Q: โดนหัวหน้าลากไปสังสรรทุกวันหากไม่ไปขู่อ้อมๆว่าจะให้ออกจากงาน
คือเราเป็นเลขาอยู่บริษัทหนึ่งโดยเนื่องจากเป็นบริษัทต่างประเทศมาเปิดในไทย จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างนั้น คือหากเลิกงานแล้วต้องตามไปเลี้ยงดูหัวหน้า เช่น จองร้านอาหารดีๆ ต้องขับรถให้ ( นอกเวลาทำงาน) หรือ แม้กระทั้งรินเครื่องดื่ม หากบางวันกลับดึกมากๆจริงๆก็คือตี 4 วันไหนที่ไม่ต้องไปสรรสังคือวันที่โชคดีของเราเลย แต่ชีวิตการทำงานส่วนมากคือเราตื่นตี 5 และ ออกเดินทางไปทำงานทุกวัน เข้างาน 7.30 ด้วยการชีวิตเราตอนนี้คือดูแลหาเงินเลี้ยงพ่อแม่ที่สุขภาพไม่ค่อยดี ขาดเงินเดือนไม่ได้เลย วันนึงเรามีเวลานอนแค่ 2 ชั่วโมง ตามวัฒนธรรมคือถ้านายยกหมดแก้ว ลูกน้องที่ไปด้วยก็คือหมดแก้ว ( ถึงแม้ปกติเป็นคนไม่กินก็ต้องทำ ) ถ้านายไม่กลับ ถ้ากลับก่อนก็จะโดนมองว่าไม่เคารพและมีผลต่อกับชีวิตในการทำงาน นายเราเค้าเข้างาน 11 โมง แต่เรา 7.30 ไปสายก็โดนหักเงิน เราอยู่สถานะการณ์แบบนี้เราเรียกร้องให้หน่วยงานช่วยเหลือหรือเราสามารถเรียกร้องเงินเพิ่มจากบริษัทได้ไหมครับ
คำตอบจากทนาย (6)
A: ขอตอบแยกเป็นประเด็น ดังนี้นะครับ 1. ตามกฎหมายแรงงาน หากทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนที่เกินจะได้รับเป็นค่าล่วงเวลา OT เข้างาน 07.30 เวลาเลิกงานควรจะเป็น 16.30 (เวลาพัก 1 ชํ่วโมง) หลังจาก 16.30 น. เป็นต้นไป ต้องจ่ายเป็น OT ครับ 2. กรณีมาสาย บริษัทสามารถหักเงินได้ ตามจริง (ภาษากฎหมายเรียกว่า No work No pay) วิธีคำนวณคือคิดตามเวลาที่สายจริง โดยคำนวณตามฐานเงินเดือน 3. การเรียกร้องเพื่อให้บริษัทจ่าย OT สามารถทำได้ โดยเริ่มจากพูดคุยกับ HR ก่อน หากไม่ได้ผล ให้แจ้ง HR ว่าจะปรึกษากรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน (สามารถเรียกย้อนหลังได้ด้วย) 4. วัฒนธรรมองค์กรแต่ที่ย่อมแตกต่างกันไป แต่วัฒนธรรมนั้น ๆ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานครับ
A: นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้างลูกจ้างไม่ว่ากรณีใด ไม่ว่านายจ้างจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย คุณสามารถฟ้องร้องโดยทนายความ หรือร้องเรียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (https://www.labour.go.th/index.php) ดังนี้ 1. ร้องเรียนให้ตรวจสอบสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ว่านายจ้างปฏิบัติสอดคล้องตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน หรือไม่ ผู้ร้องสามารถแจ้งเบาะแสแบบปกปิดชื่อ ทางโทรศัพท์ หรือส่งจดหมาย/E-mail หรือร้องตนเอง ไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ ก็ได้ 2. ร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิที่เป็นตัวเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เช่น ค่าจ้างค้างชำระ เงินประกัน เงินกรณีเลิกจ้าง เป็นต้น ซึ่งผู้ร้องจะต้องเปิดเผยตัว โดยการเขียนแบบคำร้องและทำบันทึกคำให้การ จากนั้น จนท. จะดำเนินการให้เป็นรายบุคคลเฉพาะคนที่ยื่นคำร้อง แต่ถ้าเป็นกรณีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน จะต้องฟ้องศาลแรงงานเท่านั้น เช่น - ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้าง (กระทำผิดสัญญา) - การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง - ค่าเสียหายในมูลละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง หรือระหว่างลูกจ้าง-ลูกจ้าง - ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - ฟ้องเรียกโบนัส
A: เค้าจะไล่ออกเพราะไม่ไปกินเลี้ยง ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะเลิกจ้างได้นะคะ กฎหมายแรงงานก็ระบุชัดเจนค่ะสำหรับหลักเกณฑ์การเลิกจ้าง แต่ตอนนี้อยู่ที่ตัวคุณมากกว่าค่ะ ว่าคุณต้องไปเพราะต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วยหรือไม่ หากเป็นแบบนั้น คุณก็ควรจะทำต่อไปค่ะ หากคุณว่าอยู่จุดนี้ก็สามารถอยู่ได้คุณต้องหัดปฎิเสธค่ะ หากเกิดมีการเลิกจากเพราะเหตุนี้ คุณต้องจ้างทนายเพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจากไม่เป็นธรรมค่ะ
A: อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกครับ พอจะเข้าใจสถานการณ์ของคุณ มันเป็นเรื่องยากที่จะให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปดูแล คุณต้องตัดสินใจเองว่าจะเลือกแบบไหน จริงๆแล้วเขาจะบังคับให้คุณทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงไม่ได้ คุณสามารถปฏิเสธที่จะไปกับเขานอกเวลางานได้ ถ้าเขาไล่คุณออกเพราะเหตุผลว่าไม่ไปปรนนิบัติเขานอกเวลางาน เขาก็ต้องจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายครับ การทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงมันสามารถเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มได้อยู่แล้วครับ ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณกล้าเรียกร้องหรือไม่ ถ้ากล้าก็เตรียมพยานหลักฐานไปศาลแรงงานครับ
A: ปฏิเสธได้ครับ แต่ถ้าเขาจะไล่เราออก เขาจะใช้เหตุผลนี้มาไล่เราออกไม่ได้ ต้องจ่ายเงินชดเชยเสมือนเชาให้เราออกโดยไม่มีเหตุผล ปล. แต่ถ้าไปแล้วมาสายบ่อยๆ เขาไล่เราออกได้นะ :p
A: กรณีนายจ้างลูกจ้าง...หากเลิกงานแล้วก็เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะปฏิเสธไม่ไปได้ครับ...ส่วนการที่บอกว่าหากไม่ไปจะให้ออก ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แนะนำครับควรหานายจ้างที่ดีกว่านี้ครับ..ไม่งั้นสุขภาพคุณจะแย่ครับ
เดือน