Q: อยากถามทนายทุกท่านเป็นความรู้เตือนภัยสังคมเรื่องการโกงครับ
หากโดนฉ้อโกงออนไลน์ การโพสข้อมูลเพื่อเตือนภัย ทำได้หรือไม่ และหากทำได้ทำอย่างไรเพื่อที่จะไม่ให้โดนคดีหมิ่นประมาท แต่เป็นการทำเพื่อสาธารณะคือการเตือนภัยประชาชน ** ถ้าอยากโพสประจานจริงๆให้แชร์อย่างไรให้ไม่โดนคดีครับ เนื่องจากเห็นคนส่วนมากพอโดนโกงก็นำข้อมูลมาประจานเลยด้วยความโกรธ **
คำตอบจากทนาย (5)
A: ถ้าเป็นการโพสต์เตือนภัยโดนไม่กล่าวถึงผู้ใด และไม่กระทบถึงสิทธิ์ตามกฎหมายของผู้ใด และเป็นการให้ข้อมูลเตือนภัยที่ไม่ใช่ข้อความเท็จก็สามารถโพสต์ได้โดยไม่มีความผิดใดๆ แต่กรณีจะโพสต์ประจาน ไม่ว่าจะแชร์หรือโพสต์ข้อมูลถีงผู้ใด ทำไม่ได้ทั้งสิ้นครับ เพราะเป็นการกระทบถึงสิทธิ์ของผู้อื่น ถ้าถูกโกงจริงให้ดำเนินการฟ้องคดีหรือแจ้งความเท่านั้นครับ เพราะจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีความผิด ผู้นั้นจะยังคงเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ตามกฎหมาย การที่ไปประจานหรือกระทำอื่นใดให้เสียชื่อเสียงเป็นการกระทำที่เป็นเป็นความผิดทั้งหมด ฉะนั่นจะโพสต์อะไรควรไตร่ตรองเสียก่อนครับ
A: โพสได้เลยครับ หากเป็นความจริง และคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต 1. เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามครรลองคลองธรรม 2. ในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ 3. ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำหรือ 4. ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งการโพสเรื่องถูกโกงก็เข้าข้อยกเว้นทั้ง ข้อ 1 และ ข้อ 3
A: การโพสต์เตือนภัยเพื่อไม่ให้ผู้ประสงค์ร้ายไปกระทำการอันมิชอบต่อผู้อื่น เป็นเรื่องที่ดีอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่าการโพสต์หรือเผยแพร่ข้อความใดๆ ที่เป็นสาธารณะหรือมีคนมากกว่า 1 คนเห็นและรับรู้รับทราบข้อความที่โพสต์แล้วนั้น อาจจะมีทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อ แต่ประการหนึ่งผู้ที่ถูกโพสต์ถึงได้รับความเสียหายและถูกมองในแง่ลบทันทีค่ะ ดังนั้น การโพสต์เพื่อเตือนภัยควรโพสต์แค่เฉพาะพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่คนอื่นๆ โดยมิได้กล่าวถึงผู้ใด หรือใช้ข้อความอันอาจรู้ได้ว่าคนที่กล่าวถึงอยู่นั้นเป็นใคร หรือการโพสต์ภาพที่สามารถทำให้ทราบได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นใคร จะดีกว่าค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นต่อผู้อื่นโดยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลที่เรากล่าวถึงกระทำผิดจริงหรือไม่ ยิ่งไม่ควรจะทำค่ะ โดยทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่ท่านได้รับความเดือดร้อนหรือเป็นผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสียในเหตุการณ์ดังกล่าว แนะนำว่าควรเก็บรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการตามกฎหมายต่อไปจะดีที่สุดค่ะ
A: ถัาไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ภาพใบหน้าใน Facebook หรือชื่อนามสกุลที่หลอกลวงเป็นของมิจฉาชีพจริงๆ ขอแนะนำให้คุณควรโพสต์ข้อความในลักษณะเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ใช้คำว่า น่าจะ อาจจะ คาดว่า หรือเบื้องต้นเท่าที่มีหลักฐานปรากฏหรือเอาใบแจ้งความมาแต่ปิดชื่อเต็ม เช่น มาลินี ให้เหลือ มาลิ นามสกุล ไพรพินาศ เหลือไพรพิ อย่าโพสใ่ส่อารมณ์คำด่าไป เช่นโกง ตั้งใจโกง โจรแน่ๆ มั่นใจแน่ๆตั๋วเฮีย พวก animal ต่างเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับคนที่อาจแอบเอารูปชื่อบัตรประชาชนคนอื่นไปสวมรอย และยังเป็นการป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาท เนื่องจากข้อความที่ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริงนั้น ไม่เป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทค่ะ แต่ถึงจะใช่จริงควรเลี่ยงการเผยชื่อนามสกุล หน้าเต็มๆ หรือทางที่ดีที่สุด ติดต่อเพจของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นกองปราบ เพจตำรวจไซเบอร์ช่วยโพสแทนค่ะ คนจะเข้าไปในเวปพวกนี้เยอะอีกทั้ง ศาลท่านเปิดฟ้องคดีฉ้อโกงทางออนไลน์ เข้าไปที่เว็บไซต์ e-Filing
A: ในกรณีนี้จะกฎหมายยกเว้นไว้ครับว่าทำเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมหากโดนคดีมาเราสู้ประเด็นนี้ได้และถ้าเจอตัวมันก็ฟ้องมันกลับในข้อหาฉ้อโกงเอาเงินเราคืนมาครับ
เดือน