Q: ไม่เข้าใจกฏหมายละเมิดมาตรา 425
ในกรณีที่ลูกจ้างขับรถไปส่งเจ้านายที่ต่างจังหวัดเสร็จแล้ว และ กำลังขับรถมาเก็บที่บ้านเจ้านาย แต่ระหว่างทางลูกจ้างขับรถเร็วด้วยความเร็วที่ 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้ไปชนคนจนบาดเจ็บ แล้วลูกจ้างกลัวว่าถ้าเจ้านายรู้แล้วจะโดนไล่ออกเลยฆ่า และ อำพรางศพ แบบนี้เจ้านายต้องรับผิดตาม ม.425 ด้วยไหมครับ
คำตอบจากทนาย (6)
A: กรณีแบบนี้นายจ้างไม่ต้องรับผิดนะครับ เพราะแม้ตราบใดที่ลูกจ้างยังไม่นำรถไปเก็บจะยังถือเป็นการทำงานในการที่จ้างของนายจ้างก็จริง แต่การฆ่าเกิดจากเจตนาที่ลูกจ้างกระทำเพื่อปกปิดความรับผิดของตัวเอง จะไปเหมารวามว่าการฆ่าเป็นการทำงานในการที่จ้างก็กระไรอยู่ แบบนี้นายจ้างคงรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นด้วยซึ่งมันไม่เมคเซ็นต์เท่าไหร่
A: จากกรณีปัญหาที่ถาม แยกออกเป็นสองส่วนส่วนแรกส่วนที่ขับรถไปส่งเลยจ้างแล้วเกิดอุบัติเหตุชนคนตาย ถ้าตอนเกิดอุบัติเหตุพิสูจน์ได้ว่าอยู่ในทางการที่จ้างนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับเราด้วย ส่วนถ้าเกิดเป็นการค่าเพื่ออำพรางส่วนตัวไป ถ้าเกิดเป็นการค่าเผื่ออำพรางความผิดก็รับผิดเป็นส่วนตัวไปไม่เกี่ยวกับนายจ้าง
A: การที่ลูกจ้างได้ไปกระทำละเมิดทำให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียกายจากผลของการกระทำนั้น "ไม่ว่าจะด้วยประมาทหรือเจตนาก็ตาม หากผลของการละเมิดนั้นเกิดขึ้นจาดดารจ้างของนายจ้าง" นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับผลของการละเมิดนั้นด้วย จ้าา
A: รับผิดชดใช้ความเสียหายในทางการที่จ้างทำงานค่ะ แต่การที่เจาฆ่าคนตายไม่ใช่การงานที่จ้าง ดังนั้นรับผิดกรณีลูกจ้างขับรถชนคน ส่วนการที่เขาฆ่าคนตาย ไม่ใช่การงานที่เราจ้างไม่ต้องรับผิดในส่วนนี้ค่ะ
A: คำว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างกระทำไป ตามมาตรา 425 นี้ หมายถึงเฉพาะเกี่ยวกับค่าเสียหายครับ ไม่รวมถึงคดีอาญา ฐานฆ่า ฐานอำพรางศพ ซึ่งความผิดทางอาญาลูกจ้างมีความผิดคนเดียวครับ // ส่วนนายจ้างต้องร่วมรับผิดเพียงใด ก็ดูที่ลูกจ้างทำไปในทางการที่จ้างไหมครับ (1) การขับรถมาเก็บบ้านนายจ้าง แล้วเกิดอุบัติเหตุ แม้จะเกิดจากความประมาทของลูกจ้างที่ขับเร็ว ก็ถือว่าอยู่ในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องร่วมรับผิดครับ (2) ส่วนการที่ลูกจ้างไปฆ่าอำพราง กรณีนี้เกินเจตนาที่นายจ้างจะรับรู้ครับ ไม่อาจถือว่าอยู่ในทางการที่จ้างได้ครับ นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด
A: กรณีแบบนี้ ต้อง แยกออกเป็น 2 กรณีค่ะ 1 ละเมิดในระหว่างทำงานที่ว่าจ้าง โดยหลัก ถ้าเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน นายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบด้วยค่ะ ตามหลักกฎหมาย และนายจ้างค่อยมาไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างอีกครั้ง
เดือน