Q: คดีหมิ่นประมาท

สงสัยเกี่ยวกับมาตรา 326

เผยแพร่เมื่อ 2025-04-11

คำตอบจากทนาย (5)

A: ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 326 แบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ 1. องค์ประกอบภายนอก (การกระทำ) ผู้กระทำต้องใส่ความผู้อื่น (คือพูด เขียน แสดงท่าทาง หรือวิธีใดก็ตามที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผู้ถูกใส่ความเป็นอย่างนั้นจริง) ใส่ความต่อบุคคลที่สาม (ต้องมี "คนอื่น" รับฟังหรือรับรู้ด้วย ไม่ใช่พูดต่อหน้าคนเดียว) ลักษณะที่ใส่ความต้องเป็นการที่น่าจะทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือเกลียดชัง 2. องค์ประกอบภายใน (เจตนา) ผู้กระทำต้องมี เจตนาใส่ความ ให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ถูกใส่ความ 3. วัตถุแห่งการกระทำ ต้องมี “ผู้อื่น” ที่ถูกใส่ความอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้- *** ถ้าหากพูดในที่ลับสองคน ไม่เข้าข่ายเพราะไม่มี “บุคคลที่สาม”*** *** หากพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่กล่าวเป็นความจริง อาจเข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 329*** ***หมิ่นประมาทมีทั้งทาง วาจา (พูด) และ ลายลักษณ์อักษร (เขียน โพสต์)***

เผยแพร่เมื่อ: 2025-04-11

A: ความผิดฐานหมิ่นประมาท คือ การที่ผู้กระทำ(ผู้หมิ่นประมาท) ใส่ความผู้อื่น (ผู้เสียหายหรือผู้ถูกหมิ่นประมาท) ต่อบุคคลที่สาม ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย เปรียบเทียบคล้าย ๆ กับการไปนินทาว่าร้าย แต่หากลักษณะของการกระทำเป็นการหมิ่นประมาทโดยบุคคลทั่วไปสามารถรับรู้ได้ ก็จะเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งมีอัตราโทษที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เป็นความผิดอันยอมความได้ สามารถตกลงยอมความระหว่างผู้กระทำและผู้เสียหายได้ และการดำเนินคดีนั้นผู้เสียหายต้องแจ้งความหรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือนครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2025-04-12

A: สามารถให้ข้อเท็จจริงเข้ามาในคำถามได้เลยครับหากไม่มีทนายความไม่สามาระตอบได้อย่างเฉพ่ะเจาะจงครับ หากยังมีข้อสงัสยสามารถตั้งคำถามเข้ามาใหม่ได้ครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2025-04-12

A: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐาน หมิ่นประมาท โดยมีใจความสำคัญดังนี้ มาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ด้วยประการใด ๆ อันมิใช่การแสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” องค์ประกอบความผิด 1. การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ต้องมี “ผู้อื่น” ซึ่งเป็นผู้ถูกใส่ความ ต้องมี “บุคคลที่สาม” ซึ่งได้รับฟังหรือรับรู้ข้อความนั้น การใส่ความสามารถทำได้ด้วยการพูด เขียน พิมพ์ หรือวิธีการใด ๆ 2. ข้อความต้องไม่เป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต ถ้าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต เช่น วิจารณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปกป้องสิทธิของตน อาจเข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 329 3. ต้องก่อให้เกิดผลต่อชื่อเสียงต้องทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ฎีกาที่ 1796/2537 จำเลยพูดใส่ความโจทก์ในที่ประชุมว่า “โจทก์เป็นหัวคะแนนของพรรคการเมืองหนึ่ง รับเงินจากนักการเมือง และหลอกลวงประชาชน” ถือเป็นการใส่ความที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง แม้จำเลยจะอ้างว่าพูดด้วยความสุจริต แต่ศาลเห็นว่าไม่เข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นตามมาตรา 329 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 326 ฎีกาที่ 6591/2538 การโพสต์ข้อความลงในจดหมายข่าวของหมู่บ้านที่มีผู้คนจำนวนมากเห็น เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม และข้อความนั้นทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถือว่าผิดตามมาตรา 326 ฎีกาที่ 2683/2544 จำเลยวิจารณ์การทำงานของโจทก์ในฐานะผู้ใหญ่บ้านโดยกล่าวหาว่าไม่โปร่งใส แม้เป็นการแสดงความเห็น แต่ไม่สุจริต เพราะไม่มีข้อเท็จจริงสนับจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

เผยแพร่เมื่อ: 2025-04-12

A: สงสัยกรณีไหนสามารถพิมพ์รายละเอียดเข้ามาเพื่อสอบถามได้ค่ะ จะตอบคำถามตามรายละเอียดเพื่อให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นค่ะ หมิ่นประมาท ต้องมีการใส่ความเรา ต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นทำให้เราเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง นี่คือองค์ประกอบของความผิดฐานหมิ่นประมาทมาตรา 326 ต่างจากหมิ่นประมาทโดยการโฆษณามาตรา 328 ที่มาตรานี้จะต้องเข้าลักษณะที่เป็นการเผยแพร่สาธารณะ บอกได้คร่าวๆประมาณนี้ค่ะ

เผยแพร่เมื่อ: 2025-04-12

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE