Q: พินัยกรรมกับที่ดินไม่มีโฉนด
สวัสดีค่ะดิฉันมีเรื่องจะรบกวนขอคำแนะนำปรึกษาคะ เนื่องจาก คุณพ่อเสียชีวิตเมื่อปี 2562 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้กับภรรยาใหม่ - 2560 ภรรยาใหม่เอาพ่อไปอยู่ด้วย (ไม่ให้ลูกหลานเข้าพบ) - 2561 เมษายน จดทะเบียนสมรส (คุณพ่ออายุ 72ปี) และทำพินัยกรรม - 2562 กุมภาพันธ์คุณพ่อเสียชีวิต สรุปคือเขาได้ทุกอย่างเพราะพินัยกรรม แต่ มีที่ดิน 1 แปลงที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นที่จับจองพ่อให้ไว้เมื่อปี 2553 มีเขียนระบุในสำเนาบัตรประชาชนว่ายกให้ลูก และเมื่อปี 2560 จึงได้ทำการสร้างห้องเล็กๆเพื่อขอทะเบียนบ้านไว้ ผู้ใหญ่บ้านรับทราบเซ้นรับรองให้ แต่เมื่อ มิย 66 ภรรยาใหม่พ่อได้อาศัยพินัยกรรมคดีสิ้นสุดไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านว่าเป็นที่ดินของเขา และล้อมรั้วขอทะเบียนบ้านใหม่ (ก่อนหน้านนี้ปี 2563 ภรรยาใหม่พ่อได้ให้คนมารื้อสิ่งปลูกสร้างของเรา และทางเราได้ลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว ) อยากจะรบกวนสอบถามว่า พินัยกรรมระบุว่า ทรัพย์สินของพ่อทั้งอดีตและอนาคตจะตกต้องเป้นของภรรยาใหม่พ่อด้วย ที่ดินแปลงนี้จะถือเป็นทรัพย์มรดกรึป่าวคะ เพราะได้มาก่อนพ่อเสีย
คำตอบจากทนาย (3)
A: มรดกมีพินัยกรรมก็ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมครับ โอกาสของคุณที่จะต่อสู้มีเพียงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่สมบูรณ์เท่านั้น ซึ่งต้องดูว่าเป็นพินัยกรรมแบบไหน ทำถูกต้องตามแบบหรือไม่เท่านั้นเองครับ
A: ทรัพย์สินทุกอย่างที่ได้มาระหว่างมีชีวิตถือเป็นทรัพย์มรดกครับเพราะฉนั้นหากในพินัยกรรมระบุยกให้ทุกอย่างเค้าก็ย่อมได้ตามพินัยกรรมครับ
A: ทรัพย์มรดกคือทรัพย์ที่มีอยู่ขณะที่เจ้ามรดกเสียชีวิตครับ และสิทธิครอบครองโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ ดังนั้นพที่แปลงดังกล่าวจึงตกเป็นของลูกแล้วก่อนพ่อเสียชีวิต ที่ดินแปลงพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกตายเพราะได้มีการโอนสิทธิครอบครองกันไปก่อนแล้วครับ จึงไม่อาจอ้างสิทธิโดยพินัยกรรมได้ครับ
เดือน