Q: การคำนวณเงินค่าบริการสาธารณะ ของเจ้าของโครงการ ที่ต้องส่งมอบให้ สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร เมื่อจัดตั้งนิติบุคคล

ผมเป็น กรรมการของหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งครับ เราได้ทำการจัดตั้งนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้จะอยู่ในขั้นตอน การรับมอบเงินค่าบริการสาธารณะ ที่ทาง เจ้าของโครงการเก็บจากเจ้าของบ้าน ทุก ๆ บ้านไป แต่เราไม่ทราบว่า จะคำนวน อย่างไร สมมติว่า ปัจจุบันบ้านทั้งโครงการขายหมดแล้ว และเงินบำรุงค่าสาธารณะมีการจัดเก็บมาเป็น เวลา 4 ปีแล้ว โดยจัดเก็บ จากบ้าน ที่ขายแล้ว ในระยะเวลาที่ผ่านมาเท่านั้น ตัวอย่างเช่นบ้านทั้งหมดในหมู่บ้าน มี 80 หลัง สมมติว่า จัดเก็บเท่าๆ กัน หลังละ 10 บาทต่อปี ปี แรก โครงการสร้างบ้านมา 40 หลัง แต่ขายได้ 10 หลัง ดังนั้น เงินค่าบริการสาธารณะ ที่ทางโครงการเก็บไว้ จึงมีแค่ 10 หลัง ที่จ่ายมา 4 ปี = 10x10x4= 400 บาท ปีที่ 2 โครงการสร้างบ้านมาเพิ่มอีก 40 หลัง รวมเป็น 80 และขายได้เพิ่มอีก 40 หลัง ดังนั้น เงินค่าบริการสาธารณะ ที่โครงการเก็บไว้ จึงมีอีก 40 หลัง ที่จ่ายมา 3 ปี = 40x10x= 1,200 ปีที่ 3 ไม่มีการสร้างบ้านเพิ่มแล้ว และ ขายบ้าน ได้อีก 20 หลัง ดังนั้น เงินค่าบริการสาธารณะ ที่โครงการเก็บไว้ จึงมีอีก 20 หลัง ที่จ่ายมาแล้ว 2 ปี = 20x10x2 = 400 ปีที่ 4 ขายอีก 10 หลัง เก็บเงิน มาอีก 1 ปี = 10x10x1 = 100 บาท รวมเก็บเงินได้ 2,100 บาท ทางโครงการ จะจ่ายให้นิติ ด้วยจำนวน 2,100 หัก ค่าใช้จ่ายที่ใข้ไปใน 4 ปี หรือ คิดจาก ยอดบ้านทั้งหมด 80 หลัง ตั้งแต่ปีแรก เพราะถือว่า ทางโครงการต้องจ่ายตามจำนวนที่ยังไม่ได้ขายด้วย จนถึงปีที่ 4 จะเท่ากับ มีค่าบริการสาธารณะ 80x10x4= 3,600 บาท แล้วหักค่าใช้จ่าย 4 ปี ไม่ทราบว่า คำนวน แบบไหนถูกต้องครับ

เผยแพร่เมื่อ 2023-07-04

คำตอบจากทนาย (2)

A: โดยปกติแล้ว ค่าส่วนกลางจะคำนวนจากพื้นที่ใช้สอยของบ้านแต่ละหลัง ในกรณีที่บ้านขายให้ผู้ซื้อแล้ว เจ้าของใหม่มีหน้าที่ต้องจ่ายครับ ส่วนกรณีที่บ้านหลังนั้นยังไม่มีการขายออกไป ปกติแล้วนิติบุคคลต้องรับผิดชอบในส่วนนั้นครับ แต่ต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของโครงการตั้งแต่แรกครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-10

A: โดยปกติตอนโครงการนำบ้านออกขายจะมีการเรียกเก็บ เงินไว้ จำนวน 2 ส่วน คือเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และเงินค่าส่วนกลาง หากนิติฯ ยังไม่ตั้งจะเรียกเงินค่าส่วนกลางว่า เงินค่าบริการสำหรับใช้ประโยชน์จากส่วนกลาง เวลาภายหลังตั้งนิติฯ โครงการต้องส่งมอบบัญชีรายการรับ-จ่าย การใช้เงินให้ทางนิติฯ เพื่อดำเนินการต่อ และอาจจะมีสัญญาติดพันมาถึงนิติฯ เช่น ค่ารปภ. , แม่บ้าน , คนสวน เป็นต้น ส่วนค่าบริการภายหลังจากตั้งนิติฯ จะถูกกำหนดขึ้นโดยการประชุมเจ้าของร่วมครับ ไม่มีเกณฑ์ตายตัว อยู่ที่ Fixed cost รายเดือนเท่าไร รายรับจากเจ้าของร่วม(ลูกบ้าน) หารกันแล้วควรจะเป็นเท่าไร สามารถขึ้นลงได้ตามความจำเป็น และจะใช้บังคับได้โดยอาศัยมติที่ประชุมและนำไปจดทะเบียนเป็นข้อบังคับนิติบุคคลที่สำนักงานที่ดินครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2023-07-16

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE