สารบัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 166 เดิม, 193/33, 653 วรรคแรก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วยเมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอมก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยได้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิม(มาตรา193/33ใหม่)หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยเกิน5ปีโดยไม่มีกำหนดอายุความ

เนื้อหาฉบับเต็ม

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง สายฮวย ทัพแสง เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2526 จำเลย ทำ หนังสือ สัญญากู้ยืม เงินนาง สายฮวย ไป 50,000 บาท สัญญา ให้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ สิบ ห้า ต่อ ปี กำหนด ชำระ เงิน คืน ภายใน วันที่ 30 กรกฎาคม 2526 ตามสำเนา หนังสือ สัญญากู้เงิน เอกสาร ท้ายฟ้อง นับแต่ จำเลย กู้ยืม เงินไป จำเลย ไม่ชำระ ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ให้ แก่ นาง สายฮวย เลย โจทก์ ขอ คิด ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้อง เพียง 5 ปี เป็น เงิน 37,500 บาท รวมกับต้นเงิน เป็น 87,500 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 87,500 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ สิบ ห้า ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ

จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย กู้ยืม เงินโจทก์ หรือ นาง สายฮวย หนังสือ สัญญากู้เงิน ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้อง เป็น เอกสารปลอม ที่ โจทก์ เป็น ผู้ทำ ขึ้น ทั้ง ฉบับ หนังสือ สัญญากู้เงินไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ แน่ชัด เป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 68,750 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน50,000 บาท นับ จาก วันฟ้อง (วันที่ 26 ตุลาคม 2533) ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ

จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "คดี นี้ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ในชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดี มีปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ขึ้น มา ว่า หนังสือ สัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ. 1 เป็น หลักฐาน ฟ้องร้อง บังคับ จำเลย ผู้กู้ ได้ หรือไม่ และที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 คิด ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นั้นเป็น การ ชอบ หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้องฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบด้วย มาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า จำเลยกู้ยืม เงิน นาง สายฮวย ไป ตาม หนังสือ สัญญากู้เงิน เอกสาร หมาย จ. 1จำเลย เป็น ผู้ เขียน หนังสือ สัญญากู้เงิน ฉบับ ดังกล่าว และ ลงลายมือชื่อเป็น ผู้กู้ ไว้ จริง เฉพาะ ลายมือชื่อ ผู้ให้กู้ นั้น ไม่ใช่ ลายมือชื่อนาง สายฮวย เป็น ลายมือชื่อปลอม ปัญหา ว่า หนังสือ สัญญากู้เงิน เอกสาร หมาย จ. 1 เป็น หลักฐาน ฟ้องร้อง บังคับ จำเลย ผู้กู้ ได้ หรือไม่เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า "การกู้ยืมเงิน กว่า ห้า สิบ บาท ขึ้น ไป นั้น ถ้า มิได้ มีหลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ ยืม เป็น สำคัญ ท่าน ว่า จะ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี หาได้ไม่ " เห็น ได้ว่ากฎหมาย บังคับ ให้ มี หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสือ และ ลงลายมือชื่อผู้กู้ จึง จะ ฟ้องร้อง บังคับคดี ได้ โดย มิได้ บังคับ ผู้ให้กู้ ต้องลงลายมือชื่อ ด้วย ดังนั้น เมื่อ จำเลย เป็น ผู้ เขียน หนังสือ สัญญากู้เงินเอกสาร หมาย จ. 1 และ ลงลายมือชื่อ เป็น ผู้กู้ แล้ว ย่อม ฟ้องร้องบังคับคดี ได้ ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น แม้ ลายมือชื่อ ผู้ให้กู้ไม่ใช่ ลายมือชื่อ นาง สายฮวย เป็น ลายมือชื่อปลอม ก็ หา มีผล ให้ หลักฐาน การ ฟ้องร้อง บังคับ แก่ จำเลย ได้ ที่ สมบูรณ์ อยู่ แล้ว เสีย ไป ไม่

ปัญหา ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 คิด ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ชอบ หรือไม่ที่ จำเลย ฎีกา ว่า เป็น การ ขยาย อายุความ คิด ดอกเบี้ย ซึ่ง มี กำหนด5 ปี ต่อไป อีก นั้น เห็นว่า สิทธิเรียกร้อง ดอกเบี้ย ซึ่ง มี กำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม(มาตรา 193/33 ใหม่ ) นั้น หมายถึง ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ อยู่ ก่อนวันฟ้อง ส่วน ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นั้น ไม่ใช่ดอกเบี้ย ค้างชำระ จะ ใช้ มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่ ) บังคับไม่ได้ ถ้า การ พิจารณา คดี ยืด เยื้อโจทก์ ย่อม มีสิทธิ ได้ ดอกเบี้ย เกิน5 ปี โดย ไม่มี กำหนด อายุความ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ "

พิพากษายืน

หมายเลขคดีดำศาลฎีกา nan

แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ชื่อคู่ความ โจทก์ - นาง กรรณิการ์ ไชยวงศา ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ โจทก์ - นาง สายฮวย ทัพแสง จำเลย - นาย เสียง ชูสกุล

ชื่อองค์คณะ สมพงษ์ สนธิเณร สมภพ โชติกวณิชย์ ไพโรจน์ คำอ่อน

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน nan

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th