สารบัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2540

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 20 พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530

แม้ก่อนมีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโจทก์เกี่ยวกับเงินทุนเลี้ยงชีพ ซึ่งกำหนดว่า เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในสิทธิและประโยชน์ ซึ่งพนักงานพึงได้รับตามความในหมวดนี้ ระเบียบการใด ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 ซึ่งจะพึงมีขึ้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมในภายหน้าจะใช้บังคับ เป็นผลให้เสื่อมสิทธิหรือประโยชน์ของพนักงานที่มีอยู่แล้วในวันวางระเบียบการใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหาได้ไม่ และคงให้มีผลใช้บังคับได้นับแต่วันที่ได้วางระเบียบการใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้นก็ตาม แต่หลังจากจัดตั้งจำเลยที่ 2 ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพ.ศ.2530 และโจทก์ยินยอมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่ากับโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2ดำเนินการนั่นเอง จำเลยที่ 1 จึงหมดความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมอีกต่อไป แม้คำสั่งเรื่องระเบียบปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 ได้กำหนดให้ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแก่สมาชิกแต่ละรายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนของสมาชิก ก็เป็นเพียงข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกเท่านั้น มิใช่ให้จำเลยที่ 1 เข้าไปจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมให้แก่โจทก์

หลังจากจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จำเลยที่ 2ได้รับโอนเงินทุนเลี้ยงชีพเดิมของลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ทั้งสองจากจำเลยที่ 1 มาเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยการที่จำเลยที่ 2 ออกข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วใช้บังคับในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ย่อมมีอำนาจทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2เคยมีข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวใช้บังคับมาก่อน จึงมิใช่เป็นกรณีการออกข้อบังคับอันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2 โจทก์ยินยอมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับดังกล่าว ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดของโจทก์ ซึ่งได้แก่เงินทุนเลี้ยงชีพเดิมและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นของกองทุนโดยถือว่าเป็นเงินอุทิศให้แก่กองทุน

เนื้อหาฉบับเต็ม

(วิรัตน์ ลัทธิวงศกร - อัมพร ทองประยูร - สมมาตร พรหมานุกูลปศาลแรงงานกลาง นายพงษ์รัตน์ เครือกลิ่น

นายชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน - ตรวจ

นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ

นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ

วาสนา พ/ท

หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan

แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ชื่อคู่ความ โจทก์ - นายวีรเชษฐ์ เนตรรังษี จำเลย - ๐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับพวก

ชื่อองค์คณะ nan

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
ติดต่อเราทาง LINE