คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3165/2529
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 369, 392, 587
การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา392บัญญัติให้เป็นไปตามมาตรา369ซึ่งบัญญัติว่า'ในสัญญาต่างตอบแทนนั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด'เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางกับจำเลยโดยจำเลยต้องจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ10ของค่าจ้างและเงินจำนวนนี้ยอมให้หักคืนร้อยละ15จากงวดที่4ถึงงวดสุดท้ายซึ่งจำเลยได้หักไปแล้วจำนวนหนึ่งเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโอกาสที่จำเลยจะหักเงินคืนจึงไม่มีโจทก์จะต้องคืนเงินที่รับล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ยังเหลืออยู่นั้นให้แก่จำเลยส่วนจำเลยก็จะต้องชำระส่วนที่เป็นการงานอันโจทก์ได้กระทำให้แก่จำเลยเมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้คืนเงินจำนวนที่มากกว่าเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินที่ค้างชำระโจทก์อยู่ก่อนเลิกสัญญาได้.
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญา รับเหมา ก่อสร้าง ทาง กับ จำเลย โจทก์ได้ ส่งมอบ งาน ให้ จำเลย 10 งวด จำเลย ชำระ เงิน ค่า ก่อสร้าง แก่โจทก์ เพียง 8 งวด เท่านั้น จึง ค้าง ชำระ ค่า ก่อสร้าง รวม ทั้ง ค่าวัสดุ ที่ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ งวด ที่ 2 - 9 ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้จำเลย ชำระหนี้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จน จะ ชำระให้ โจทก์ จน ครบ
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา โดย ส่งมอบ งาน ให้ จำเลยเพียง 9 งวด งวด ที่ 10 ยัง ไม่ ได้ ส่งมอบ จำเลย ได้ แจ้ง การ เลิกสัญญา แก่ โจทก์ แล้ว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ จำเลย ได้ ใช้ สิทธิ เลิก สัญญา แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 392 บัญญัติ ว่า 'การ ชำระหนี้ ของคู่สัญญา อัน เกิด แต่ การ เลิก สัญญา นั้น ให้ เป็น ไป ตาม บทบัญญัติแห่ง มาตรา 369 'และ มาตรา 369 บัญญัติ ว่า 'ใน สัญญา ต่างตอบแทน นั้นคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่ง จะ ไม่ ยอม ชำระ หนี้ จนกว่า อีก ฝ่าย หนึ่ง จะ ชำระหนี้ หรือ ขอ ปฏิบัติ การ ชำระหนี้ ก็ ได้ แต่ ความ ข้อนี้ ท่าน มิให้ใช้ บังคับ ถ้า หนี้ ของ คู่สัญญา อีก ฝ่ายหนึ่ง ยัง ไม่ถึง กำหนด'สำหรับ กรณี ระหว่าง โจทก์ จำเลย นี้ ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า ใน วันทำ สัญญา โจทก์ ได้ รับ เงิน ล่วงหน้า ไป จาก จำเลย จำนวน หนึ่ง และตาม สัญญา ระบุ ว่า เงิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ใช้ คืน โดย ผ่อน รายเดือนหัก จ่าย ใบ จ่ายเงิน ประจำเดือน เดือนละ 15 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น สามเดือน แรก ส่วน ที่ ยัง ค้าง ให้ หัก จ่าย ใน งวด สุดท้าย ซึ่ง จำเลยได้ หัก ไป บ้าง แล้ว ยัง เหลือ อยู่ บางส่วน ซึ่ง เมื่อ สัญญา เลิกกันแล้ว โอกาส ที่ จำเลย จะ หัก เงิน คืน จึง ไม่ มี แต่ โจทก์ จะ ต้องคืน เงิน ที่ รับ ล่วงหน้า ไป ซึ่ง ยัง เหลือ อยู่ นั้น ให้ แก่ จำเลยส่วน จำเลย ก็ ต้อง ชำระ ส่วน ที่ เป็น การ งาน อัน โจทก์ ได้ กระทำแก่ จำเลย กับ ค่า วัสดุ ที่ เพิ่มขึ้น ที่ จำเลย ค้าง ชำระ อยู่ ก่อนเลิก สัญญา ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ ปรากฏ ว่า โจทก์ ยัง มิได้ คืน เงินซึ่ง เป็น จำนวน ที่ มากกว่า ที่ จำเลย จะ ต้อง ชำระ หนี้ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ย่อม ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง เรียกร้อง ให้ จำเลย ชำระ เงิน ที่ ค้างชำระ โจทก์ อยู่ ก่อน เลิก สัญญา ได้ คำพิพากษา ฎีกา ที่ 4/2524 และ3710/2524 ที่ โจทก์ อ้าง นั้น ข้อเท็จจริง ไม่ตรงกับ คดี นี้ พิพากษายืน.
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา ADMIN
ชื่อคู่ความ โจทก์ - บริษัท บี.ที.ซี. อุตสาหกรรมและพาณิชยการ จำกัด จำเลย - กรมทางหลวง
ชื่อองค์คณะ สหัส สิงหวิริยะ เสวก จันทร์ผ่อง สาระ เสาวมล
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan