Q: เปลี่ยนสัญญาหนี้โดยไม่แจ้งผู้ยืม

เจ้าหนี้คือ หลานชาย ส่วนลูกหนี้ คือ แม่เราเอง มีศักดิ์เป็นน้า เจ้าหนี้หลัก คือ เจ้าหนี้ที่หลานชายไปทำการกู้ยืมมา คนทำสัญญาด้วยคือหลานชาย ทางเราไม่มีส่วนรู้เห็นกับการทำสัญญาหรือยอดด้วยเลย ได้มีการทำเรื่องยืมเงินกันไปจำนวน 15000 บาท โดยเจ้าหนี้ไปทำสัญญากับอีกคน เพื่อที่จะเอาเงินมาให้ทางเรายืม ส่วนเราทำสัญญากับทางเจ้าหนี้ คนโอนเงินเป็นเจ้าหนี้ ชื่อในสัญญาเป็นเจ้าหนี้ โดยมีการระบุไว้ว่าถ้าขาดชำระเกิน3นานจะปรับดอกมาเป็นร้อยละ5 จากร้อยละ3ต่อเดือน ซึ่งตอนนี้มันเกิน เพราะทางตัวเจ้าหนี้ไปยอมจ่ายดอกให้กัยอีกคนที่ตัวเองไปเอาเงิน แล้วโยนคความผิดมาให้ทางลูกหนี้แบบเรา ว่าเราไม่ยอมจ่าย เราบอกให้ฉีกสัญญาทิ้ง แล้วให้เอาเจ้าหนี้หลักมรทำสัญญา แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้กลับไม่ยอมทำ แต่ส่งสัญญาไปให้เจ้าหนี้หลักแทน มีการขีดฆ่าเอกสารลงไป และเอกสารการกู้ยืมเงิน มีตัวจริง สำเนา แยกกันคนละชุดตั้งแต่วันแรกที่เซน ทางเจ้าหนี้หลักที่เราไม่เคยรู้จัก เคยไม่ได้รับการโอนเงินมาจากชื่อบัญชีเขาเลย กลับโทรมาก่อกวน โทรมาข่มขู่บ้าง เอาแต่พูดว่าหลานชาย โอนหนี้มาแล้ว คุณต้องมาจ่าย ทั้งสัญญาทางหลานชายไม่เคยฉีกทิ้งเลย แถมมีการไปขอยืมเงินเพิ่มโดยใช้ชื่อของแม่เราว่าแม่เราต้องการ เราแจ้งไปทางเจ้าหนี้หลานชายแล้วว่า จะมีคนไถ่ดินให้ ให้ลงมาคุย จะได้ทำการปรับสัญญาใหม่ แต่เขาไม่ยอมลงมาคุย เพราะมารู้ทีหลังว่า ทางหลานชายไปขอกู้เจ้าหนี้หลักยอด30000+ โดยมียอดเขาเราในนั้น150000 ที่เฟลือเป็นของหลายชายหมดเลย เราสามารถทำอะไรกับเอกสารยืมเงินที่มีในมือบ้างได้คะ ในเมื่อถ้าเราส่งเงินให้เจ้าหนี้หลายชาย แต่ถ้าหลานชายไม่ยอมส่งดอกต่อ เรามีปัญหาอะไรอีกไหมคะ ตอนนี้เราเจอเจ้าหนี้หลัก เอาเอกสารมาข่มขู่ว่าจะมายึดทรัพย์สินเราบ้าง จะมารถเราบ้าง

เผยแพร่เมื่อ 2023-07-10

คำตอบจากทนาย (3)

A: ผมพยามแกะคำถามแล้ว เข้าใจว่า 1.หลานชายไปกู้เงินจากบุคคลที่ 3 มาให้คุณแม่ของคุณยืมต่ออีกทอดหนึ่ง ถูกต้องไหมครับถ้าเป็นกรณีแบบนี้ผมขอแยกเป็น 2 สัญญา สัญญาฉบับแรกคือฉบับที่หลานชายไปกู้กับบุคคลที่ 3 ซึ่งสัญญาฉบับนี้หากคุนไม่ได้มีการค้ำประกันไว้คุณไม่มีความผูกพันที่จะต้องใช้หนี้ตามสัญญาฉบับนี้ครับเขาจะไม่จ่ายอะไรยังไงไม่เกี่ยวกับเรา หนี้ที่คุณต้องรับผิดชอบมีเพียงฉบับเดียว คือฉบับที่แม่คุณกู้เงินจากหลานชายเท่านั้น แม้ต่อมาหลานมีการโอนหนี้ให้บุคคลที่ 3 บุคคลที่ 3 ก็มีสิทธิเรียกให้คุณชำระหนี้ได้ไม่เกินที่คุณแม่ของคุณกู้จากหลานชายเท่านั้นครับ 2.ในส่วนของดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือนเท่ากับดอกเบี้ยร้อยละ 36 ต่อปีเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดตกเป็นโมฆะ ในส่วนของดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือนหลังจากผิดนัดมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากมีการฟ้องคดีศาลก็สามารถปรับลดให้เราได้ 3.คำถามว่าต้องทำอย่างไร ผมแนะนำว่าเป็นก็ต้องใช้ แต่ให้เขาฟ้องมาดีกว่าเพราะเมื่อขึ้นศาลแล้วศาลทางจะเป็นตัวกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ได้ผมรับรองเลยว่า เขาไม่ได้ตามที่เขาต้องการแน่นอน ศาลจะให้ความเป็นธรรมเองครับ 4.ส่วนการข่มขู่ว่าจะยึดทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มีคำสั่งศาล เจ้าหนี้ไม่สามารถทำได้ครับ และการทวงหนี้ ที่มีลักษณะเป็นการประจารลูกหนี้ทำให้อับอายก็มีความตาม พรบ.ทวงถามหนี้มาตรา 11 หากเขายังทำอีกให้พูดไปตามนี้ได้เลยครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-10

A: คุณทำสัญญายืมกับเจ้าหนี้คนไหน คุณก็ต้องมีหน้าที่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้คนที่ให้กู้ยืม โดยนึดถือหนังสือสัญญาที่คุณได้ลงชื่อในฐานะผู้กู้ยืมเท่านั้น ส่วนหนี้กู้ยืมอื่นที่คุณไม่ได้ลงชื่อในฐานะผู้กู้ คุณก็ไม่มีหน่าที่ที่จะต้องชำระหนี้การกู้ยืมนั้น และเจ้าหนี้อื่นที่เราไม่ได้มีนิติสัมพันธ์ด้วยก็ไม่มีสิทธิทวงถามให้เราชำระหนี้ครับ ดังนั้นคุณมีหน้าเพียงชำระหนี้ให้แก่ผู้ที่เรากู้เงินมาเท่านั้น และควรปฏิบัติหน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเท่านั้นครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-11

A: เบื้องต้น คู่สัญญาคือหลานชาย กับแม่คุณ ส่วนตัวคุณไม่ใช่คู่สัญญา ในส่วนดอกเบี้ยก็เป็นอัตราที่ไม่ถูกกฎหมาย และการโอนหนี้ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือพร้อมกับแจ้งให้ลูกหนี้ทราบครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-11

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE