สารบัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2529

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420

จำเลยที่3และที่4ร่วมกับบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการรักษาเงินมีหน้าที่ปิดเปิดกำปั่นโดยถือกุญแจไว้คนละดอกไม่มีหน้าที่ไปสอบถามและเร่งรัดให้ส่วนราชการต่างๆนำเงินมาเก็บในกำปั่นเพราะเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับเงินไว้จะต้องนำเงินนั้นมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อนำเข้าเก็บในกำปั่นต่อไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการรักษาเงินจึงมีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาเฉพาะเงินที่ได้นำมาเก็บไว้ในกำปั่นเท่านั้นเมื่อเงินของโจทก์ถูกยักยอกไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานสรรพากรโดยที่ยังไม่ได้นำเข้าเก็บในกำปั่นจึงไม่เกี่ยวกับการจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรักษาเงินจำเลยที่3และที่4ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

เนื้อหาฉบับเต็ม

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หัวหน้า ส่วนราชการ เกี่ยวกับ งานสรรพากร จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าหน้าที่ สรรพากร 2 จำเลย ที่ 3 เป็นปลัดอำเภอ อาวุโส และ จำเลย ที่ 4 เป็น พนักงาน ที่ดิน อำเภอ จำเลย ที่1 ที่ 3 และ ที่ 4 เป็น กรรมการ รักษาเงิน จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับ เงิน ของ โจทก์ ไว้ แล้ว ไม่ นำ เงิน ส่ง คลัง ตาม ระเบียบ กลับเบียดบัง ไว้ เป็น ประโยชน์ ส่วนตน หรือ ผู้อื่น ส่วน จำเลย ที่ 3ที่ 4 ได้ จงใจ ปล่อยปละ ละเลย ต่อ หน้ที่ หรือ ประมาท เลินเล่อ ต่อหน้าที่ อย่าง ร้ายแรง เป็น ช่องทาง และ โอกาส ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2เบียดบัง เอา เงิน โจทก์ ไป ขอ ให้ จำเลย ร่วมกัน คืน และ ชดใช้ เงินที่ ยัง ขาด จำนวน 50,844.10 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์

จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 รับ เงิน โจทก์ ไว้ แต่ ผู้เดียวจำเลย ที่ 1 ไม่ มี ส่วน รู้เห็น ด้วย ฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม คดี โจทก์ขาดอายุความ ขอ ให้ ยกฟ้อง

จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ให้การ ว่า มี หน้าที่ เพียง ถือ กุญแจ ตู้เซฟและ นำ กุญแจ ไป เปิด ปิด เวลา จะ นำ เงิน เข้า และ ออก คอย ตรวจสอบจำนวนเงิน ที่ จะ นำ เข้า เก็บ รักษา และ บันทึก จำนวน เงิน ที่ ขาดประจำ วัน ร่วมกับ คระกรรมการ เท่านั้น เมื่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ไม่ นำ เงิน ส่งมอบ ต่อ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ คณะกรรมการ จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 ก็ ไม่ มี หน้าที่ อะไร ต้อง ทำ จึง ไม่ ได้ ละเว้น ต่อหน้าที่ อัน เป็น การ ทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุมขอ ให้ ยกฟ้อง

ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น จำหน่าย คดี เฉพาะ จำเลย ที่ 2

ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ได้ ทำ ละเมิดต่อ โจทก์ หรือไม่ ว่า แม้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จะ ได้ รับ แต่งตั้ง เป็นกรรมการ รักษา เงิน ของ อำเภอ คอนสาร แต่ นาย ชลอ ชาญเชี่ยว สรรพากรจังหวัด ชัยภูมิ กับ นาย แสวง อัมพรรัตน์ นายอำเภอ คอนสาร พยาน โจทก์เบิกความ ว่า กรรมการ รักษา เงิน มี จำเลย ที่ 1 อีก คนหนึ่ง และคณะกรรมการ ดังกล่าว มี หน้าที่ ปิด เปิด กำปั่น และ ต้อง ถือ กุญแจไว้ คน ละ หนึ่ง ดอก ไม่ มี หน้าที่ ไป สอบถาม และ เร่งรัด ให้ส่วนราชการ ต่างๆ นำ เงิน มา เก็บ ใน กำปั่น เป็น หน้าที่ ผู้ ที่ รับเงิน ไว้ จะ ต้อง นำ เงิน นั้น มา เสนอ ต่อ คณะกรรมการ เพื่อ นำ เข้าเก็บ ใน กำปั่น นั่นเอง ซึ่ง ก็ ตรงกับ ที่ กำหนด ไว้ ใน ระเบียบ การรับ จ่าย การ เก็บรักษา และ การ นำส่ง เงิน ใน หน้าที่ ของ อำเภอ และกิ่งอำเภอ พ.ศ. 2515 เอกสาร หมาย จ.125 โดย มี ระบุ ไว้ ใน ส่วน ที่3 ข้อ 47 ว่า เมื่อ สิ้น เวลา รับ จ่าย เงิน ประจำวัน ให้ หัวหน้าส่วนราชการ นำ เงิน ที่ จะ เก็บ รักษา และ รายงาน เงิน คงเหลือ ประจำวันส่งมอบ ต่อ คณะกรรมการ เพื่อ ตรวจสอบ เมื่อ คณะกรรมการ ได้ ตรวจสอบถูกต้อง แล้ว ให้ หัวหน้า ส่วนราชการ นำ เงิน บรรจุ ลง หีบห่อ ต่อหน้าคณะกรรมการ แล้ว ให้ ใส่ กุญแจ ประจำ ตราครั่ง ที่ เชือก ผูกมัด หีบห่อใน ลักษณะ ที่ ตราครั่ง จะ ต้อง ถูก ทำลาย เมื่อ มี การ เปิด หีบห่อนั้น เมื่อ กรรมการ ทุกคน ลงลายมือชื่อ ใน รายงาน เงิน คงเหลือ ประจำวันแล้ว ให้ นำ หีบห่อ เข้า เก็บ รักษา ไว้ ใน ตู้เซฟ หรือ กำปั่น สำหรับรายงาน เงิน คงเหลือ ประจำวัน ต้อง จัดทำ 2 ฉบับ ให้ หัวหน้า ส่วนราชการเก็บ ไว้ 1 ฉบับ อีก 1 ฉบับ คณะกรรมการ ต้อง นำ ไป เสนอ นายอำเภอ เพื่อทราบ และ เก็บไว้ ตาม ข้อ 46 ส่วน ตู้เซฟ หรือ กำปั่น เมื่อ นำ เงินเข้า เก็บ เรียบร้อย แล้ว ให้ กรรมการ ใส่ กุญแจ ประจำ ตราครั่ง ของแต่ละ คน ให้ เรียบร้อย ใน ลักษณะ ที่ ตรา ประจำ ครั่ง จะ ต้อง ถูกทำลาย เมื่อ มี การ เปิด ตู้เซฟ หรือ กำปั่น ตาม ข้อ 49 แสดงว่าคณะกรรมการ มี หน้าที่ ดูแล เก็บ รักษา เฉพาะ เงิน ที่ ได้ นำ มา เก็บไว้ ใน กำปั่น เท่านั้น แต่ เงิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ สูญหาย ไป ในคดีนี้ จำนวน 79,351.15 บาท อยู่ ใน ความ รับผิด ชอบ ของ หน่วยงานสรรพากร อำเภอ คอนสาร ยัง ไม่ ได้ นำส่ง เข้า เก็บ ใน กำปั่น ก็ มี การเบียดบัง ยักยอก เอา เงิน ดังกล่าว ไป เสียก่อน จึง ไม่ เกี่ยวกับ การจงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ใน การ ปฏิบัติ หน้าที่ กรรมการ รักษา เงินของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 แต่ อย่างใด จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่ มี หน้าที่ จะต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์

พิพากษา ยืน

หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan

แหล่งที่มา ADMIN

ชื่อคู่ความ โจทก์ - กระทรวงการคลัง กับพวก จำเลย - นาย ใบ ปัญสุวรรณ กับพวก

ชื่อองค์คณะ ดำรง สายเชื้อ อาจ ปัญญาดิลก ไพจิตร วิเศษโกสิน

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
ติดต่อเราทาง LINE