Q: จอดรถขวางหน้าบ้านจนบางครั้งออกจากบ้านไม่ได้เรียกค่าเสียหายได้ไหม

ขออนุญาตถามทนายครับ เหมือนผมเคยดูข่าวที่ป้าทุบรถที่จอดขวางหน้าบ้าน แต่สอบถามว่าถ้ามีรถจอดหน้าบ้านผมและผมออกจากบ้านไม่ได้จริงๆ ผมทำอย่างไรได้บ้างครับ ถ้าอยากดำเนินการจริงๆ แล้วป้าที่ทุบรถนั้นเค้าโดนอะไรบ้างครับ

เผยแพร่เมื่อ 2023-07-04

คำตอบจากทนาย (3)

A: กรณีนี้อยากให้ใจเย็น และแจ้งความดำเนินคดีดีกว่าค่ะ การไปทุบรถของเขาจะทำให้เราถูกฟ้องเป็นคดีทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเราค่ะ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-04

A: หากผู้ใช้รถจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของคนอื่น เจ้าของบ้านที่ถูกรถจอดกีดขวางสามารถแจ้งความเพื่อเอาผิดได้ โดยเข้าข่ายความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 397 วรรคสอง ฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้เสียหายยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง ตาม มาตรา 420 แบะถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งได้อีกด้วยคะ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-04

A: การที่มีคนจอดรถขวางหน้าบ้านของท่าน บุคคลนั้นมีความผิดฐานกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 วรรคหนึ่ง มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าการจอดรถขวางหน้าบ้านดังกว่าเกิดในเขตชุมชน หมู่บ้าน สาธารณสถาน ต่อหน้าธารกำนัล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และผิดฐานจอดรถหรือหยุดรถเพื่อกีดขวางเส้นทางสัญจรทางเข้าออกของอาคาร ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งผู้เสียหายสามารถแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาเพื่อเอาผิดกับคนที่จอดรถขวางหน้าบ้านตามความผิดดังกล่าวได้ *ในกรณีที่มีการไปจอดรถขวางทางเข้าออกบ้านผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายหรือเจ้าของบ้านมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนคดีแพ่ง ข้อหาละเมิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420* ส่วนคดีป้าทุบรถนั้น การที่ป้าไปทุบรถคนที่จอดรถขวางหน้าบ้าน ป้าจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคนที่จอดรถขวางทางหน้าบ้านของป้าได้รับโทษฐานจอดรถกีดขวางทางเข้าออกอาคาร และกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก หรือปรับจำนวนเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เจตนา พฤติการณ์ความร้ายแรง และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-04

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE