คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 91, 273 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 158 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ม. 4, 6, 25 (2), 27, 59 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2525)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ปลอม เครื่องหมาย การค้า ซอสน้ำมันหอย ตราชาวประมง โดย ทำ ปลอม เครื่องหมาย การค้า เป็น รูป คน 3 คน รูป ดอกไม้บน พื้น สี เหลือง มี อักษร จีน และ อักษร โรมัน ลง บน แผ่น กระดาษเพื่อ เป็น ฉลาก ปิด ข้าง ขวด ซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมง ให้ มี ลักษณะและ ขนาด เหมือนกัน กับ เครื่องหมาย การค้า ซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมงของ นาย อรรณพ แสงธีระปิติกุล ผู้เสียหาย ที่ ได้ จด ทะเบียน ต่อ กรมทะเบียน การค้า ไว้ แล้ว และ จำเลย ได้ ผลิต อาหาร ปลอม โดย ผลิตซอสน้ำมันหอย ปลอม โดย ผสม ปรุงแต่ง และ ทำ ซอสน้ำมันหอย ขึ้น เทียมซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมงที่ ผู้เสียหาย ผลิต ทำ ขึ้น และ ทำ ออก จำหน่าย เป็น อาหาร แท้อย่างนั้น และ ซอสน้ำมันหอย ที่ จำเลย ผลิต ขึ้น นั้น มี คุณภาพ และมาตรฐาน ไม่ ถูกต้อง ตาม ประกาศ กระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 69(พ.ศ. 2525) โดย อาหาร ที่ ผลิต ขึ้น มี จำนวน จุลินทรีย์ เกินมาตรฐาน ที่ กำหนด และ ใช้ กรด เบ็นโซอิค เป็น วัตถุ กันเสีย เกินปริมาณ กำหนด จน ทำ ให้ เกิด โทษ และ อันตราย แก่ ผู้ บริโภค ได้แล้ว จำเลย ได้ นำ อาหาร ที่ ผลิต ขึ้น แบ่ง บรรจุ ขวด และ ทำ ฉลากเครื่องหมาย การค้า ชาวประมง ที่ จำเลย ทำ ปลอม ขึ้น ดังกล่าว ปิดที่ ขวด เพื่อ ลวง ผู้ซื้อ ให้ เข้าใจผิด ใน เรื่อง คุณภาพ ปริมาณและ ประโยชน์ ให้ ผู้ซื้อ เข้าใจผิด ว่า อาหาร ดังกล่าว เป็นซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมง ที่ แท้จริง ที่ ผู้เสียหาย ผลิต ขึ้น แล้วจำเลย ได้ นำ ซอสน้ำมันหอย ที่ ผลิต ปลอม ขึ้น นั้น ออก จำหน่าย แก่ประชาชน เหตุ เกิด ที่ แขวง ท่าพระ เขต บางกอกใหญ่ และ แขวง พระโขนงเขต พระโขนง เกี่ยวพัน กัน ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา273, 91 พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 6, 25(2),27, 57 และ ริบ ของกลาง
จำเลย ให้การ รับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273, 91 พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 6, 25(2) 27, 59 ลงโทษ ข้อหา ปลอม เครื่องหมาย การค้า จำคุก 1 ปี ข้อหา ปลอมอาหาร จำคุก 3 ปี รวม จำคุก 4 ปี จำเลย ให้การ รับสารภาพ ลดโทษ ให้กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 2 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ใน ข้อหาความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาหาร เป็น ฟ้อง เคลือบคลุม หรือ ไม่ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย บังอาจ ผลิต อาหารปลอม โดย ผลิต ซอสน้ำมันหอย โดย ผสม ปรุงแต่ง และ ทำขึ้น เทียมซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมง ที่ นาย อรรณพ แสงธีระปิติกุล ผลิต ทำ ขึ้นและ ทำ ออก จำหน่าย เป็น อาหาร แท้ อย่างนั้น คำ บรรยายฟ้อง ดังกล่าวครบถ้วน ตรง ตาม ความหมาย ของ 'อาหาร ปลอม' ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 27(2) ความว่า 'วัตถุ หรือ อาหารที่ ผลิต ขึ้น เทียม อาหาร อย่างหนึ่ง อย่างใด และ จำหน่าย เป็น อาหารแท้ อย่างนั้น' โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ต่อไป ว่า ซอสน้ำมันหอย ที่ จำเลยผลิต ขึ้น นั้น มี คุณภาพ และ มาตรฐาน ไม่ ถูกต้อง ตาม ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับ ที่ 69 (พ.ศ. 2525) ซึ่ง ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ตาม สำเนา ประกาศ ท้าย ฟ้อง โดย อาหาร ที่ ผลิตขึ้น มี จำนวน จุลินทรีย์ เกิน มาตรฐาน ที่ กำหนด และ ใช้ กรดเบ็นโซอิค เป็น วัตถุ กันเสีย เกิน ปริมาณ กำหนด จน ทำ ให้ เกิด โทษและ อันตราย แก่ ผู้ บริโภค ได้ คำ บรรยายฟ้อง ดังกล่าว ครบถ้วน ตรงตาม ความหมาย ของ 'อาหาร ปลอม' ตาม มาตรา 27(5) ความ ว่า อาหาร ที่ผลิต ขึ้น ไม่ ถูกต้อง ตาม คุณภาพ หรือ มาตรฐาน ที่ รัฐมนตรี ประกาศกำหนด ตาม มาตรา 6(2) หรือ (3) ถึง ขนาด จาก ผล วิเคราะห์ ปรากฏ ว่าส่วประกอบ ที่ เป็น คุณค่า ทาง อาหาร ขาด หรือ เกิน ร้อยละ สามสิบ จากเกณฑ์ ต่ำ สุด หรือ สูง สุด หรือ แตกต่าง จาก คุณภาพ หรือ มาตรฐาน ที่ระบุ ไว้ จน ทำ ให้ เกิด โทษ หรือ อันตราย' โจทก์ บรรยายฟ้อง ต่อไป ว่าจำเลย ได้ นำ อาหาร ที่ ผลิต ขึ้น นั้น แบ่ง บรรจุ ขวด และ ทำ ฉลากเครื่องหมาย การค้า ที่ จำเลย ทำ ปลอม ขึ้น ปิด ที่ ขวด เพื่อ ลวงหรือ พยายาม ลวง ผู้ซื้อ ให้ เข้าใจ ผิด ใน เรื่อง คุณภาพ ปริมาณและ ประโยชน์ ให้ ผู้ซื้อ เข้าใจ ผิด ว่า อาหาร ดังกล่าว เป็น ซอสน้ำมันหอย ตรา ชาวประมง ที่ แท้จริง ที่ นาย อรรณพ แสงธีระปิติกุล ผลิต ขึ้นคำบรรยายฟ้อง ดังกล่าว ก็ ครบถ้วน ตาม ความหมาย ของ 'อาหารปลอม' ตามมาตรา 27(4) ความว่า 'อาหาร ที่ มี ฉลาก เพื่อ ลวง หรือ พยายาม ลวงผู้ซื้อ ให้ เข้าใจ ผิด ใน เรื่อง คุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือ ลักษณะพิเศษ อย่างอื่น หรือ ใน เรื่อง สถานที่ และ ประเทศ ที่ ผลิต' ฟ้องของ โจทก์ ได้ บรรยาย การ กระทำ ทั้งหลาย ที่ อ้าง ว่า จำเลย ได้กระทำ ผิด ข้อเท็จจริง และ รายละเอียด ต่างๆ พอ สมควร เท่าที่ จะทำ ให้ จำเลย เข้าใจ ข้อหา ได้ ดี แล้ว จึง เป็น ฟ้อง ที่ สมบูรณ์
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา อ้าง ว่า การ กระทำ ของ จำเลย ตาม ฟ้อง ไม่เป็น ความผิด ตาม มาตรา 27(1) นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ จะ ไม่เป็น ความผิด ตาม มาตรา 27(1) แก่ ตาม คำฟ้อง โจทก์ การ กระทำ ของจำเลย เป็น ความผิด ตาม มาตรา 27(2), (4), (5) และ จำเลย รับสารภาพศาล ก็ ลงโทษ ได้ ส่วน ที่ ว่า ฟ้อง โจทก์ กล่าว แต่ เพียง ว่า จำเลยผลิต อาหาร โดย มี จำนวน จุลินทรีย์ เกิน กำหนด มาตรฐาน และ ใช้ กรดเบ็นโซอิค เป็น วัตถุ กัน เสีย เกิน ปริมาณ ที่ กำหนด จน ทำ ให้ เกิดโทษ และ อันตราย แก่ ผู้บริโภค ได้ โดย โจทก์ มิได้ บรรยาย ฟ้อง ว่ามี จำนวน จุลินทรีย์ เท่าใด และ ใช้ กรด เบ็นโซอิค จำนวน เท่าใด นั้นเห็นว่า เป็น ข้อเท็จจริง ที่ จะ นำสืบ ได้ ใน ชั้น พิจารณา เมื่อจำเลย ให้การ ปฏิเสธ และ ที่ จำเลย ฎีกา อ้าง ว่า องค์ประกอบ ความผิดตาม มาตรา 27(4) จะ ต้อง เป็น การ ลวง หรือ พยายาม ลวง ให้ ผู้อื่นเข้าใจผิด ใน เรื่อง คุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือ ลักษณะ พิเศษอย่างอื่น ของ ตัว สินค้า นั้น หา ใช่ ลวง ว่า สินค้า ของ คนหนึ่ง เป็นสินค้า ของ อีก คนหนึ่ง ไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ไว้ ว่าจำเลย ทำ ฉลาก เครื่องหมาย การค้า ที่ จำเลย ทำ ปลอม ขึ้น ปิดที่ ขวด บรรจุ อาหาร ที่ จำเลย ผลิต เพื่อ ลวง หรือ พยายาม ลวง ผู้ซื้อให้ เข้าใจผิด ใน เรื่อง คุณภาพ ปริมาณ และ ประโยชน์ ซึ่ง ครบถ้วน ตามที่ มาตรา 27(4) บัญญัติ ไว้ แล้ว เมื่อ จำเลย ให้การ รับสารภาพ ก็ฟัง ได้ ดัง ที่ โจทก์ กล่าวฟ้อง ไว้
ใน ปัญหา ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด 2 กระทง หรือไม่ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ความผิด ฐาน ปลอม เครื่องหมาย การค้า เป็น ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา ส่วน ความผิด ฐาน ผลิต อาหาร ปลอม เป็น ความผิดตาม พระราชบัญญัติ อาหาร ซึ่ง เป็น กฎหมาย คน ละ ฉบับ และ ความผิดดังกล่าว แยก จาก กัน ได้ เมื่อ จำเลย ปลอม เครื่องหมาย การค้า ของผู้เสียหาย ก็ เป็น ความผิด สำเร็จ กระทง หนึ่ง แล้ว และ เมื่อ จำเลยผลิต อาหาร ปลอม ก็ เป็น ความผิด สำเร็จ อีก กระทง หนึ่ง แม้ จำเลยจะ กระทำ ใน เวลา เดียวกัน ก็ เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน มิใช่เป็น ความผิด กรรมเดียว
พิพากษา ยืน
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา ADMIN
ชื่อคู่ความ โจทก์ - พนักงานอัยการ กรมอัยการ จำเลย - นาย ชัยศักดิ์ โยธาวุฒินันท์
ชื่อองค์คณะ อุทิศ บุญชู จำนง นิยมวิภาต สวัสดิ์ รอดเจริญ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan