Q: เรื่องหมิ่นประมาท
ทำงานกลุ่มแล้วเพื่อนในกลุ่มกล่าวหาว่าเราความคิดเหมือนเด็กป.3และขาดทักษะการสื่อสารโดยคำพูดนี้อยู่ในไลน์กลุ่มสามารถทำอะไรได้บ้างครับ
คำตอบจากทนาย (6)
A: กรณีที่เพื่อนในกลุ่มกล่าวหาคุณในลักษณะดูถูกเหยียดหยาม เช่น กล่าวว่าคุณ "ความคิดเหมือนเด็ก ป.3" หรือ "ขาดทักษะการสื่อสาร" ซึ่งมีลักษณะเชิงลบต่อคุณนั้น สามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง ดังนี้: 1. พูดคุยและขอให้เพื่อนถอนข้อความหรือขอโทษ เบื้องต้นแนะนำให้ขอให้เพื่อนในกลุ่มที่กล่าวข้อความนี้ขอโทษหรือชี้แจงในกลุ่มเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่คุณก่อน แจ้งให้ทราบว่าข้อความดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อความรู้สึกหรือศักดิ์ศรี 2. ใช้ระเบียบของสถาบัน (หากเป็นนักเรียน นักศึกษา) หากคุณเป็นนักเรียน นักศึกษา และเรื่องนี้เกิดขึ้นในกลุ่มที่ทำงานของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สามารถแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายกิจการนักศึกษา สามารถทำให้ผู้ที่กล่าวหาต้องรับผิดชอบทางวินัยหรืออย่างน้อยก็มีการตักเตือน 3. ดำเนินการตามกฎหมาย (ถ้าเรื่องร้ายแรงหรือมีความเสียหายจริง) ข้อความที่ดูถูกเหยียดหยามในลักษณะเช่นนี้ อาจเข้าข่าย "ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 และ 328 เนื่องจากมีการเผยแพร่ข้อความในไลน์กลุ่มที่มีบุคคลหลายคนอยู่ในกลุ่มด้วย ถือเป็นการเผยแพร่ต่อบุคคลที่สาม คุณสามารถแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจในท้องที่ได้ หากศาลเห็นว่าข้อความนี้เป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท ก็สามารถมีโทษปรับและจำคุกได้ (แต่โดยทั่วไป หากข้อความไม่ได้ร้ายแรงมาก อาจมีการเจรจาไกล่เกลี่ย) 4. เก็บหลักฐานเอาไว้เสมอ เก็บข้อความแชทไว้เป็นหลักฐาน (บันทึกหน้าจอหรือ export chat) ข้อความในแอปพลิเคชั่นไลน์ถือเป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย ขั้นตอนที่แนะนำ: ขั้นแรก: ส่งข้อความในกลุ่ม แจ้งให้เพื่อนคนนั้นทราบว่าไม่พอใจและขอให้เพื่อนถอนคำพูด พร้อมขอโทษ ขั้นที่สอง: หากไม่ได้รับการตอบสนอง หรือผู้ที่กล่าวหายังทำต่อไป หรือเพิกเฉย คุณอาจแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา หรือฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ย ขั้นที่สาม (กรณีร้ายแรง): แจ้งความดำเนินคดี โดยนำหลักฐาน (ข้อความแชทไลน์ที่ถูกดูถูก) ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อแนะนำเพิ่มเติม: หากข้อความไม่ได้รุนแรงมาก และสามารถพูดคุยกันได้ การพูดคุยแบบเปิดใจกันอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด การฟ้องร้องดำเนินคดีควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หากข้อความนั้นทำให้คุณเสียชื่อเสียงอย่างมาก หรือกระทบต่อชีวิตและจิตใจจริงๆ
A: การจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 หรือไม่นั้น ศาลมักจะพิจารณาว่าข้อความนั้นมีลักษณะเป็นการ "ยืนยันข้อเท็จจริง" ที่เป็นเท็จและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในวงกว้างหรือไม่ หรือเป็นเพียง "การแสดงความคิดเห็น" หรือ "คำด่าทอ/ดูถูก"
A: ทางด้านกฎหมาย : กรณีแรกไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า เนื่องจากเป็นการพิมพ์แชทกันทางข้อความ ไม่มีลักษณะด่ากันซึ่งหน้า ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามกฏหมายอาญาหมวดลหุโทษ //กรณีสอง ไม่เป็นการหมิ่นประมาทตามมาตรา 328 เนื่องจากเป็นการกล่าวถ้อยคำให้บุคคลที่สามรู้กันในเฉพาะกลุ่ม มิใช่เป็นการเผยแพร่อันบุคคลสาธารณะทั่วไปจะทราบได้ //กรณีสาม จะเป็นหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 หรือไม่นั้น ต้องดูว่าข้อความที่เขากล่าวให้เราเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังนั้น เป็นข้อความในลักษณะ “ใส่ความ” หรือไม่ จึงต้อง ตีความคำว่า “ใส่ความ” อาศัยคำพิพากษาฎีกาของศาล ; ฉะนั้นคำว่า ”ความคิดเหมือนเด็ก ป. 3 และขาดทักษะการสื่อสาร“ หากเข้าลักษณะการติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ ก็จะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ลองตีความดูค่ะ
A: กรณีข้อความดังกล่าวอาจจะไม่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทค่ะ แต่ทนายก็แนะนำให้เก็บหลักฐานแชทบทสนทนาเอาไว้เป็นหลักฐานก่อน หากมีด่าทอโดยใช้ถ้อยคำที่เป็นการ ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จึงอาจจะต้องดำเนินคดีเป็นกรณีไปค่ะ
A: ถ้าข้อเท็จจริงมีเท่านี้ ยังไม่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทตามป.อ.มาตรา 326 หรือมาตรา 328ครับ ใส่ความ คือ พูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเหตุร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย จะเป็นความจริงหรือไม่จริงก็เป็นความผิด ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น โดยใช้หลักวิญญูชนพิจารณาเป็นหลัก มิใช่เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สามโดยประการที่อาจทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียงหรือทำให้ผู้อื่นนั่นถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จะเข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยโฆษณาตามป.อ.มาตรา328ได้ต้องผ่านองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา326 มาก่อน ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ มิใช่การใส่ความ แต่เป็นการพูดเปรียบเปรย เป็นถ้อยคำเลื่อนลอย ไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ถ้อยคำดังกล่าวไม่ทำให้เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
A: กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้ค่ะ
เดือน