คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2539
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 36
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางในขณะที่มีการใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อระหว่างพิจารณาคดีผู้ร้องขายให้บุคคลภายนอกไปบุคคลภายนอกจึงเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเมื่อศาลพิพากษาให้ริบรถย่อมตกเป็นของแผ่นดินแม้ต่อมาผู้ร้องจะซื้อรถนั้นคืนมาจากบุคคลภายนอกก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิร้องขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36
คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง , 340 ตรี และ ริบ รถจักรยานยนต์ของกลาง
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น เจ้าของ รถจักรยานยนต์ของกลาง ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ริบ หมายเลข ทะเบียน สุโขทัย ฉ-2636หมายเลข ตัวถัง และ หมายเลข เครื่อง 3 พีพี-168497 ปัจจุบัน ได้ เปลี่ยนหมายเลข ทะเบียน เป็น สุโขทัย ช-9922 โดย ผู้ร้อง มิได้ รู้เห็นเป็นใจด้วย ใน การกระทำ ความผิด ขอให้ สั่ง คืน รถจักรยานยนต์ ของกลาง แก่ ผู้ร้อง
โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า รถจักรยานยนต์ ของกลาง จะ เป็น ของ ผู้ร้องหรือไม่ โจทก์ ไม่รับรอง ผู้ร้อง มี ส่วน รู้เห็นเป็นใจ ด้วย ใน การ ที่จำเลย นำ รถจักรยานยนต์ ของกลาง ไป ใช้ กระทำ ความผิด ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง มี ว่าผู้ร้อง มีสิทธิ จะ ขอ คืน รถจักรยานยนต์ ของกลาง ได้ หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟัง เป็น ที่ ยุติ แล้ว ว่า ขณะที่ จำเลย นำ รถจักรยานยนต์ ของกลาง ไป ใช้ใน การกระทำ ผิด นั้น ผู้ร้อง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน รถ คัน ดังกล่าว อยู่และ ได้ ขอรับ รถ คัน ดังกล่าว ไป เก็บรักษา ไว้ จาก เจ้าพนักงาน ตำรวจระหว่าง การ พิจารณา คดี ของ ศาลชั้นต้น ปรากฏว่า มี การ โอน ขาย รถคัน ดังกล่าว ไป ให้ แก่ บุคคลภายนอก และ มี การ เปลี่ยนแปลง หมายเลข ทะเบียนรถ คัน ดังกล่าว จาก สุโขทัย ฉ-2636 เป็น พิษณุโลก ท-3893 ต่อมาศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา ให้ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลาง คัน ดังกล่าวผู้ร้อง จึง ได้ ซื้อ รถ คัน ดังกล่าว คืน จาก บุคคลภายนอก กลับมา เป็น ของผู้ร้อง เปลี่ยน หมายเลข ทะเบียน เป็น สุโขทัย ช-9922 และ มา ยื่น คำร้องขอ คืน รถจักรยานยนต์ ของกลาง เห็นว่า แม้ ใน ขณะที่ มี การ ใช้รถจักรยานยนต์ ของกลาง ใน การกระทำ ความผิด ผู้ร้อง จะ เป็น เจ้าของรถจักรยานยนต์ ของกลาง ก็ ตาม แต่ ใน ระหว่าง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นผู้ร้อง ได้ ขาย รถจักรยานยนต์ ของกลาง ให้ บุคคลภายนอก ไป บุคคลภายนอกนั้น จึง เป็น เจ้าของ รถจักรยานยนต์ ของกลาง คัน ดังกล่าว นับแต่ ที่ผู้ร้อง ได้ ขาย ให้ เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลางรถจักรยานยนต์ ของกลาง ย่อม ตกเป็น ของ แผ่นดิน บุคคลภายนอก ผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ ของกลาง คัน ดังกล่าว ก็ ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน รถจักรยานยนต์คัน นั้น อีก ต่อไป แม้ ผู้ร้อง จะซื้อ รถจักรยานยนต์ ของกลาง คืน มา และเปลี่ยน หมายเลข ทะเบียน ใหม่ ผู้ร้อง ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ในรถจักรยานยนต์ ของกลาง และ ไม่มี สิทธิ ร้องขอ รถจักรยานยนต์ ของกลางคืน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้นชอบแล้ว ฎีกา ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน
หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan
แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ชื่อคู่ความ โจทก์ - พนักงานอัยการจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ร้อง - ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคชัยมอเตอร์ จำเลย - นาย สมหมาย ขำศรี
ชื่อองค์คณะ จารุณี ตันตยาคม สมปอง เสนเนียม ผล อนุวัตรนิติการ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan