย้ายรถยนต์ สุขาเคลื่อนที่ พร้อมสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกไป แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ใช้พื้นที่ของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการจงใจทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงานของโจทก์ที่ 2 โดยนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและรถยนต์สุขาเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นทำการชุมนุมปราศรัยห่างจากโรงงานของโจทก์ที่ 2 ประมาณ 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับโรงงานของโจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 และลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในโรงงานได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้เครื่องขยายเสียงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2การพิจารณาว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างหรือไม่ ประกอบกับโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 13 ศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่จำต้องพิพากษาถึงค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้น ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 กล่าวปราศรัยด่า ด. ส. และ พ. ว่า "ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ผู้หญิงขายตัว ไอ้พวกขายตัว" และจำเลยที่ 8 แต่งภาพของ ส. ซึ่งเป็นผู้บริหารโดยใส่จมูกเป็นจมูกสุนัข มีการแต่งหน้าใส่รูปจมูกสุนัข ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำกล่าวปราศรัยของจำเลยที่ 3 และการกระทำของจำเลยที่ 8 แล้ว เป็นการดูหมิ่นผู้บริหารของโจทก์ทั้งสองโดยเปรียบเทียบว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานชั้นต่ำ เป็นคนขายตัว เป็นคนไม่มีคุณค่า และเปรียบเทียบ ส. ว่าเป็นสัตว์ประเภทสุนัข การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 8 เป็นการก้าวร้าวไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นเพียงวาจาไม่สุภาพ และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า การชุมนุมนัดหยุดงานของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นการเข้าไปในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ยินยอม
รายชื่อโจทก์และจำเลยปรากฏตามสำนวนคดีของศาลแรงงานภาค 2 คดีทั้งสิบสองสำนวนนี้ ศาลแรงงานภาค 2 สั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกบริษัท จ. และบริษัท จ. ซึ่งเป็นโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนแรก และเป็นผู้ร้องในสิบเอ็ดสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ เรียก นายสุริยา นายอัศวุฒิ นายอนุรักษ์ นายธีรศักดิ์ นายบำเพ็ญ นางสาวจีรนันท์ นางสุมามาลย์ นางสาวนิภา นางสาวทองม้วน นายประสงค์ นายประทวน นายชัยพร และนายพิทยา ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 13 ตามลำดับ
สำนวนแรก โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหาย 2,128,464 บาท แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยในอัตรร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และค่าเสียหายวันละ 20,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ห้ามจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกเข้าไปในบริเวณที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้รื้อถอนขนย้ายเต็นท์ เคลื่อนย้ายรถยนต์ สุขาเคลื่อนที่ รวมทั้งสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกจากบริเวณถนนและที่ดินของโจทก์ที่ 1 และระงับการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อปราศรัยปลุกระดมการนัดหยุดงานในที่ดินของโจทก์ที่ 1
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ให้การขอให้ยกฟ้อง
สำนวนหลังทั้งสิบเอ็ดสำนวนโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 เป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างของโจทก์ทั้งสอง เดิมสหภาพแรงงาน จ. ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน จ. ด้วย แต่ทั้งสองฝ่ายเจรจาตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน จ. ประกาศนัดหยุดงาน โจทก์ทั้งสองประกาศปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่ประกาศนัดหยุดงานโดยเริ่มมีผลในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 ในวันดังกล่าวเวลาเช้าต่อเนื่องติดต่อกันจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 กับพวกบุกรุกเข้ามาในที่ดินของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงานของโจทก์ที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 กับพวกได้นำรถยนต์ เต็นท์ สุขาเคลื่อนที่และเครื่องขยายเสียงเข้าไปในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 แล้วร่วมชุมนุมโดยกล่าวปราศรัยใช้ถ้อยคำ หยาบคาย ดูหมิ่น และหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ทั้งสองด้วย ทำให้ลูกจ้างผู้ร่วมชุมนุมและลูกจ้างอื่นที่ได้ยินการกล่าวปราศรัยเข้าใจผิดในตัวนายจ้างและผู้บริหารระดับสูง เป็นการสร้างความแตกแยกให้เกิดในบริษัทของโจทก์ทั้งสอง จำเลยบางคนยังได้ใส่ความโจทก์ทั้งสองต่อบุคคลที่สาม ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง มีผลกระทบต่อธุรกิจของโจทก์ทั้งสอง พฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 กับพวกเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อการเป็นนายจ้างและลูกจ้าง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายและเสียโอกาสในทางธุรกิจ เสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ทั้งจงใจทำให้นายจ้างคือโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย โจทก์ทั้งสองไม่อาจไว้วางใจและร่วมงานกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองต่อไปได้ จึงขออนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านทั้งสิบเอ็ดสำนวนยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 8 ถึงที่ 13 ได้ คำขอนอกจากนี้ใ
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา ร.285-295/2562
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ชื่อคู่ความ โจทก์ - บริษัท จ. กับพวก จำเลย - นาย ส. กับพวก
ชื่อองค์คณะ จักษ์ชัย เยพิทักษ์ วุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ รังสรรค์ กุลาเลิศ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน ศาลแรงงานภาค 2 - นายศุภกฤษฎิ์ สามิบัติ