Q: หมากัดหมาตาย

เหตุเกิด วันที่ 1/3/67 บ้านตรงข้ามเลี้ยงหมาตัวเล็ดพุดเดิ้ลอายุ 16ปี ได้เปิดประตูไว้โดยเจ้าของหมาก็อยู่หน้าบ้าน ส่วนบ้านเราเลี้ยงหมาใหญ่โกล้เด้นผสมไทยอายุ 4ปี วันที่เกิดเหตุฝั่งเรามีคนมาส่งของต้องเปิดประตูรับของหมาของเราวิ่งออกไปเจอกับหมาบ้านตรงข้ามซึ่งไม่ถูกกันแต่แรกอยู่แล้วและมองไม่เห็นว่าหมาวิ่งออกไปตอนไหน พอเจอก็กัดกันแล้วเจ้าของหมาทั้งฝั่งบ้านตรงข้ามและเราพยายามแยก สรุปหมาใหญ่กัดหมาเล็กตาย หลังจากเกิดเรื่องติดต่อขอจัดการเรื่องศพหมาให้ทางคู่กรณีไม่รับและนำศพหมาไปฝังเองและไปโรงพยาบาลตรวจร่างกายเองในวันที่เกิดเหตุ ส่วนเรื่องการบาดเจ็บจากการแยกหมากัดกันตอนเช้าอีกวันทางเราถามไปคู่กรณีว่าเป็นยังไงบ้างบาดเจ็บตรงไหน ทางคู่กรณีไม่พูดและแจ้งว่าให้ไปคุยกันที่ศาลเนื่องจากแจ้งความไว้แล้ว และทางตำรวจได้นัดไกล่เกลี่ยครั้งที่1 วันที่22/3/67 ทางคู่กรณีขอเรียกค่าเสียหาย 1แสนบาท และเรามองว่ามากเกินไปไม่สามารถจ่ายได้ ตำรวจได้ขอให้กลับบ้านและจะนัดไกล่เกลี่ยครั้งที่2 ในวันที่1/4/67นี้ จึงมีคำถามว่าถ้าคุยรอบ2ไม่จบจะต้องทำยังไงต่อไป หรือถ้าเรื่องขึ้นศาลจะต้องใช้ทนายในการพูดแทนหรือไม่ ขอบคุณค่ะ

เผยแพร่เมื่อ 2024-03-26

คำตอบจากทนาย (3)

A: ถ้าตกลงไก่เกลียไม่ได้ทางคู่กรณีก็ต้องฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหาย และเมื่อมีการฟ้องร้องแล้ว ท่านก็ต้องแต่งตั้งทนายเข้าไปสู้คดีครับ เบื้องต้นแนะนำพยายามพูดคุยไกล่เกลี่ยให้ได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา แต่ถ้าคู่กรณีเรียกร้องมากเกินสิทธิ์ที่ตัวเองจะได้รับ ก็ค่อยไปว่ากันที่ศาลครับ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-26

A: แนะนำให้แต่งตั้งทนายต่อสู้คดีค่ะ กรณีดังกล่าวท่านอาจสู้คดี หรือ ขอให้ศาลลดค่าเสียหายได้ หากไม่ได้มีการปล่อยปะละเลย และไม่ได้ประมาทเกินควร ก็ใช้มาเป็นข้อต่อสู้ได้ค่ะ หรือท่านสามารถให้ทนายไปเจรจาก็ทำได้ด้วยค่ะ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-27

A: อันนี้ขอให้ตรวจสอบข้อหาที่จะโดนแจ้งก่อน ว่าเป็นความผิดอาญาฐานใด เพราะตอนนี้เท่าที่ดูจากข้อเท็จจริงที่แจ้งมาจะเป็นคดีทางแพ่งเสียมากกว่า หรือ อาจจะเป็นคดีอาญาแต่เป็นความผิดลหุโทษ (คดีโทษเล็กน้อย) ถ้าเป็นสองกรณีที่กล่าวมานี้ไม่ต้องกังวลครับ เพราะถ้าฟังว่าเป็นคดีแพ่ง ตำรวจก็ไม่มีอำนาจทำคดีครัง คู่กรณีต้องไปฟ้องคดีเอง และโทษในคดีแพ่งจะมีแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายไม่มีโทษจำคุก ส่วนคดีลหุโทษตำรวจมีหน้าที่ทำคดีอาญาก็จริงแต่ถ้าพฤติการึไม่ร้ายแรง คดีไม่น่าจพเป็นความ

เผยแพร่เมื่อ: 2024-03-27

คำถามที่คุณอาจสนใจ

Loading...
ทนายที่ให้คำปรึกษามากที่สุด
เดือน
ติดต่อเราทาง LINE