สารบัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 583 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ถูกจับกุมและควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่วันที่14มกราคม2529จนถึงวันที่12มีนาคม2529อันเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นเวลานานเกือบ2เดือนโดยละเลยไม่นำพาที่จะแจ้งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างทราบเพื่อที่จำเลยจะได้ดำเนินการหาคนมาปฏิบัติหน้าที่แทนทั้งที่โจทก์มีโอกาสที่จะแจ้งให้จำเลยทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามความหมายของมาตรา583แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้.

เนื้อหาฉบับเต็ม

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ต่อมา ได้เลิกจ้าง โจทก์ โดย กล่าวหา ว่า โจทก์ ละทิ้ง หน้าที่ ขาดงาน ไป เป็นการ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง ไม่ เป็นความจริง ความจริง โจทก์ ไม่ ไป ทำงาน เพราะ ถูก จับกุม และ ถูก ควบคุมตัว ตลอด มา จึง เป็น การ เลิกจ้าง โดย ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ ศาลพิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์

จำเลย ให้การ ว่า การ ที่ โจทก์ ต้อง ออก จาก งาน เพราะ ขาด งาน และละทิ้ง หน้าที่ ติดต่อ กัน เกินกว่า 15 วัน โดย ไม่ มี เหตุผล หรือ มีใบลา ตาม ระเบียบ เป็น การ ประพฤติ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง ตามข้อบังคับ ของ จำเลย การ ที่ โจทก์ มี ความ จำเป็น ซึ่ง ไม่ อาจ มาทำงาน ตาม ปกติ ได้ ต้อง แจ้ง เหตุ ให้ จำเลย ทราบ เมื่อ มิได้ แจ้งจึง เป็น การ จงใจ ละทิ้ง หน้าที่ และ ขาด งาน โดย เจตนา จำเลย ไม่ ต้องจ่าย เงิน ใดๆ แก่ โจทก์

วันนัด พิจารณา จำเลย แถลง รับ ว่า การ ที่ โจทก์ ขาด งาน เป็น เพราะถูก จับกุม และ ควบคุม ตัว อยู่ ที่ เรือนจำกลาง สมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2518 จนถึง วันฟ้อง ศาลแรงงานกลาง เห็นว่า คดี พอวินิจฉัย ได้ แล้ว จึง งดสืบพยาน

ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ ที่ โจทก์ ไม่ ไป ทำงาน ตาม ปกติ เพราะถูก จับกุม และ ถูก ควบคุม ตัว นั้น ไม่ ถือ ว่า เป็น การ ละทิ้งหน้าที่ เป็น เวลา สาม วัน ทำงาน ติดต่อ กัน โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควรตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) ดังนั้นการ ที่ จำเลย ให้ โจทก์ ออก จาก งาน จึง เป็น การ ให้ ออก โดย โจทก์ไม่ มี ความผิด โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พิพากษา ให้ จ่าย เงิน ดังกล่าว

จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา

ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า จำเลย ได้ ต่อสู้ ด้วย ว่า โจทก์กระทำ ผิด ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ประกาศ ของ กระทรวง มหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 อีก ด้วย แต่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย เฉพาะ ข้อกฎหมาย ตามข้อ 47(4) แห่ง ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เพียงประเด็น เดียว พิพากษา ให้ ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวน พิจารณา ต่อไป เพื่อ ให้ ได้ ข้อเท็จจริงเป็น ยุติ ว่า จำเลย มี ระเบียบ ข้อบังคับ หรือไม่ ระเบียบ ข้อบังคับของ จำเลย กำหนด ไว้ อย่างไร และ ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ถูก ควบคุม ตัวโจทก์ สามารถ ติดต่อ หรือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึง เหตุ ที่ ไม่ สามารถมา ทำงาน ตาม ปกติ ได้ หรือไม่ แล้ว วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ใน ประเด็นที่ ยัง ขาด ให้ ครบถ้วน และ พิพากษา ใหม่

ใน ระหว่าง ที่ ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวน พิจารณา ตาม คำพิพากษาศาลฎีกา จำเลย ยื่น ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง โจทก์ รับ ว่ามี ระเบียบ ข้อบังคับ ดังกล่าว จริง และ ระหว่าง ที่ โจทก์ ขาดงานเพราะ ถูก จับกุม คุมขัง อยู่ นั้น โจทก์ อาจ แจ้ง หรือ ติดต่อ แจ้ง ให้จำเลย ทราบ ได้ แต่ ก็ มิได้ แจ้ง แก่ จำเลย

ศาลแรงงานกลาง เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ตาม ประเด็น ที่ศาลฎีกา ได้ วินิจฉัย ใหม่ ได้ แล้ว จึง ให้ งด สืบพยาน โจทก์ จำเลยแล้ว วินิจฉัย ว่า ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ไม่ มี ระบุ ไว้ ว่า หาก พนักงาน ของ จำเลย มี ความ จำเป็น ที่ ไม่ อาจ มา ทำงาน ตาม ปกติต้อง แจ้ง เหตุ ให้ จำเลย ทราบ มิฉะนั้น จะ ถือ ว่า เป็น การ จงใจละทิ้ง หน้าที่ หรือ เป็น การ ขาด งาน โดย ไม่ มี เหตุ อันควร กรณีของ โจทก์ ไม่ ต้อง ด้วย เหตุ ที่ จำเลย อาจ ปฏิเสธ ไม่ จ่าย เงินบำเหน็จ ให้ แก่ โจทก์ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ทั้ง ไม่ ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 และ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 พิพากษา ให้ จำเลยจ่าย เงิน บำเหน็จ ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าพร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า สำหรับ ปัญหา เรื่อง สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า นั้น จำเลย อุทธรณ์ ว่า หาก การ กระทำ ของ ลูกจ้างเข้า กรณี ใด กรณี หนึ่ง ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้าง มี สิทธิ ที่ จะ ไล่ออกทันที โดย มิพัก ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า เมื่อ กรณี ของ โจทก์ ต้อง ด้วยบทบัญญัติ ของ มาตรา ดังกล่าว จำเลย จึง ไม่ ต้อง รับผิด จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ นั้น พิเคราะห์ แล้ว ได้ ความว่า โจทก์ ถูก จับกุม และ ควบคุม ตัว อยู่ ที่ เรือนจำ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ วันที่ 14 มกราคม 2528 ตลอดมา จน ถึง วันที่ 12มีนาคม 2529 ซึ่ง เป็น วันที่ จำเลย มี คำสั่ง ไล่ โจทก์ ออก จาก งานเป็น เวลา นาน เกือบ 2 เดือน โจทก์ ละเลย ไม่ นำ พา ที่ จะ แจ้ง ให้จำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง ทราบ เพื่อ ที่ จะ ได้ ดำเนินการ หา คน มาปฏิบัติ หน้าที่ แทน ทั้ง ที่ มี โอกาส จะ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึงเหตุ ที่ ไม่ สามารถ มา ปฏิบัติ งาน ได้ พฤติการณ์ ของ โจทก์ ถือ ได้ว่า กระทำการ อัน ไม่ สมควร แก่ การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วงไป โดย ถูกต้อง และ สุจริต ตาม ความหมาย ของ มาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า ได้

พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan

แหล่งที่มา ADMIN

ชื่อคู่ความ โจทก์ - นาย บุญลือ อินสวัสดิ์ จำเลย - องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

ชื่อองค์คณะ สุรัตน์ ศรีอนุพันธุ์ สมบูรณ์ บุญภินนท์ จำนง นิยมวิภาต

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
ติดต่อเราทาง LINE