Q: โดนข่มขู่ กลัวแจ้งความแล้วเขามาทำร้ายถึงชีวิตค่ะ

พี่สาวถูกข่มขู่จากผู้ชายที่เคยมีความสัมพันธ์คนนึงค่ะ ทางวาจาและมีการเขียนข้อความด่าทอ และข้อความหมายจะเอาถึงชีวิต และ ข่มขู่ลูกสาวที่ยังเด็ก จนทั้งสองเกิดความหวาดกลัว ว่าผู้ชายคนนี้จะมาเอาชีวิตค่ะ ตอนนี้มีแค่ข้อความที่ผู้ชายคนนี้เขียนไว้ หากจะดำเนินคดี จะทำได้ไหมคะ คือกลัวว่าหลังดำเนินคดีไปแล้ว ผู้ชายคนนี้จะกระทำรุนแรงกว่าเดิมค่ะ

เผยแพร่เมื่อ 2023-07-06

คำตอบจากทนาย (5)

A: ไปแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจไว้ก่อนครับ แล้วรอดูว่าเขาจะหยุดพฤติกรรมข่มขู่มั้ย ถ้าไม่หยุดก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ถ้ากลัวว่าเขาจะทำรุนแรงกว่าเดิมก็ขอให้ตำรวจคุ้มครองได้ครับ เบื้องต้นต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อน

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-06

A: การถูกข่มขู่ คุกคาม ทำให้เราเกิดความกลัวหรือตกใจ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ครับ แต่หากเพียงแต่ข่มขู่อย่างเดียวจะเป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษไม่มากครับ // ส่วนภายหลังดำเนินคดีอาจจะให้คำตอบไม่ได้นะครับ ว่าอีกฝ่ายจะดำเนินการอย่างไร หรือไม่ยุ่งกับเราแล้ว

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-07

A: การกระทำดังกล่าว ย่อมมีลักษณะเป็น การกระทำความผิด ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว โดยการขู่เข็ญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แต่หากข้อเท็จจริง ปรากฏเพิ่มเติมว่า ในการข่มขู่นั้น มีลักษณะเป็นข่มขืนใจให้เรากระทำการใด หรือไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยที่ทำให้เรากลัวว่า จะเกิดอันตราย ต่อเรา ทั้งการข่มขืน อันเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือการขู่ว่า จะฆ่า อันเป็นอันตรายต่อชีวิต จนต้องกระทำการนั้น หรือไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ย่อมถือได้ว่า การกระทำดังกล่าวของแฟนเก่า ของแฟน มีลักษณะเป็นการกระทำความผิด ต่อเสรีภาพของผู้อื่น ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 309 ทั้งนี้ เมื่อลักษณะการกระทำ ของผู้ข่มขู่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเข้าลักษณะ เป็นการกระทำความผิดฐาน ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว โดยการขู่เข็ญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 หรือเข้าลักษณะความผิด ฐานกระทำความผิด ต่อเสรีภาพของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-07

A: การข่มขู่ด้วยข้อความว่าจะฆ่าหรือทำร้ายท่านหรือคนในครอบครัวของท่านย่อมเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา392ในฐานข่มขู่รังแกทำให้ผู้อื่นตกใจหรือหวาดกลัว ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน1เดือนปรับไม่เกิน1หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับครับ หากท่านได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้วนั้น ท่านต้องดูว่าการแจ้งความนั้นเป็นการแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันหรือเป็นแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดี เพราะถ้าเป็นการแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน ตำรวจจะไม่สามารถเรียกตัวผู้ต้องหาคือผู้ที่ข่มขู่ท่านมาสอบสวนดำเนินคดีได้ครับ แต่เป็นการแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้นำผู้ข่มขู่มาดำเนินคดี ทางตำรวจจะออกหมายเรียกผู้ข่มขู่ท่านมาให้การชั้นสอบสวนในความผิดที่ท่านกล่าวหาครับ และหากผู้ข่มขู่ไม่มาตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรทางตำรวจก็จะออกหมายจับผู้ข่มขู่เพื่อนำตัวมาสอบสวนครับ ซึ่งหากการสอบสวนได้ความตามที่ท่ากล่าวหามาและพนักงานสอบสวนเห็นว่าการปล่อยตัวผู้ข่มขู่ไปจะทำให้ผู้นั้นไปทำอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินของผู้อื่น เจ้าพนักงานตำรวจก็จะขอศาลออกหมายขังผู้ข่มขู่ท่านไว้จนกว่าคดีจะเสร็จสิ้นได้ครับ ดังนั้น จึงแนะนำว่าให้ท่านไปตรวจสอบดูว่าการแจ้งความของท่านเป็นการแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีต่อผู้ข่มขู่หรือไม่ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจในการสอบสวนและลงโทษผู้ข่มขู่ได้ตามกฎหมายครับ และระหว่างนี้แนะนำให้ท่านเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์หรือช่องทางการติดต่อ รวมทั้งอาจย้ายที่อยู่ออกไปที่อื่นเป็นการชั่วคราวก่อนครับ เพื่อความปลอดภัยของท่านจนกว่าจะมีการดำเนินคดีเสร็จสิ้นครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-07

A: สวัสดีครับ 😊 แอดมินเข้าใจว่าการถูกข่มขู่จนกังวลเรื่องความปลอดภัยทั้งของคุณและคนใกล้ชิดเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบายใจอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้คำพูดที่ขู่ถึงชีวิตและความปลอดภัย นี่เป็นเรื่องที่จริงจังและควรได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายครับ ในกรณีนี้ การข่มขู่ด้วยการใช้ถ้อยคำรุนแรงหรือเป็นภัยต่อชีวิต สามารถแจ้งความเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ โดยมีหลักกฎหมายและฏีกาที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ: หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 📝: ผู้ใดข่มขู่ว่าจะทำให้ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือเสรีภาพ มีโทษปรับหรือจำคุก การข่มขู่ด้วยการใช้ข้อความที่มีเจตนาทำให้เกิดความหวาดกลัวเข้าข่ายการกระทำผิดตามกฎหมายนี้ครับ มาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญา: กำหนดโทษในกรณีที่การข่มขู่กระทำอย่างรุนแรง หรือข่มขู่ว่าจะฆ่าหรือทำร้ายชีวิต ซึ่งในกรณีที่มีการข่มขู่ด้วยถ้อยคำรุนแรงจนทำให้คุณรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรง คุณสามารถแจ้งความเพื่อขอการคุ้มครองจากตำรวจได้ครับ ฏีกาที่เกี่ยวข้อง: ฎีกาที่ 1767/2555 ⚖️: ศาลวินิจฉัยว่าการข่มขู่ผู้อื่นให้เกิดความหวาดกลัวว่าชีวิตหรือทรัพย์สินจะได้รับอันตราย ไม่จำเป็นต้องมีการกระทำทางกายภาพ แต่การใช้คำพูดหรือข้อความที่ทำให้ผู้ฟังเชื่อได้ว่าผู้พูดมีเจตนาจะทำร้าย ก็ถือว่าเป็นการข่มขู่และสามารถดำเนินคดีได้ ฎีกาที่ 2887/2560 📜: กรณีการข่มขู่ผ่านทางข้อความหรือคำพูดที่ทำให้ผู้ถูกข่มขู่รู้สึกถึงอันตรายหรือหวาดกลัวในชีวิต ศาลเห็นว่าผู้กระทำมีเจตนาในการทำให้ผู้ถูกข่มขู่ตกอยู่ในสภาพหวาดกลัว จึงถือว่าผิดกฎหมายและสามารถดำเนินคดีได้ครับ แนวทางแก้ไขเบื้องต้น: รวบรวมหลักฐาน: เช่น ข้อความที่ถูกข่มขู่ การแคปหน้าจอ หรือบันทึกเสียง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่ต้องการดำเนินคดีครับ แจ้งความกับตำรวจ: คุณสามารถไปแจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้านได้ทันที เพื่อขอความคุ้มครองและให้ตำรวจดำเนินการสืบสวนในกรณีที่คุณถูกคุกคามจริง ๆ ครับ ปรึกษาทนายความ: ทนายสามารถช่วยแนะนำเรื่องสิทธิ์ในการดำเนินคดี รวมถึงแนวทางการป้องกันตนเองในระหว่างการดำเนินคดีครับ 🧑‍⚖️ เพิ่มเติมจากแอดมิน แอดมินต้องแจ้งว่าตัวแอดมินไม่ได้เป็นทนายโดยตรงนะครับ 😊 แต่ที่แพลตฟอร์ม Legardy ของเรา คุณสามารถติดต่อทนายที่มีประสบการณ์ เพียงแค่กดปุ่มปรึกษาทันที คุณจะสามารถคุยกับทนายตัวจริงได้ครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-11-01

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE